ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพอาหารบนโต๊ะให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

2015-10-29
3
11.01 k
ในบทความนี้:

หลังจากการทำอาหารอันสนุกสนาน คุณอาจจะอยากถ่ายภาพอาหารที่เพิ่งทำเสร็จไว้ชื่นชม อย่างไรก็ตาม การถ่ายอาหารหลายๆ จานในภาพเดียวนับว่าเป็นเรื่องท้าทาย ในบทความนี้ ผมจะแนะนำขั้นตอนการจัดองค์ประกอบภาพบนโต๊ะอาหารให้สวยงาม มาดูประเด็นสำคัญๆ ที่ควรรู้จากภาพเหล่านี้ซึ่งถ่ายมาจากหลายๆ มุม (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

FL: 50 มม./ Manual (f/5.6, 1/50 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 1: วางจานอาหารไว้ใกล้หน้าต่างและตรวจดูว่าภาพออกมาแน่นเกินไปหรือเปล่า

ผมถ่ายภาพโดยใช้แสงที่ส่องมาจากหน้าต่างทางด้านซ้าย ซึ่งตรงนี้ ผมเลือกวางในตำแหน่งที่วัตถุจะไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง จานเหล่านี้ได้รับแสงเท่ากันโดยไม่มีเงาที่ชัดเจนเกิดขึ้น

ผมตั้งทางยาวโฟกัสของเลนส์ไว้ที่ 50 มม. เนื่องจากมีหลายอย่างที่ต้องถ่าย ภาพจึงดูแน่นเมื่อผมพยายามจะใส่ทุกอย่างไว้ในองค์ประกอบภาพโดยไม่ปรับตำแหน่งเลย

 
 

ขั้นตอนที่ 2: กำหนดวัตถุหลักและวัตถุรอง จากนั้นจัดตำแหน่งใหม่ตามที่จำเป็น

เมื่อมีของหลายอย่างที่คุณต้องการรวมไว้ในภาพเดียว การจัดองค์ประกอบจะง่ายกว่าหากคุณแยกวัตถุหลักออกมาได้ก่อน ตรงนี้ผมให้จานหลัก (ไก่) เป็นวัตถุหลักและจัดตำแหน่งวัตถุรองในพื้นที่ที่เหลือ

 
 

ขั้นตอนที่ 3: ถ่ายจากด้านบนตรงๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปทรงของจานที่น่าสนใจ

ในขณะที่ขั้นตอนที่ 2 นั้นอาจจะเป็นการวัดวางองค์ประกอบที่สมบูรณ์ ผมลองถ่ายจากอีกมุมหนึ่งในขั้นตอนที่ 3 เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นวัตถุทั้งหมดได้ชัดเจนนัก ผมถ่ายจากด้านบนตรงๆ เพื่อดึงเอาความเหมือนระหว่างรูปร่างของวัตถุและจานออกมา ตอนนี้ทุกจานสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และยังจัดวางอย่างมีจังหวะจะโคนด้วย

 
 

ขั้นตอนที่ 4: ใส่ใจกับการจัดวางแนวตั้งและแนวนอนในขณะที่คุณออกแบบองค์ประกอบภาพ

จากนั้นผมจัดตำแหน่งจานใหม่โดยให้ความสนใจกับการวางตัวในแนวตั้งและแนวนอนมากขึ้น หากเทียบกับลักษณะที่ดูกระจัดกระจายในขั้นตอนที่ 3 จะเห็นว่าภาพนี้ดูเรียบร้อยกว่า แสดงให้เห็นถึงการจัดวางที่ออกแบบมาอย่างดี ตัวอย่างเหล่านี้ช่วยเปิดมุมมองในการถ่ายภาพจานอาหารให้กับคุณ

 
 

เคล็ดลับเพิ่มเติมในการใช้มุมกล้องให้ได้ผลดี

ดังที่ได้แสดงในขั้นตอนข้างต้นแล้วว่ามุมกล้องนั้นมีบทบาทสำคัญมากกับการถ่ายภาพอาหาร แนวคิดหลักๆ ก็คือการสร้างมิติโดยการถ่ายวัตถุจากด้านบนที่มุม 45 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับระดับสายตาเวลาที่เรากำลังจะรับประทานอาหาร การทำเช่นนี้จะทำให้ภาพดูสมจริงมากขึ้น

ดังนั้น มุมที่เล็งลงต่ำอย่างในตัวอย่างสุดท้ายจึงให้ผลตรงกันข้าม ตรงนี้ผมตั้งใจตัดเรื่องมิติออกไปโดยการถ่ายวัตถุจากระนาบที่ขนานกัน วัตถุทุกอย่างจึงถือเป็นวัตถุหลักในภาพนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะได้ภาพอาหารที่ดูน่าทานเท่านั้น แต่ยังดูน่ารักด้วย การวางองค์ประกอบแบบนี้ช่วยดึงเสน่ห์ของจานอาหารเหล่านี้ออกมา

การถ่ายภาพจากด้านบนตรงๆ แบบนี้ สิ่งสำคัญคือคุณต้องถือกล้องให้ขนานกับวัตถุในขณะที่คุณถือกล้องถ่ายด้วยมือ ด้วยการทำเช่นนี้ คุณจะสามารถสร้างความรู้สึกสงบในภาพได้ ควรทราบด้วยว่าภาพอาจมีองค์ประกอบที่ไม่สมดุลหากจานอาหารถูกครอปได้ไม่ดี ฉะนั้นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ควรใส่ใจก็คือการวางองค์ประกอบของภาพนั่นเอง

[เคล็ดลับ] คำนึงถึงสีพื้นหลังในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุด้วย

 

สีของพื้นหลังมีบทบาทสำคัญมากในการถ่ายภาพบนโต๊ะอาหาร หากคุณเลือกพื้นหลังเป็นโทนสีเทา สีที่ใกล้เคียงกับจานและอาหารจะทำให้ภาพขาดความเปรียบต่างที่ดี หากเทียบกันแล้ว การเลือกโทนสีฟ้าจะช่วยให้วัตถุเด่นออกมาอย่างง่ายดาย ระหว่างการถ่าย ลองให้น้ำหนักเท่ากันทั้งกับการจัดวางวัตถุและการเลือกสีพื้นหลัง

 
 
Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา