ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 1] สุดยอดระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ (AF Performance) สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

2015-06-11
1
2.01 k
ในบทความนี้:

เป็นครั้งแรกในรอบห้าปี ที่แคนนอนได้เปิดตัวกล้องรุ่นที่มีเซ็นเซอร์ความละเอียดขนาด APS-C ตัวใหม่คือรุ่น EOS 7D Mark II ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่ดีที่สุด ด้วยการแนะนำคุณสมบัติอย่างเทคโนโลยีระบบโฟกัสอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF ที่รองรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่ค่าเฟรมเรท 60p คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งก้าวกระโดดของรูปแบบใหม่ในสมรรถนะของการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่คมชัดยิ่งขึ้น ในบทความนี้ เราจะมายืนยันประสิทธิภาพของกล้องโดยผ่านภาพถ่ายจริง (บรรณาธิการโดย: Yasushi Sugawara)

หน้า: 1 2

 

เทคโนโลยีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติประสิทธิภาพสูงเหมาะสำหรับการจับภาพวัตถุเคลื่อนไหวด้วยความเร็วอย่างแม่นยำ

ในระยะหลังนี้ผู้รักการถ่ายภาพเพิ่มจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวการถ่ายประเภทใด ๆ ไม่ว่าจะป็นรถไฟ, เครื่องบิน, นกป่า, หรือภูมิทัศน์ ยอดการเติบโตของผู้ใช้กล้องที่เพิ่มมากขึ้น ได้นำไปสู่การแข่งขันที่เข้มข้นของบรรดาผู้ผลิตกล้อง ตลอดจนความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมากขึ้นในประสิทธิภาพการทำงานและคุณสมบัติของกล้อง ในขณะเดียวกันที่ แคนนอนได้เปิดตัวกล้องรุ่นที่มีเซ็นเซอร์ความละเอียดขนาด APS-C ตัวใหม่คือรุ่น EOS 7D Mark II หลังจากที่ได้เปิดตัวรุ่น EOS 7D เมื่อห้าปีที่แล้ว ด้วยความยาวโฟกัสที่เทียบเท่ากับกล้องฟูลเฟรมประมาณ 1.6 เท่า กล้องที่มีเซ็นเซอร์ความละเอียดขนาด APS-C เหมาะอย่างยิ่งในการถ่ายภาพระยะไกล และเป็นตัวเลือกที่นิยมในกลุ่มช่างภาพชั้นนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพนกป่า, เครื่องบินและกีฬา

ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติที่มีความเร็วมากขึ้นในกล้องรุ่น EOS 7D Mark II ด้วยเทคโนโลยีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF ซึ่งใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติจับความต่างของเฟสแสงโดยเซ็นเซอร์จับภาพ ทั้งยังเป็นกล้อง EOS รุ่นแรกที่รองรับการบันทึกภาพที่ค่าเฟรมเรท 60p ด้วยคุณลักษณะนี้จะช่วยให้การถ่ายภาพเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างราบรื่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการถ่ายภาพเคลื่อนไหวของนกป่าและเครื่องบิน (*โหมดการโฟกัสภาพอัตโนมัติจะสลับเป็นระบบโฟกัสจับภาพอัตโนมัติแบบเทียบความต่างของเฟสแสงเมื่อเลือกค่าเฟรมเรทที่ 60p/50p ในโหมด Full HD และเมื่อใส่ตัวขยายทางยาวโฟกัสเข้าไป)

1

2

 

3

4

เป็นสิ่งที่ท้าทายในการดึงภาพของวัตถุที่อยู่ไกลให้เข้ามาใกล้กล้องอยู่ตรงหน้า ไม่เพียงเท่านั้น การถ่ายภาพพื้นหลังที่เป็นพื้นผิวของน้ำให้มีความคมชัดสูงเป็นสิ่งที่ยากกว่า แม้กระนั้น ด้วยระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติของกล้องรุ่น EOS 7D Mark II ทำให้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเป็ดและยังคงทำให้จุดสนใจของภาพยังอยู่ที่ตัวเป็ดเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ชวนตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความก้าวหน้าของประสิทธิภาพของเทคโนโลยีโฟกัสภาพอัตโนมัติที่นำมาใช้ในขณะการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

เลนส์ที่ใช้: EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS STM/ 1920×1080/29.97p (IPB)/ (f/6.3, 1/500)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 
 

จากการทดลองใช้กล้องนี้ ผมบอกได้เลยว่าเป็นครั้งแรกจากประสบการณ์ในการถ่ายภาพที่ผมทึ่งในประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ เมื่อผมได้ถ่ายภาพเป็ดที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา ความจริงแล้ว ผมไม่ค่อยชอบการใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ดังนั้นภายใต้สถานะการณ์ดังตัวอย่าง ที่ผ่านมาผมจะใช้ระบบโฟกัสภาพที่ปรับเองเท่านั้น เพราะมีแสงสว่างจ้าที่สะท้อนจากน้ำ ทำให้ผมไม่คิดว่ากล้องจะสามารถจับภาพของเป็ดให้เป็นจุดหลักของภาพได้ แต่กล้องรุ่น EOS 7D Mark II ได้พิสูจน์ให้ผมเห็นแล้วว่าผมคิดผิด ผมไม่เคยเจอกล้องที่มีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติที่สามารถให้การโฟกัสภาพที่ถูกต้องในสถานะการณ์นี้มาก่อน แต่ระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติของกล้องรุ่น EOS 7D Mark II สามารถที่จะคงการโฟกัสภาพไปที่เป็ดได้ตลอดเวลา ไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ในร่มหรือกลางแดด

เมื่อก่อน การดึงภาพของวัตถุให้เข้ามาใกล้กล้องเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถมาก เพราะมันต้องใช้เทคนิคการถ่ายภาพชั้นสูงในการปรับโฟกัสภาพด้วยตนเอง แต่สำหรับกล้องรุ่น EOS 7D Mark II แล้ว คุณมั่นใจได้เลยว่าระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติจะทำงานได้อย่างถูกต้อง ตราบเท่าที่วัตถุถูกจับภาพอยู่ในเฟรม ด้วยกล้องนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะเพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพฝีมือขั้นเทพอย่างง่ายดาย

 

คุณสมบัติของตัวปรับโฟกัสภาพภายในกล้องเป็นอย่างไร?

เพื่อถ่ายภาพที่คล้ายกันนี้ ผมเล็งกล้องไปที่นกเหยี่ยวดำที่กำลังบินเข้ามาหากล้อง โฟกัสของภาพจะเปลี่ยนไปยังเสาไฟฟ้าชั่วขณะเมื่อนกเหยี่ยวสีดำบินอยู่หลังเสา แต่กล้องได้ตั้งโฟกัสภาพใหม่ไปที่นกเหยี่ยวสีดำเมื่อเห็นภาพมันอีกครั้ง มันเป็นสิ่งที่วิเศษนะ หากกล้องสามารถที่จะโฟกัสภาพของนกเหยี่ยวดำได้ตลอดเวลา แต่คงไม่ต้องบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ระบบติดตามโฟกัสภาพอัตโนมัติจะติดตามวัตถุที่มองไม่เห็น แม้กระนั้น ผมยังคงประทับใจที่กล้องสามารถปรับโฟกัสภาพได้อย่างรวดเร็ว

ภาพถ่ายของนกเหยี่ยวดำบนท้องฟ้า กล้องสามารถที่จะตรวจสอบสภาวะโดยรอบและเปลี่ยนโฟกัสได้อย่างรวดเร็วจากนกเหยี่ยวดำไปเสาไฟฟ้าและกลับไปยังนกเหยี่ยวดำอีกครั้ง

 
 

สิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นเมื่อผมถ่ายวิดีโอใบเมเปิ้ล ดังที่แสดงในรูปภาพด้านล่าง ขณะที่ผมบังคับให้กล้องไปทางขวาเล็กน้อย จาก 1 ไป 2 โฟกัสภาพจะเปลี่ยนใบที่ใบเมเปิ้ลที่อยู่ตรงกลาง การเปลี่ยนจุดโฟกัสภาพที่ดีที่สุดตามกระบวนการแพนกล้องเกิดขึ้นก่อนที่ผมซึ่งเป็นผู้ถ่ายวิดีโอจะทราบด้วยซ้ำ ราวกับว่ากล้องกำลังบอกผมว่า ภาพจะออกมาสวยกว่าหากผมตั้งโฟกัสภาพไปที่ใบเมเปิ้ลที่อยู่ข้างหลัง

1

2

ผมทึ่งมากที่กล้องเปลี่ยนโฟกัสไปที่ใบเมเปิ้ลที่อยู่ข้างหลังในขณะที่ผมกำลังทำการแพนกล้องอยู่ เหมือนว่ากล้องรุ่น EOS 7D Mark II สามารถอ่านความคิดของผู้ถ่ายวิดีโอได้

 
 

เพราะว่ากล้องรุ่น EOS 7D Mark II จัดการกับสถานการณ์ที่ต่างกันได้อย่างเหมาะสมมาก ผมจึงสงสัยว่ามันอาจเป็นแค่เรื่องบังเอิญ ดังนั้นผมจึงพยายามที่จะจับภาพใบเมเปิ้ลเหมือนเดิมอีกครั้ง กล้องก็ทำการตอบสนองตามเดิมทุกประการ มันให้ความรู้สึกราวกับว่ากล้องเป็นผู้ช่วยของผมในการปรับโฟกัสภาพ

ตามที่กล่าวมา กล้องรุ่น EOS 7D Mark II ไม่สามารถระบุทุกรายละเอียดของการโฟกัสภาพอัตโนมัติ โดยเฉพาะเมื่อเราปรับความเร็วในการโฟกัสภาพ ความเร็วของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติจะเลือกได้จากหน้าจอเมนู ดังนั้นคุณสามารถที่จะเลือกความเร็วที่เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของคุณ

การตั้งค่าการใช้งานเต็มรูปแบบสำหรับระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติประสิทธิภาพสูง

 

ประสิทธิภาพอันน่าทึ่งของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติของกล้องรุ่น EOS 7D Mark II มาจากเทคโนโลยีระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF ที่สามารถจับโฟกัสภาพอัตโนมัติของเฟสแสงได้อย่างรวดเร็ว และโฟกัสภาพได้กว้างครอบคลุมพื้นที่กว่า 80% ของหน้าจอมองภาพ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน อย่างไรก็ตาม มันสามารถใช้ได้เพียงกับโหมดภาพถ่ายที่ค่าเฟรมเรท 30p (เช่น โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 30 เฟรมต่อวินาที)

สำหรับการถ่ายภาพที่ใช้เลนส์ประเภทหมุนรอบแกน (STM) เสียงที่เกิดจากการทำงานระหว่างการหาโฟกัสภาพอัตโนมัติสามารถลดลงได้ถึงขีดต่ำสุด ความเร็วในการโฟกัสภาพสามารถตั้งค่าได้ห้าระดับ ความเร็วในการโฟกัสภาพอัตโนมัติที่เร็วที่สุดจะถูกเลือกเป็นค่าตั้งต้น ที่จะเหมือนกับการทำงานของการหาโฟกัสภาพอย่างรวดเร็วเมื่อคุณกำลังถ่ายภาพ การตั้งค่าความเร็วในการโฟกัสภาพต่ำที่สุดจะมีความเหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนโฟกัส อย่างไรก็ตาม โปรดทราบว่าความเร็วของระบบโฟกัสภาพอัตโนมัติสูงสุดจะถูกเลือกเป็นค่าตั้งต้น หากคุณเลือกระบบโฟกัสอัตโนมัติอื่นที่นอกเหนือไปจาก “FlexiZone – Single” หรือใช้เลนส์ที่ไม่สามารถทำงานร่วมกับระบบ Dual Pixel CMOS AF

 

เซ็นเซอร์รับภาพ: ความละเอียดภาพขนาด APS-C (ประมาณ 22.4×15 มม.) เซ็นเซอร์ CMOS / ความละเอียดของภาพจากกล้อง: ประมาณ 20.2 เมกะพิกเซล
เลนส์เม้าท์: เมาท์ EF ของ Canon
รูปแบบ: MOV, MP4 (วิดีโอ), MPEG4 AVC/H.264 (เสียง); MOV: Linear PCM/ MP4: AAC
สื่อบันทึกเสียง: SD/ SDHC/ เมมโมรี่การ์ดแบบ SDXC (เทียบเท่ากับ UHS-I หรือ Ultra High Speed Class 1)
ระบบหาโฟกัสภาพอัตโนมัติ: ระบบหาโฟกัสภาพชนิดอ่านค่าผ่านเลนส์ (TTL secondary image-registration), หาโฟกัสภาพจากความต่างของเฟสแสงโดยใช้เซ็นเซอร์หาโฟกัสภาพอัตโนมัติ
การถ่ายแบบ Live View: เทคโนโลยี Dual Pixel CMOS AF/ ระบบโฟกัสอัตโนมัติ Contrast detection
ค่าความไวแสง: หน้าจออัจฉริยะกำหนดค่าอัตโนมัติ (ตั้งค่าความไวแสงอัตโนมัติระหว่าง ISO 100 และ ISO 6400), ตั้งค่าความไสแสงกำหนดเองระหว่าง ISO 100 และ ISO 16000, อื่น ๆ
หน้าจอ: หน้าจอแอลซีดีแสดงผลแบบ TFT 3.0b (3:2) / ประมาณ 1.04 ล้านจุด
ช่องมองกล้อง: กระจกสะท้อนภาพ Quick return / ประมาณ 1.00x (-1 m-1 ด้วยเลนส์ขนาด 50 มม.ที่ระยะอนันต์)
สัญญาณเข้า/สัญญาณออก: SuperSpeed USB (USB3.0), HDMI mini, ไมโครโฟนตัวนอก, หูฟัง, รีโมทคอนโทรล
มิติภายนอก: (ก)148.6 x (ส)112.4 x (ล)78.2 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 820 ก. (เฉพาะตัวเครื่อง)/ ประมาณ 910 ก. (ตามมาตรฐานสมาคมผลิตภัณฑ์ภาพถ่ายและกล้อง)

 
 
Yasushi Sugawara

 

ถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตทุกอย่าง เช่น นก แมลง และพืช โดยใช้เทคนิคพิเศษ เช่น เทคนิคการถ่ายแบบย่นระยะเวลา (Time Lapse), การถ่ายแบบความเร็วสูง (High Speeds) และการถ่ายภาพสามมิติ นำเสนอภาพทางโทรทัศน์, สร้างรูปภาพสำหรับงานนิทรรศการ, เขียนบทความลงนิตยสาร และทำงานในด้านต่าง ๆ เป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP) ได้รับรางวัลจากเทศกาล EARTH VISION Global Environmental Film Festival (ปี 2000) ได้รับรางวัลจากเทศกาล Japan Wildlife Film Festival (ปี 2001)

Video Salon

 

Video Salon เริ่มตีพิมพ์ในปี 1980 และเป็นนิตยสารเฉพาะทางเกี่ยวกับอุปกรณ์การบันทึกภาพวิดีโอเพียงหนึ่งเดียวในประเทศญี่ปุ่น เหมาะสำหรับผู้อ่านที่เป็นทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ Video Salon ไม่เพียงแต่มีชื่อเสียงในด้านข้อมูลเกี่ยวกับกล้องถ่ายวิดีโอและซอฟต์แวร์ตัดต่อ แต่ยังเป็นที่รู้จักในการทำรีวิวการบันทึกภาพวิดีโอด้วยกล้อง DSLR ใหม่ล่าสุดและเคล็ดลับต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญและบทเรียนให้ความรู้

http://www.genkosha.co.jp/vs/

พิมพ์โดยบริษัท GENKOSHA จำกัด

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา