ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 ฟังก์ชั่นของกล้องที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืน

2020-08-12
8
13.56 k
ในบทความนี้:

เสน่ห์ของการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนอยู่ที่ความสามารถในการถ่ายทอดโลกของแสงสีที่เราไม่สามารถมองเห็นหรือรู้สึกได้ในช่วงกลางวัน ต่อไปนี้คือฟังก์ชั่นส่วนหนึ่งของกล้องที่จะช่วยให้คุณปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ได้ทันทีและถ่ายภาพที่ดูไม่ซ้ำใคร! (เรื่องโดย Yurika Kadoi, Digital Camera Magazine)

เส้นแสงในน้ำ

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/ Bulb timer (f/16, 60 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
การเปิดรับแสงนานกว่า 30 วินาทีจะทำได้ง่ายขึ้นเมื่อใช้ฟังก์ชั่นการตั้งเวลาโหมด Bulb ฉันนึกถึงลำแสงที่สาดส่องอย่างต่อเนื่องขณะที่ถ่ายภาพเส้นแสงเหล่านี้จากบนเรือ เนื่องจากผิวน้ำดูมืดตอนที่ฉันเริ่มเปิดรับแสง ฉันจึงโฟกัสไปที่บรรดาอาคารสว่างๆ ในแบ็คกราวด์

 

1. การตั้งเวลาโหมด Bulb: ฟังก์ชั่นที่ดีที่สุดสำหรับเส้นแสงและการเปิดรับแสงนานแบบอื่นๆ

เส้นแสงของยานพาหนะและผิวน้ำที่มีการเปิดรับแสงนานที่ดูนุ่มนวลเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนให้ดูไม่เหมือนใคร ทว่าก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบและเอฟเฟ็กต์ที่คุณเลือกใช้ (เช่น เส้นแสงดาว) คุณอาจต้องใช้โหมด Bulb และเปิดรับแสงมากกว่า 30 วินาที

สำหรับกล้องที่ไม่มีฟังก์ชั่นการตั้งเวลาโหมด Bulb คุณจะต้อง:
i) กดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้นานเท่าที่คุณต้องการ หรือ
ii) ใช้รีโมทสวิตช์ (หรือฟังก์ชั่นการถ่ายภาพจากระยะไกลในแอพ Canon Camera Connect)

ในสถานการณ์ทั้งสองนี้ คุณจะต้องเฝ้าดูเวลาเพื่อให้ทราบว่าควรหยุดการเปิดรับแสงเมื่อใด

แต่ถ้ากล้องของคุณมีการตั้งเวลาโหมด Bulb (ซึ่งมักจะมีในกล้องระดับปานกลางและระดับสูง เช่น EOS 90D EOS M6 Mark II หรือกล้องระบบ EOS R) คุณจะสามารถตั้งค่าระยะเวลาในการเปิดรับแสงไว้ล่วงหน้านานเท่าไรก็ได้ระหว่าง 1 วินาที ถึง 99 ชั่วโมง 59 นาที 59 วินาที กล้องจะหยุดการเปิดรับแสงโดยอัตโนมัติ คุณจึงไม่จำเป็นต้องเฝ้าดูเวลาเอง

 

เคล็ดลับ: อย่าลืมป้องกันการสั่นของกล้อง! การกดปุ่มชัตเตอร์อาจทำให้กล้องสั่นไหวเช่นกัน ดังนั้นให้ใช้การตั้งเวลา 2 วินาทีหรือชัตเตอร์แบบแตะ

 

วิธีกำหนดการตั้งเวลาโหมด Bulb*

(ขั้นตอนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือการใช้งานกล้องของคุณ)

วงแหวนปรับโหมดของ Canon พร้อมโหมด B

1. เลื่อนวงแหวนปรับโหมดมาที่ [B (Bulb)]

 

หน้าจอเมนูการตั้งเวลาโหมด Bulb

2. เลือก [การตั้งเวลาโหมด Bulb] จากเมนูการถ่ายภาพ หลังจากเลือก [เปิด] แล้ว กดปุ่ม [INFO] ค่าเริ่มต้นจะตั้งค่าไว้ที่ [ปิด]

 

การตั้งเวลาการเปิดรับแสงสำหรับการตั้งเวลาโหมด Bulb

3. กำหนดเวลาการเปิดรับแสงในหน้าจอนี้ คุณสามารถตั้งเวลาการเปิดรับแสงให้นานเท่าไรก็ได้ตั้งแต่ 1 วินาที ถึง 99 ชั่วโมง 59 นาที 59 วินาที

 

2. การลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ: เพิ่มความคมชัดให้ภาพที่ถ่ายด้วยมือและมีความไวแสง ISO สูง

เมื่อเราถ่ายภาพกลางคืนด้วยมือ เรามักจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่นไหว นั่นหมายความว่าต้องใช้ความไวแสง ISO ที่สูงขึ้น ซึ่งเพิ่มโอกาสที่จะเห็นจุดรบกวนในภาพ ถ้าคุณกำลังถ่ายภาพฉากที่ไม่มีตัวแบบเคลื่อนไหว ฟังก์ชั่นหนึ่งที่ช่วยให้ถ่ายภาพความไวแสง ISO สูงได้คมชัดยิ่งขึ้นคือ ฟังก์ชั่นการลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ

แท่งเหล็กบนสะพาน

EOS 80D/ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM/ FL: 10 มม. (เทียบเท่า 16 มม.)/ การลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ (f/5.6, 1/20 วินาที, EV +0.3)/ ISO 6400/ WB: 4,500K
ฉันเลือกใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์เพราะต้องการถ่ายภาพเส้นลวดที่แผ่ขยายออกอย่างทรงพลัง เพื่อปรับเปลี่ยนสีให้เป็นโทนสีฟ้าที่ฉันชื่นชอบ ฉันจึงกำหนดสมดุลแสงขาวโดยใช้อุณหภูมิสี

 

หน้าจอการลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ

เลือก [การลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ]

เลือก [การลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ] จากเมนู [ลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูง] สังเกตว่าจะไม่สามารถตั้งค่าฟังก์ชั่นนี้ได้ถ้าเลือกรูปแบบการบันทึกเป็น RAW หรือ RAW+JPEG

 

วิธีการถ่ายภาพ

เมื่อเปิดใช้งานการลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพแล้ว กล้องจะถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเปิดรับแสงต่างกัน 4 แบบ จัดให้อยู่ในแนวเดียวกัน แล้วเฉลี่ยจุดรบกวนแบบสุ่มในภาพแต่ละแบบเมื่อรวมภาพเข้าด้วยกัน ภาพ JPEG ภาพเดียวที่ได้จะมีจุดรบกวนน้อยกว่าภาพที่คุณจะได้จากการลดจุดรบกวนทั่วไป

ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ ซึ่งถ่ายด้วย EOS 80D โดยตั้งค่าการเปิดรับแสงเหมือนกัน:

ISO 6400 (ลดจุดรบกวนถ่ายหลายภาพ)

ทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่ไม่เห็นจุดรบกวน

ภาพครอปของภาพที่ถ่ายด้วย ISO 6400 และมีจุดรบกวนน้อยมาก

 

ISO 6400 (ถ่ายปกติ)

ทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่มองเห็นจุดรบกวน

ภาพครอปฉากทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่มองเห็นจุดรบกวน

 

เคล็ดลับ: เทคโนโลยีที่ดียิ่งขึ้นทำให้กล้องรุ่นใหม่ๆ สามารถถ่ายภาพที่คมชัดด้วยความไวแสง ISO ที่สูงยิ่งขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับบริบทด้วย คุณควรระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดจุดรบกวนในภาพ ตัวอย่างเช่น จุดรบกวนในภาพอาจชัดเจนกว่าที่คาดไว้ถ้าคุณพิมพ์ภาพถ่ายขนาดใหญ่หรือแสดงภาพบนหน้าจอขนาดใหญ่

 

3. ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพซ้อน: สร้างโลกใหม่แบบเหนือจริง

ถ้ากล้องของคุณมีฟังก์ชั่นการถ่ายภาพซ้อน ให้ลองใช้งานและดูว่าคุณสามารถสร้างสรรค์ภาพแปลกแหวกแนวอย่างไร! ซึ่งอันที่จริงแล้วทำได้ง่ายมาก

i) ไปที่เมนูถ่ายภาพ
ii) เปิดใช้งานการถ่ายภาพซ้อน
iii) เลือกวิธีควบคุมการถ่ายภาพซ้อน (“Multi-expos ctrl”) (ฉันเลือก “เฉลี่ย” สำหรับภาพถ่ายด้านล่าง)
iv) ตั้งค่าจำนวนภาพที่คุณต้องการวางซ้อนกัน (สำหรับภาพถ่ายด้านล่าง ฉันใช้การเปิดรับแสงสองแบบ)
v) กดปุ่มชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพการเปิดรับแสงแต่ละแบบ 

เคล็ดลับ: ถ้าคุณใช้กล้อง DSLR ให้ถ่ายภาพแบบ Live View ความสามารถในการตรวจเช็คภาพถ่ายแต่ละภาพทำให้ปรับขนาดและตำแหน่งได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

เครื่องบินที่สนามบินพร้อมแสงโบเก้

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 132 มม. (เทียบเท่า 211 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/5.6, 2 วินาที, EV ±0)/ ISO 200/ WB: หลอดไฟทังสเตน ภาพนี้ประกอบด้วยการถ่ายแบบเปิดรับแสงสองแบบจากตำแหน่งเดียวกันซึ่งภาพหนึ่งคมชัดกว่า และอีกภาพหนึ่งมีโฟกัสตื้นกว่า วิธีนี้ทำให้แสงออกมาดูนุ่มนวลและสวยงามชวนฝัน

 

ข้อควรรู้: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างการควบคุมการถ่ายภาพซ้อนแบบ “เติมแต่ง” กับ “เฉลี่ย”

การตั้งค่า “ควบคุมถ่ายภาพซ้อน” ช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าวิธีที่กล้องจะรวมภาพถ่ายของคุณเข้าด้วยกัน

เติมแต่ง: การเปิดรับแสงของแต่ละภาพที่ถ่ายนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คุณจะต้องใช้การชดเชยแสงเป็นลบหรือเปิดรับแสงน้อยขณะถ่ายภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ภาพสุดท้ายดูสว่างเกินไป
เฉลี่ย: กล้องจะควบคุมการเปิดรับแสงของภาพถ่ายที่จะนำไปรวมกัน ภาพสุดท้ายจึงมีค่าการเปิดรับแสงมาตรฐาน

สำหรับ "เติมแต่ง" อาจเป็นเรื่องยากที่จะตั้งค่าให้ถูกต้อง หากไม่แน่ใจ ให้เลือก “เฉลี่ย”

 

เคล็ดลับ: ปรับปริมาณการซ้อนทับกันในภาพ 2 ภาพ

ฉันถ่าย “ภาพถ่ายพื้นฐาน” ที่คมชัดก่อน แล้วตามด้วยภาพที่มีแสงโบเก้ โดยทำการปรับมุมรับภาพเล็กน้อยเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการ คุณอาจต้องเปลี่ยนตำแหน่งการถ่ายภาพของคุณเล็กน้อยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสม

เครื่องบินที่สนามบิน (คมชัด)

ภาพที่ 1

 

เครื่องบินที่สนามบิน (อยู่นอกโฟกัส)

ภาพที่ 2

(สนใจวงกลมโบเก้แบบในภาพที่ 2 หรือไม่ ต่อไปนี้เป็นไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้วงกลมโบเก้เพื่อสร้างสรรค์ถ่ายภาพยามค่ำคืนที่น่าตื่นตาตื่นใจ)


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yurika Kadoi

เกิดที่โตโยมะและจบการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคานาซาวะ Kadoi ทำงานกับบริษัทผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า ก่อนจะมาเป็นผู้ช่วยในสตูดิโอถ่ายภาพ จากนั้น Kadoi ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ และปัจจุบันทำงานหลากหลายประเภทตั้งแต่ถ่ายภาพบุคคลไปจนถึงภาพนิ่งสำหรับภาพยนตร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา