ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับ 10 ประการ สร้างภาพถ่ายแบบมือโปร

2015-09-24
2
6.66 k
ในบทความนี้:

”เราไม่เพียงแค่ถ่ายภาพ แต่เราสร้างสรรค์ผลงาน” - อันเซล อดัมส์ สิ่งที่แยกระหว่างภาพถ่ายที่ดีกับภาพถ่ายทั่ว ๆ ไปคืออะไร? นับแต่อดีตมา ภาพถ่ายนับล้านจากสถานที่หลากหลายแห่ง เหตุใดบางภาพถึงช่างดูน่าอัศจรรย์ใจนัก แต่บางภาพกลับดูเรียบ ๆ เคล็ดลับพื้นฐาน 10 ประการต่อไปนี้สำหรับตากล้องที่อยากจะพัฒนาทักษะการถ่ายภาพให้ดียิ่งขึ้น (รายงานโดย Isaiah Tan)

1) หามุมที่แตกต่างจากเดิม

ตากล้องหลายคนเดินไปรอบ ๆ และมักจะถ่ายภาพแค่ในระดับสายตา ซึ่งก็ไม่ใช่วิธีที่ผิดอะไร แต่ตากล้องที่แตกต่างมักจะหามุมถ่ายภาพที่น่าทึ่งอยู่เสมอ การถ่ายภาพมุมต่ำทำให้วัตถุดูสูงเด่นเป็นสง่า ขณะที่ถ่ายภาพมุมสูงจะให้ภาพออกมาตรงกันข้าม

ตัวอย่างของภาพถ่ายมุมต่ำที่ใช้เทคนิคการรับแสงระยะยาว

2) จัดวางองค์ประกอบด้วยกฎสามส่วน

กฎสามส่วนที่ว่านี้ (Rule of thirds) คือแนวทางที่เป็นประโยชน์วิธีหนึ่ง โดยการวางตำแหน่งวัตถุให้อยู่ในเฟรม กล้องดิจิตอลส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีตัวช่วยเพื่อใช้กฎสามส่วนนี้อยู่ในตัว

อย่าเคยชินกับการที่ต้องจัดวางวัตถุให้อยู่ตรงกลางเฟรม เพราะภาพอาจจะดูสมดุลก็จริง

แต่ก็จะทำให้เป็นภาพที่ดูไม่น่าสนใจไปด้วย กฎนี้ยังนำไปใช้ได้ดีกับการภาพถ่ายแนวนอน อย่างไรก็ดี ให้มองว่ากฎนี้มีไว้เป็นแนวทางมากกว่าเป็นกฎที่เข้มงวด

ทำตามกฎสามส่วนเพื่อให้ได้ภาพที่น่าสนใจและชวนมอง

3) ใช้ขาตั้งกล้อง

หากคุณจริงจังกับการถ่ายภาพให้ออกมาสมบูรณ์ คุณจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง

ซึ่งใช้งานได้ดีกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน การเพิ่มค่า ISO จะทำให้ภาพมีรอยจุดมากกว่าเดิม

ขาตั้งกล้องทำให้คุณกดชัตเตอร์ช้าลงได้ และสามารถเก็บภาพอย่างน่าสนใจ ด้วยมุมมองและประสบการณ์ใหม่ ๆ

อีกทั้งยังมีประโยชน์มากเมื่อต้องถ่ายภาพที่ใช้เลนส์ถ่ายไกล ซึ่งมีน้ำหนักมากและยากที่จะถือให้นิ่งได้

4) ถ่ายภาพแบบ High Dynamic Range หรือ HDR

การถ่ายภาพแบบ HDR จะให้ความรู้สึกของการถ่ายภาพอย่างมืออาชีพ และสิ่งที่วิเศษสุดของกล้อง Canon EOS DSLR คุณภาพสูงทั้งหลาย คือมีโหมดใช้งาน HDR

คุณสามารถถ่ายภาพความคมชัดสูงได้ด้วยการถ่ายภาพที่มีช่องรับแสงหลายช่องร่วมกับการใช้ขาตั้งกล้อง ค่า Dynamic range โดยพื้นฐานแล้วจะแตกต่างกันตรงค่าแสงที่สว่างสุดกับค่าแสงมืดสุดในแต่ละภาพ

ผลที่ได้จะมีตั้งแต่ภาพถ่ายที่มีค่าความต่างของแสงสูงไปจนถึงงานศิลปะเหนือจริงอันน่าทึ่ง

เพื่อภาพ HDR ที่ดี ขอแนะนำให้ใช้โหมด Auto Exposure Bracketing ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์สำหรับแต่งภาพ HDR ที่ดีด้วย

5) ถ่ายภาพด้วยเลนส์ไวแสง

ยิ่งมีเลนส์ไวแสงมากเท่าไร (f stop จะยิ่งต่ำ) ระยะชัดลึกและชัดตื้นจะน้อยเท่านั้น โดยระยะชัดลึกและชัดตื้นในที่นี้หมายถึงระยะที่ปรากฏความคมชัดของภาพในระดับที่พอใจ คงเป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจและน่าตื่นเต้นอย่างมากที่การใช้ระยะชัดลึกและชัดตื้นแคบแล้วทำให้วัตถุคมชัดด้วยพื้นห

น้าเบลอหรือพื้นหลังเบลอ และคงเป็นเรื่องตรงกันข้ามกับความเชื่อของหลาย ๆ คน นั่นคือ เราสามารถหาซื้อเลนส์ไวแสงด้วยราคาที่ไม่ทำให้ขนหน้าแข้งร่วงได้ คุณสามารถซื้อเลนส์ไวแสงคุณภาพดีมาใช้ในราคาสมเหตุสมผล

เลนส์ชนิดนี้ใช้ถ่ายภาพโดยทั่วไปและถ่ายภาพกลางคืนได้เป็นอย่างดี การใช้เลนส์ไวแสงทำให้คุณมั่นใจได้ว่าแม้กดชัตเตอร์ด้วยความเร็วมาก ก็จะได้ภาพที่มีความสั่นน้อย

ทั้งยังใช้งานได้ดีในสภาพที่มีแสงน้อยอีกด้วย เลนส์ไวแสงนี้ยังลดความจำเป็นในการตั้งค่า ISO สูง (ซึ่งทำให้ภาพแตก) และยังเหมาะกับการแยกวัตถุออกจากพื้นหลังได้อย่างดีเยี่ยม

6) การปรับลดแสงด้วยฟิลเตอร์แปรผัน Neutral Density (ND) (ใช้ได้ดีกับเลนส์ไวแสง)

อย่าเพิ่งออกจากบ้าน หากไม่มีฟิลเตอร์แปรผัน Neutral Density (ND) ติดตัวไปด้วย จริง ๆ แล้วฟิลเตอร์แปรผัน

ND คือตัวปรับลดแสงเพื่อใช้ลดหรือปรับค่าความเข้มของความยาวคลื่นหรือสีของแสงเท่า ๆ

กันโดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนเฉดสี คุณสามารถปรับรูรับแสงให้กว้างสุดพร้อมกับกดชัตเตอร์อย่างช้า ๆ

ในวันที่แสงจ้า ไม่ว่าจะถ่ายภาพน้ำตกฟุ้งเหมือนฝันในตอนกลางวันที่แดดจ้า

หรือเส้นแสงไฟของการจราจรยามค่ำคืนก็ทำได้อย่างไร้ที่ติ ฟิลเตอร์แปรผัน ND ทำให้เป็นเรื่องกล้วย ๆ ในการปรับค่าการรับแสง ในสภาพที่แสงเปลี่ยนรวดเร็ว

7) ใช้เลนส์มาโคร

เลนส์มาโคร คือเลนส์ที่ทำให้คุณถ่ายภาพระยะใกล้ออกมาชัดและดีที่สุด โดยเฉพาะวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ๆ

ราวกับใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง ไม่ใช่แค่ความสนุกเท่านั้นแต่คุณจะทึ่งกับสิ่งที่เห็นจากเลนส์มาโคร

คุณอาจต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อการถ่ายภาพมาโครที่แม่นยำ เพราะอาจยากพอสมควรที่จะโฟกัสวัตถุขนาดเล็กมาก ๆ แต่ถ้าคุณไม่มีเลนส์มาโคร ลองใช้ท่อเลนส์หรือใช้เลนส์ 500D สำหรับถ่ายระยะใกล้

ซึ่งเป็นเลนส์คู่ขนาดเล็กพอที่ต่อเข้าตัวฟิลเตอร์ของเลนส์ได้ แถมมีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก และเปลี่ยนให้เป็นเลนส์มาโครได้ทันที

ตัวอย่างของภาพที่ได้จากเลนส์มาโครและระยะชัดลึกและชัดตื้นแคบ

8) ชั่วโมงทองคำ

ชั่วโมงทองคำ หมายถึงช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ขึ้นและก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ไม่มีเวลาตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ส่วนไหนของโลก ในช่วงเวลาชั่วโมงทองคำ

สีอบอุ่นของพระอาทิตย์จะเป็นที่โปรดปรานอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้แสงสวยงามขึ้น

เพราะแสงเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศหนา แสงก็จะหักเหมาก และจะทำให้ค่าความต่างของแสงเบาบางลง

9) รวมพื้นหน้าในภาพถ่าย

คงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นยิ่งขึ้นหากรวมภาพพื้นหน้าลงไปในภาพทิวทัศน์เพื่อเพิ่มความลึกและองค์ประกอบ บางครั้ง เอาขาตั้งออกไป แค่วางกล้องลงบนพื้นก็ได้ ส่วนการใช้เลนส์มุมกว้าง อาจจะใช้ทราย หิน

หรือหญ้าเป็นองค์ประกอบที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับภาพของคุณ และยังทำให้ภาพน่าดึงดูดใจยิ่งขึ้น

10) ทดลองและสนุกไปกับประสบการณ์

การถ่ายภาพคือการทดลองอย่างหนึ่ง เมื่อใดที่มีเทคนิคอยู่ในใจแล้ว ก็อย่ากลัวที่จะแหกกฎทั้งปวง ปกติแล้ว จะแนะนำให้คนใช้เทคนิคนี้ก็ต่อเมื่อแม่นมือแล้ว อันที่จริง ไม่จำเป็นต้องยึดกฎใด ๆ เลย ทุกอย่างมีแนวทางของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นทางเทคนิคหรือความคิดสร้างสรรค์ ลองมองโลกผ่านเลนส์ด้วยมุมใหม่ ๆ ที่น่าทึ่ง และมีความสุขไปกับเส้นทางนี้

ภาพถ่ายหลอดไฟทังสเตนแบบดั้งเดิมด้วยเลนส์มาโคร

*ภาพตัวอย่างถ่ายด้วย EOS 5D Mark II

Isaiah Tan

เป็นช่างภาพมืออาชีพผู้หลงใหลการถ่ายภาพ ดำเนินกิจการบริษัทผลิตวิดีโอ ธุรกิจถ่ายภาพหรือวิดีโอแต่งงาน และมีบาร์เล็ก ๆ อยู่ที่สิงคโปร์ เป็นคนที่สนุกกับการได้ลองเทคนิคการถ่ายภาพใหม่ ๆ ชอบเรียนรู้และค้นหาสิ่งใหม่ ๆ จากโลกรอบตัวอยู่เสมอ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา