ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพซ้อนของกล้อง EOS 6D และเทคนิคในการใช้งาน

2014-05-08
0
8.24 k
ในบทความนี้:

ตัวเลือกสำหรับการถ่ายภาพซ้อนของกล้อง EOS 6D ทำให้การถ่ายทอดภาพเชิงศิลป์ที่สวยงามน่าทึ่งเป็นไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการที่คุณนำไปใช้ ในส่วนนี้ ผมจะนำเสนอเทคนิคเจ๋งๆ ในการใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ (เรื่องโดย: Teppei Kouno)

ไม่จำเป็นต้องคำนวณการเปิดรับแสงเมื่อใช้ [เฉลี่ย]

คุณสมบัติการถ่ายภาพซ้อนซึ่งสร้างภาพโดยการซ้อนภาพที่มีระดับแสงต่างกันเข้าด้วยกัน เป็นเทคนิคในการสร้างภาพถ่ายแบบหนึ่งซึ่งจะเปิดโลกแห่งความคิดสร้างสรรค์สำหรับภาพถ่ายของคุณได้เป็นอย่างดี กล้อง EOS 6D มาพร้อมตัวเลือกการถ่ายภาพซ้อน 2 ประเภท ได้แก่ [เติมแต่ง] และ [เฉลี่ย] ในส่วนต่อไปนี้ ผมจะอธิบายวิธีต่างๆ ในการทำภาพถ่ายซ้อนโดยใช้ตัวเลือก [เฉลี่ย] โดยทั่วไป ภาพภาพหนึ่งจะสว่างขึ้นเมื่อมีภาพอื่นๆ ที่มีแสงต่างกันมาวางซ้อนทับ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องลดการเปิดรับแสงเอง ซึ่งนี่เป็นวิธีการทำงานของตัวเลือก [เติมแต่ง] แต่สำหรับตัวเลือก [เฉลี่ย] กล้องจะกำหนดความสว่างที่เหมาะสมที่สุดให้โดยอัตโนมัติตามจำนวนภาพที่นำมาผสานกัน จึงช่วยให้ช่างภาพสามารถจดจ่ออยู่กับการเลือกสรรตัวแบบและกระบวนการผสานภาพได้โดยไม่ต้องมัวกังวลกับการเปิดรับแสงมากนัก สำหรับผู้ที่เพิ่งลองใช้งานคุณสมบัตินี้เป็นครั้งแรก [เฉลี่ย] เป็นตัวเลือกที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่า

ประเด็นสำคัญในการถ่ายภาพซ้อนอยู่ที่เนื้อหาของภาพถ่าย หรือ ตัวแบบ นั่นเอง โดยปกติ การนำภาพธรรมดาๆ มาผสานกันอาจจะทำได้ง่ายกว่า ตัวเลือกที่ใช้ได้ดีเยี่ยมอาจเป็นภาพที่ดูเหมือนขาดพลังอะไรซักอย่างในภาพนั้น นอกจากนี้ ตัวแบบที่มีธีมชัดเจนยังช่วยให้สามารถสร้างภาพได้ตามที่ต้องการด้วย ตัวอย่างเช่น คุณอาจสร้างเอฟเฟ็กต์ตามจินตนาการโดยวางภาพดอกไม้ ผู้คน สัตว์ และตัวแบบอื่นๆ ซ้อนทับกันโดยมีแบ็คกราวด์ธรรมดาๆ ด้านหลัง อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวแบบที่มีลักษณะเด่นชัดอยู่แล้ว คุณควรให้ความสำคัญกับการจัดองค์ประกอบภาพด้วย การปรับรูปแบบการวางตัวแบบย่อมเปลี่ยนความรู้สึกของภาพไปอย่างสิ้นเชิง พึงระลึกอีกสิ่งหนึ่งว่า ตัวแบบสีดำ (มืด) อาจสะท้อนในภาพถ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าตัวแบบสีขาว (สว่าง) กรณีภาพถ่ายแบบซิลูเอตต์ก็ใช้หลักการเดียวกันนี้ คุณสามารถสร้างโลกใบใหม่ที่มีความพิเศษแตกต่างออกไป โดยให้ภาพอีกภาพเด่นขึ้นจากส่วนเงามืด

วางซ้อนด้วยตัวแบบที่มีลักษณะเด่นชัด

EF17-40mm f/4L USM/ FL: 40 มม./ Aperture-priority AE (1/640 วินาที, f/5.6)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ภาพที่ 1
ภาพที่ 2

ภาพที่มีสีและรูปทรงเรียบง่ายและมีตัวแบบหลักชัดเจนจะนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ภาพซ้อนได้ง่ายมาก อย่างไรก็ตาม จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่าภาพเหล่านั้นวางซ้อนทับกันอย่างไร ในภาพนี้ ผมซ้อนภาพสองภาพเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์สมมาตร ซึ่งเพิ่มความรู้สึกน่าอัศจรรย์ใจให้กับภาพที่ออกมา

การซ้อนภาพที่ไม่เข้ากันทำให้ภาพขาดสมดุล

EF17-40mm f/4L USM/ FL: 40 มม./ Aperture-priority AE (1/800 วินาที, f/5.6)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ภาพที่ 1
ภาพที่ 2

พื้นถนนที่ส่วนขวาของภาพแรกทำให้การจัดองค์ประกอบภาพในภาพซ้อนดูระเกะระกะ ทำให้รูปแบบการซ้อนของภาพทั้งสองดูห่างไกลจากความตั้งใจอย่างมาก แม้ว่ากล้อง EOS 6D จะให้เราผสานภาพได้สูงสุดถึง 9 ภาพ แต่หากคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนในใจอยู่แล้ว ขอแนะนำให้คุณซ้อนเพียงสองภาพก็พอในขั้นเริ่มต้น

สร้างส่วนเงามืดแล้วซ้อนทับด้วยอีกภาพ

EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ Aperture-priority AE (1/4,000 วินาที, f/4.5)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพที่ 1
ภาพที่ 2

ในการถ่ายภาพซ้อน มักจะใช้วิธีซ้อนภาพอีกภาพหนึ่งลงบนภาพแรกที่มีส่วนเงามืด ซึ่งทำได้ง่ายกว่า ในภาพนี้ สันเขาถูกถ่ายในสไตล์ซิลูเอตต์แบบมืดทึบ แล้วผมก็วางภาพที่เต็มไปด้วยเม็ดทรายริมฝั่งทะเลซ้อนทับลงไป ผลที่ได้คือ ภาพที่มีลักษณะคล้ายกับภาพสะท้อนของภูเขาบนผืนน้ำ ด้วยพื้นที่เงามืดที่มืดทึบเหมือนอย่างในภาพแรกนี้ อีกภาพจึงโดดเด่นมีมิติขึ้นได้เมื่อนำมาวางซ้อนกัน

ภาพที่สองจะดูไม่โดดเด่นหากพื้นที่เงาในภาพแรกไม่ทึบเพียงพอ

EF17-40mm f/4L USM/ FL: 40 มม./ Aperture-priority AE (1/640 วินาที, f/5.6)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ภาพที่ 1
ภาพที่ 2

ภาพหลักซึ่งยังมืดไม่พอจึงไม่ช่วยขับเน้นภาพที่สองให้เด่นขึ้นเมื่อนำมาวางซ้อนกัน ในภาพนี้ เราแทบมองภาพทิวทัศน์ภาพที่สองไม่ออกเลยจากผลของภาพซ้อนที่ได้ เมื่อใช้กล้อง EOS 6D คุณสามารถใช้ภาพ RAW เป็นภาพแรกในการสร้างภาพถ่ายซ้อนได้ ซึ่งคงจะดีไม่น้อยที่จะถ่ายภาพอย่างภาพซิลูเอตต์เหมือนในตัวอย่างด้านบนเป็นภาพ RAW เพื่อจะสามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ภาพซ้อนได้ในภายหลัง

Teppei Kouno

เกิดในโตเกียว ปี 1976 Kouno เรียนรู้การถ่ายภาพจากช่างภาพ Masato Terauchi หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และทำงานเป็นช่างภาพอิสระตั้งแต่ปี 2003
http://fantastic-teppy.chips.jp

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา