ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ตอนที่ 1] ภาพถ่ายทิวทัศน์กลางคืน – เส้นแสง

2014-07-25
14
38.17 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนเปิดโอกาสให้คุณสนุกกับวิธีการถ่ายทอดที่หลากหลายโดยการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าของกล้อง อย่างเช่น การถ่ายภาพ "เส้นแสง" ทำได้โดยเปิดชัตเตอร์ไว้เป็นเวลานาน ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึงเทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงจากไฟรถยนต์ว่าทำอย่างไรให้ออกมาสวยจับใจ (เรื่องโดย: Takuya Iwasaki)

ความเร็วชัตเตอร์กำหนดความยาวของเส้นแสง

การถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนเป็นโอกาสให้คุณได้สนุกกับวิธีการถ่ายทอดที่หลากหลายด้วยการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าของกล้อง เมื่อเปิดชัตเตอร์ไว้นาน คุณก็สามารถจับภาพแสงจากรถยนต์และรถไฟให้เต็มด้วยลวดลายหลากสี ซึ่งมักเรียกกันว่า “เส้นแสง” ช่วงเวลาของความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้จะเป็นตัวกำหนดว่าเส้นแสงที่ถ่ายมาช่วยขับเน้นผลงานภาพถ่ายของคุณหรือไม่ หากความเร็วชัตเตอร์สูงมาก เส้นแสงอาจสั้นเกินไป ในการจับภาพแสงไฟ อย่างไฟจากรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านคุณนั้น การเลือกความไวแสง ISO ต่ำๆ และความเร็วชัตเตอร์ช้าๆ จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ภาพเส้นแสงไฟที่มีชีวิตชีวาและการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราขอแนะนำให้เลือกจุดถ่ายที่อยู่สูงซึ่งสามารถมองลงมาเห็นทางด่วนหรือทางหลวงที่มีปริมาณการจราจรสูง

ฟังก์ชั่นของกล้องที่ใช้ในการถ่าย

ความเร็วชัตเตอร์

ขนาดของเส้นแสงไฟจะสั้นลงเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น และขนาดจะยาวขึ้นเมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้าลง

เทคนิคการสร้างเส้นแสง: เวลาเปิดรับแสงนาน

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวการถ่ายภาพให้เกิดเส้นแสงก็คือ คุณสามารถถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของแสงให้ปรากฏในภาพเดียวได้ นอกจากแสงไฟจากรถยนต์ คุณยังสามารถสร้างเส้นแสงจากไฟของรถไฟ เครื่องบิน และเรือได้ด้วย ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงจากไฟรถยนต์ให้น่าดึงดูดใจ ประการแรก เลือกสถานที่ที่มีปริมาณการจราจรสูง และตั้งกล้องของคุณบนขาตั้งกล้องในตำแหน่งที่เอื้อให้คุณมองลงไปเห็นถนน เช่น บนทางเท้าหรือตำแหน่งที่สูงกว่าปกติ เลือก Shutter-priority AE หรือ Manual Exposure เป็นโหมดการถ่ายภาพ ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ประมาณ 15 วินาที และเลือกความไวแสง ISO ต่ำๆ ระหว่าง ISO 100 และ 200 สำหรับการตั้งค่าสมดุลแสงขาว ขอแนะนำตัวเลือก [แสงแดด] เพราะช่วยในการสร้างสีของแสงไฟตามถนนให้สวยงาม

EOS 5D Mark II/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Manual exposure (25 วินาที, f/11)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

ในการถ่ายภาพเส้นแสงจากไฟรถที่วิ่งอยู่บนท้องถนนให้สื่อความเคลื่อนไหวจากตำแหน่งที่มองลงมาเห็นทางด่วน ผมลดขนาดรูรับแสงลงและเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า

เส้นแสงที่ความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ

1/4 วินาที

ที่ 1/4 วินาที ยังมองเห็นรถแต่ละคัน และมีการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวในภาพเล็กน้อยมาก

2 วินาที

ที่ 2 วินาที เริ่มเห็นเส้นแสงชัด แต่ยังคงไม่ต่อเนื่อง

15 วินาที

เส้นแสงต่อติดกันทั้งหมด เพิ่มความรู้สึกสมจริงให้กับภาพได้อย่างมาก

Takuya Iwasaki

เกิดปี 1980 ในโอซาก้า หลังจากจบการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ที่ Hosei University Iwasaki กลายมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนเมื่อปี 2003 เขาทำงานเป็นไกด์ให้กับ All About (http://allabout.co.jp) นอกจากนั้นยังเป็นผู้บรรยายใน “หลักสูตรการถ่ายภาพยามค่ำคืน” ให้กับการสัมมนา Tokyu Seminar BE
http://www.yakei-photo.jp/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา