ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพทิวทัศน์ – การถ่ายภาพให้น่าประทับใจด้วยการตั้งค่าความไวแสง ISO และฟังก์ชั่น Live View

2014-03-27
6
15.05 k
ในบทความนี้:

ฟังก์ชั่น Live View สำหรับกล้อง EOS 70D ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยนำเซนเซอร์ Dual Pixel CMOS AF มาใช้ บทความต่อไปนี้จะกล่าวถึงเทคนิคการถ่ายภาพบางประการที่ช่างภาพมืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 70D ขอแนะนำให้คุณลองถ่ายภาพให้งดงามน่าประทับใจด้วยการใช้หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ ซึ่งช่วยให้การถ่ายภาพจากมุมแปลกๆ ทำได้ง่ายขึ้น และมีช่วงความไวแสง ISO มาตรฐานให้เลือกหลายระดับ (เรื่องโดย: Aki Goto)

หน้า: 1 2 3

 

ถ่ายภาพทิวทัศน์ให้สวยโดนใจด้วยการใช้คุณสมบัติเด่นของกล้อง EOS 70D อย่างเต็มที่

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ซึ่งต้องเดินไปตามริมทะเลสาบ ภูเขา ชายทะเล หรือฝั่งแม่น้ำเป็นระยะทางไกล น้ำหนักกล้องจึงเป็นข้อพิจารณาสำคัญ น้ำหนักที่เบาของกล้อง EOS 70D จึงไม่เป็นภาระที่เพิ่มความเหนื่อยล้า แม้ว่าคุณจะถ่ายภาพติดต่อกันหลายชั่วโมง นอกจากนี้ กล้องยังสามารถใช้ถ่ายภาพในฉากหลากหลายรูปแบบ และเพิ่มความมั่นใจด้วยฟังก์ชั่นอื่นๆ อีกมาก

เปิดภาพ Live View บนจอ LCD แบบปรับหมุนได้ขณะจัดองค์ประกอบภาพหรือจับโฟกัส การทำเช่นนี้ทำให้คุณสามารถจัดกรอบภาพที่จะถ่ายได้อย่างอิสระจากหลากหลายมุม ทั้งสูงและต่ำ จึงให้ภาพถ่ายจากมุมมองที่ไม่จำเจ จอ LCD มีความชัดใสอย่างมาก ขณะที่ขั้นตอนการเช็คปริมาณแสงก็ทำได้รวดเร็ว และยังโฟกัสได้ง่าย นอกจากนี้ การใช้ชัตเตอร์แบบแตะยังตอบสนองได้ไวมากด้วย เมื่อเลือกความไวแสง ISO สูงขณะถ่ายภาพในบริเวณที่มีแสงน้อย เช่น ในป่าที่มีต้นไม้ครึ้ม คุณสามารถถือกล้องถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องกล้องสั่นไหว ด้วยความสามารถรอบตัวเช่นนี้ จึงเพียงพอที่จะถ่ายภาพได้ทุกประเภท ลองใช้กล้อง EOS 70D เพื่อเก็บภาพถ่ายที่คุณชื่นชอบ


ข้อแนะนำสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์!

・Aperture-priority AE
・FlexiZone - จุดเดียว
・รูปแบบภาพ "ภาพวิว" (วันเมฆครึ้ม)
・ขาตั้งกล้อง
・รีโมทคอนโทรล


หากคุณต้องการจะได้ภาพถ่ายที่มีโฟกัสชัดลึกที่ความไวแสง ISO ต่ำๆ และภาพที่คมชัดถึงรายละเอียด หรือในช่วงเวลาที่มืดลงของวัน ซึ่งความเร็วชัตเตอร์มีแนวโน้มจะช้าลง เช่น ในเวลาเช้าตรู่หรือพลบค่ำ ให้ใช้ขาตั้งกล้องและรีโมทคอนโทรล เพื่อป้องกันผลกระทบที่ไม่พึงปรารถนาจากการสั่นไหวของกล้อง ขณะเดียวกัน ในวันเมฆครึ้มที่สีหม่นหมอง การเลือกรูปแบบภาพ “ภาพวิว (Landscape)” ช่วยให้ภาพมีสีสันเหมือนจริงในโทนสีแบบมีชีวิตชีวา

 
 

เทคนิค 1: ภาพภูเขาไฟฟูจิและดอกไม้ที่ดูมีความสมดุลเป็นอย่างดี ใช้ฟังก์ชั่น Live View และชัตเตอร์แบบแตะ

 

ถ่ายภาพขณะนั่งยองกับพื้น

EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม. (เทียบเท่ากับประมาณ 112 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (1/80 วินาที, f/11, +0.6EV)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

เพื่อไม่ให้สีโทนของดอกลาเวนเดอร์ที่บานสะพรั่งอยู่ดูไร้มิติจนเกินไป ผมใช้ฟังก์ชั่น Live View และจอ LCD แบบปรับหมุนจอได้เพื่อจัดองค์ประกอบภาพให้มีชีวิตชีวา พร้อมกับให้ความสำคัญกับความลึกและทิศทางของดอกไม้ ในภาพนี้ ผมตั้งค่ารูรับแสงเป็น f/11 เพื่อให้เค้าโครงของภูเขาไฟฟูจิที่อยู่ด้านหลังไม่เบลอมากนักและยังคงมองเห็นเป็นรูปทรง

 
 

 

ถ่ายภาพขณะยืน

 
 

ในภาพที่ถ่ายตอนกำลังยืนนี้ สิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น บ้านเรือน สายไฟ มักเข้ามาทำให้ฉากสวยๆ ดูอ่อนด้อยลงไป ในทางตรงกันข้าม การจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้ฟังก์ชั่น Live View และจอ LCD แบบปรับหมุนได้ขณะที่นั่ง ทำให้ผมสามารถจัดให้มีเฉพาะดอกไม้และภูเขาไฟฟูจิเข้ามาอยู่ในภาพได้

ตรวจดูองค์ประกอบภาพจากมุมต่ำโดยใช้จอ LCD แบบปรับหมุนได้

ผมบังเอิญเจอดอกไม้เป็นทิวแถวอยู่ที่เชิงภูเขาไฟฟูจิ หากผมถ่ายภาพในระดับสายตา สิ่งต่างๆ ในฉากปกติ เช่น สายไฟและบ้านเรือน อาจเข้ามาอยู่ในภาพร่วมกับดอกลาเวนเดอร์และภูเขาไฟด้วย ซึ่งจะทำให้ภาพขาดตัวแบบหลักที่ชัดเจน เพื่อไม่ให้สิ่งที่ไม่ต้องการรวมอยู่ในภาพ ผมตั้งกล้องในตำแหน่งที่ต่ำ ขณะที่ตรวจดูภาพบนจอ LCD แบบปรับหมุนได้ ผมมองหาองค์ประกอบภาพที่มีดอกลาเวนเดอร์เป็นตัวแบบหลัก และจับโฟกัสบนดอกไม้ในระยะโฟร์กราวด์โดยใช้ฟังก์ชั่น Live View

ท้องฟ้าในวันที่ถ่ายภาพนี้ค่อนข้างจะครึ้ม เมื่อเลือกรูปแบบภาพ “ภาพวิว” ผมจึงสามารถถ่ายภาพดอกลาเวนเดอร์ให้มีสีสันสดใสมีชีวิตชีวาได้ เพื่อสื่อความรู้สึกสดชื่นของดอกไม้ให้ชัดเจนขึ้น ผมจึงเพิ่มปริมาณแสงให้มากขึ้น

เคล็ดลับการตั้งค่า

 

ตั้งค่าชัตเตอร์แบบแตะเป็น “เปิด” ขณะที่กำลังถ่ายภาพ Live View จากมุมต่ำ ให้แตะที่จอ LCD เพื่อกดชัตเตอร์ทันทีที่จัดองค์ประกอบภาพเสร็จ ชัตเตอร์แบบแตะมีความไวในการตอบสนองที่ดีเยี่ยม และช่วยให้ใช้งานได้ง่าย

 
 
 
 

เทคนิค 2: ใส่ฟิลเตอร์ ND ซ้อนกับฟิลเตอร์ PL เพื่อลดความเร็วชัตเตอร์และสรรค์สร้างภาพผิวน้ำที่ดูนุ่มนวลดุจแพรไหม

EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM/ FL: 10 มม. (เทียบเท่ากับประมาณ 16 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (6 วินาที, f/22)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

สายน้ำที่กำลังพุ่งลงมาจากภูเขาไฟฟูจิดูเป็นเส้นสายที่นุ่มนวลเพราะความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง ในภาพนี้ ผมใช้เลนส์มุมกว้างในการดึงเอามิติความลึกของน้ำตก ซึ่งแผ่ตัวอย่างมีพลังไปยังขอบภาพทั้งสองด้าน

 
 
 
 

พื้นผิวของแอ่งน้ำดูเป็นจุดๆ สีขาวเมื่อไม่ใช้ฟิลเตอร์ ND เมื่อไม่ใช้ฟิลเตอร์ ภาพการเคลื่อนไหวของสายน้ำไหลและพื้นผิวน้ำอาจห่างไกลจากความคาดหวังมาก ในการสร้างสรรค์ความละเอียดให้ดูนุ่มนวลดุจแพรไหม ผมใช้ฟิลเตอร์ ND และซ้อนด้วยฟิลเตอร์ PL เพื่อลดปริมาณแสง ขาตั้งกล้องและรีโมทคอนโทรล ก็เป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการถ่ายภาพ

ลดความเร็วชัตเตอร์โดยใช้ค่าความไวแสง ISO ต่ำและค่ารูรับแสงสูง

เพื่อถ่ายทอดความนุ่มนวลของน้ำตก คุณจะต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลง อันดับแรก ผมเลือกใช้ Aperture priority AE, ISO 200 และค่ารูรับแสงแคบสุดที่ f/22 อย่างไรก็ตาม ผมต้องใส่ฟิลเตอร์ เพราะผมไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเพียงพอได้ในสภาพแสงตอนกลางวัน ถึงอย่างนั้น ฟิลเตอร์ ND8 ที่ผมมีอยู่ก็ไม่สามารถให้ภาพที่น่าพอใจ ผมจึงใส่ซ้อนทับกับฟิลเตอร์ PL เพื่อตัดปริมาณแสงให้ลดน้อยลงไปอีก สังเกตว่า เมื่อคุณใส่ฟิลเตอร์เข้ากับเลนส์มุมกว้าง อาจพบว่ามีรอยฟิลเตอร์ที่มุมภาพทั้ง 4 ด้าน และอาจเกิดขอบมืดในภาพ

กำหนดองค์ประกอบภาพโดยพิจารณาถึงส่วนที่ต้องตัดออก เลนส์มุมกว้างมักจะถ่ายภาพพื้นที่กว้างๆ ดังนั้น อย่าลืมที่จะตรวจดูมุมภาพในช่องมองภาพระหว่างการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อไม่ให้สิ่งอื่นๆ เช่น หญ้าที่ดูรกๆ รวมอยู่เป็นส่วนหนึ่งในองค์ประกอบภาพของภาพหลักทางซ้ายมือ ผมจึงกำหนดมุมภาพ พร้อมกับลดทอนองค์ประกอบในภาพที่จะถ่ายให้น้อยลง เช่น น้ำตก แอ่งน้ำ และต้นไม้เขียวชอุ่ม

 
 
 

หน้า: 1 2 3

 

เทคนิค 3: การถ่ายภาพป่าไม้ทึบด้วย ISO 12800 และปริมาณแสงสูงๆ

EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM/ FL: 10 มม. (เทียบเท่ากับประมาณ 16 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (1/250 วินาที, f/16, +1EV)/ ISO 12800/ WB: แสงแดด

ในภาพต้นไม้ที่ทอดตัวยาวไปจนถึงโพรงถ้ำภาพนี้ ผมพยายามขับเน้นชีวิตชีวาของหมู่แมกไม้จากมุมต่ำ เพราะแสงลอดเข้ามาในป่าเพียงเล็กน้อย สภาพแวดล้อมที่นี่จึงค่อนข้างมืด ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาจากกล้องสั่นเพิ่มมากขึ้น แม้อย่างนั้น ผมก็ยังสามารถถือกล้องถ่ายภาพได้โดยใช้วิธีเพิ่มความไวแสง ISO

 
 

 

ISO 100

 

ISO 12800

 
 

 

ISO 25600

เพิ่มความไวแสง ISO เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง

ผมตั้งค่าชดเชยแสงเป็น +1EV เพื่อขับเน้นความรู้สึกสดชื่นของแมกไม้เขียวชอุ่มเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจทำให้ภาพเบลอเมื่อใช้ความไวแสง ISO 100 แต่คุณจะไม่พบภาพสั่นไหวที่ ISO 12800 และจุดรบกวนก็ยังไม่เป็นที่สังเกตเห็นแม้จะใช้ ISO 25600 ความไวแสง ISO สูงไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันปัญหาจากอาการกล้องสั่นไหว แต่ยังเอื้อให้คุณได้ลดขนาดรูรับแสงเพื่อการถ่ายทอดภาพที่มีพื้นที่ในโฟกัสกว้างขึ้น

 
 

การใช้ความไวแสง ISO สูงอย่างจงใจเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกและความละเอียดของทิวทัศน์

นี่เป็นภาพที่ใช้วิธีถือกล้องถ่ายภายในป่าที่มืดทึมด้วยเลนส์มุมกว้าง แสงจากท้องฟ้าลอดผ่านใบไม้และสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวล ผมจึงเพิ่มความสว่างให้กับภาพโดยตั้งค่าการชดเชยแสงไปที่ +1EV แม้ว่า ISO 25600 จะอยู่ในช่วงที่มีความไวสูงมาก แต่ก็ยังมีจุดรบกวนให้เห็นเพียงเล็กน้อย การเพิ่มความไวแสง ISO อย่างจงใจเพื่อเพิ่มค่ารูรับแสงเอื้อประโยชน์ต่อภาพซึ่งต้องการถ่ายทอดสัมผัสหรือความละเอียดของภาพทิวทัศน์ จึงช่วยขยายขอบเขตให้กับงานถ่ายภาพของคุณ ปัญหาจากอาการกล้องสั่นไหวจะไม่เกิดขึ้นเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์เท่ากับ “1/ทางยาวโฟกัสเลนส์” หรือช้ากว่า คุณอาจใช้แนวทางนี้ในการเลือกระดับความไวแสง ISO ก็ได้

จัดองค์ประกอบภาพที่ดูโดดเด่นด้วยมุมมองจากด้านล่าง

ในสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการวางขาตั้งกล้อง ลองนอนลงบนพื้นแล้วมองหามุมเจ๋งๆ ช่องมองภาพออพติคอลของกล้อง EOS 70D มองเห็นได้ชัดเจนดีเยี่ยม ทั้งยังมีจุด AF แบบกากบาท 19 จุดที่ใช้งานได้อย่างง่ายดาย

 
 

เคล็ดลับการตั้งค่า

 

ขยายช่วงความไวแสง ISO ไปที่ 25600 มีบางสถานที่ที่ไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้อง เช่น จุดที่มีนักท่องเที่ยวคราคร่ำ สำหรับฉากเช่นนี้ ลองถือกล้องถ่าย โดยเพิ่มขีดจำกัดช่วงความไวแสง ISO ไปที่ H (25600)

 
 
Aki Goto

 

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า “Landscapes” และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ “Water Silence” การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอไว้ด้วยกัน
http://www.akifoto-inc.com/

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา