ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 11] รูปแบบภาพ

2014-11-13
5
8.79 k
ในบทความนี้:

รูปแบบภาพ (Picture Style) คือ ฟังก์ชั่นที่มีเฉพาะในกล้อง DSLR ซึ่งให้คุณเปลี่ยนรูปแบบของภาพถ่ายราวกับคุณได้เปลี่ยนฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพ สำหรับกล้องซีรีย์ EOS คุณสามารถเลือกใช้รูปแบบใดก็ได้จากรูปแบบที่มีให้เลือกทั้งหมด 7 แบบ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

หน้า: 1 2

กระบวนการดิจิไทซ์ของกล้องทำให้การเลือกรูปแบบภาพทำได้ง่ายๆ

เช่นเดียวกับการเปลี่ยนฟิล์มในกล้องฟิล์ม คุณสามารถเปลี่ยนรูปแบบภาพได้หลากหลายโดยใช้ฟังก์ชั่น “รูปแบบภาพ” ในกล้องดิจิตอล ในกล้อง DSLR สมัยก่อน เรากำหนดรูปแบบภาพด้วยการปรับการตั้งค่าแต่ละค่าแยกจากกัน เช่น ความอิ่มตัวของสี ความเปรียบต่าง และค่าอื่นๆ แต่ฟังก์ชั่น รูปแบบภาพ นี้เอื้อให้ผู้ใช้เลือกรูปแบบที่ต้องการได้จากรูปแบบที่มีให้เลือกทั้งหมด 7 รูปแบบโดยไม่ต้องลงรายละเอียดในการปรับค่าต่างๆ สำหรับตัวเลือกรูปแบบภาพ “อัตโนมัติ” ฉากที่กำลังถ่ายจะได้รับการวิเคราะห์และปรับสีโดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้การตั้งค่าที่เหมาะสมที่สุด ถ้าคุณเลือกรูปแบบภาพที่เหมาะกับตัวแบบ คุณจะได้ผลภาพสุดท้ายดั่งที่ใจต้องการ

อัตโนมัติ

ฉากที่กำลังถ่ายจะได้รับการวิเคราะห์จากกล้องโดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้สีที่เหมาะสมที่สุด ภาพท้องฟ้าสีฟ้า ทิวทัศน์เขียวขจี บรรยากาศยามเย็น และฉากภาพแบบอื่นๆ ก็จะได้ออกมามีสีสันมีชีวิตชีวา

มาตรฐาน

สีพื้นฐานของกล้อง EOS DSLR สามารถใช้ได้กับตัวแบบแทบทุกประเภท ด้วยความอิ่มและหนาแน่นของสีที่สูงกว่า ฟังก์ชั่นนี้จึงใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องปรับแต่งภาพเพิ่มเติมอีกในขั้นตอนการพิมพ์

บุคคล

รูปแบบนี้เหมาะกับการถ่ายสีผิวและความเนียนใสของผู้หญิงและเด็กๆ สีผิวของตัวแบบจะสวยเนียนกว่า เมื่อเทียบกับรูปแบบภาพ “มาตรฐาน”

ภาพเป็นกลาง

รูปแบบนี้จะถ่ายภาพตัวแบบให้มีความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของสีต่ำ แสงและเฉดสีจะไม่สดใสเท่ากับรูปแบบภาพอื่นๆ เหมาะสำหรับภาพบรรยากาศที่มีความเปรียบต่างของส่วนที่เป็นแสงจ้าและส่วนมืดตัดกันอย่างรุนแรง

วิว

ตามความหมายของชื่อเรียก รูปแบบนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ ด้วยความเปรียบต่างและคมชัดสูง ทำให้ถ่ายภาพพืชพันธุ์สีเขียวขจีและท้องฟ้าสีสดใสได้สวยแจ่ม ทิวทัศน์ที่อยู่ไกลออกไปก็ยังถ่ายได้คมชัด

ภาพตามจริง

รูปแบบภาพนี้ให้สีตัวแบบตามจริงภายใต้แสงที่ส่องตรงมายังตัวแบบ ระบบสามารถเก็บสีสันของตัวแบบได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นภาพผลิตภัณฑ์ ขนสัตว์ หรือตัวแบบอื่นๆ

ภาพขาวดำ

รูปแบบนี้มีเอฟเฟ็กต์โทนสีที่คล้ายกับฟิล์มขาวดำ นอกจากรูปแบบสีขาวกับดำแล้ว คุณยังเลือกเปลี่ยนเป็น ซีเปีย สีน้ำเงิน หรือสีแดงอย่างเดียวได้ด้วย เมื่อต้องการใช้เอฟเฟ็กต์โทนสีเดียว ให้เปลี่ยน “เอฟเฟ็กต์โทนสี” ในเมนูตัวเลือกตอนที่เลือก “ภาพขาวดำ” เป็นรูปแบบภาพ

วิธีตั้งค่ารูปแบบภาพ

กดปุ่ม รูปแบบภาพ เพื่อแสดงเมนูและใช้ปุ่ม 4 ทิศทางเพื่อเปลี่ยนรูปแบบภาพ หากคุณกำลังใช้โหมดการถ่ายฉากพิเศษ คุณจะสามารถเลือกรูปแบบภาพที่มีอยู่แบบใดแบบหนึ่งได้

เมื่อต้องการเลือกรูปแบบภาพขาวดำที่มีโทนสีแบบซีเปีย ให้เลือก “ภาพขาวดำ” จาก “รูปแบบภาพ” ในเมนูก่อน จากนั้น เลือกเอฟเฟ็กต์โทนสีที่ต้องการใช้ เช่น ซีเปีย สีน้ำเงิน สีแดง เป็นต้น

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา