ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 2] ความท้าทายในการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานและพลังการถ่ายทอดภาพของกล้อง EOS 5D Mark III ที่ได้รับความนิยมมายาวนานให้มีประสิทธิภาพ

2014-02-27
2
2.22 k
ในบทความนี้:

หลังจากผ่านกระบวนการพัฒนาเพื่อปรับรุ่นใหม่ที่ยาวนานถึง 4 ปี กล้อง EOS 5D Mark III ก็ได้ปรากฏตัวพร้อมความก้าวหน้าครั้งใหญ่ นอกเหนือจากการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานขั้นพื้นฐานแล้ว พลังในการถ่ายทอดภาพของ EOS 5D Mark III ยังได้รับการพัฒนาอย่างมากเช่นกัน และอาจมีคนจำนวนมากที่อยากทราบว่ากล้องรุ่นใหม่นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร บทสัมภาษณ์ต่อไปนี้เป็นการสัมภาษณ์นักพัฒนาคนสำคัญถึงความหลงใหลของพวกเขาที่มีต่อกล้องรุ่นนี้ บทความนี้เป็นบทความต่อเนื่อง [ตอนที่ 2] ที่ทุกคนรอคอย ซึ่งจะแนะนำความสามารถในการใช้งานระดับสูง และความท้าทายในการให้คำนิยามถึงพลังการถ่ายทอดภาพของกล้อง DSLR รุ่นใหม่ (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในเดือนพฤษภาคม 2012) (ผู้สัมภาษณ์: Ryosuke Takahashi/ ภาพโดย: Takehiro Kato)

หน้า: 1 2

(แถวบน จากซ้าย)
Noriaki Tsunai, กลุ่มผลิตภัณฑ์ภาพถ่าย/ Makoto Kameyama, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Kentaro Midorikawa, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Shingo Nakano, ศูนย์พัฒนากล้อง
(แถวล่าง จากซ้าย)
Mie Ishii, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Masami Sugimori, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Keita Sato, ศูนย์การออกแบบ/ Hiromichi Sakamoto, ศูนย์พัฒนากล้อง

ความร่วมมือจากหลายฝ่ายเพื่อให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมประมาณ 100%

― มีการใช้ดีไซน์แบบใหม่สำหรับเพนทาปริซึมของช่องมองภาพใช่มั้ยครับ?

Nakano ในการทำให้ช่องมองภาพมีมุมมองที่ครอบคลุมประมาณ 100% จำเป็นต้องเพิ่มขนาดของปริซึมห้าเหลี่ยม เราจึงเริ่มดำเนินการออกแบบใหม่ตั้งแต่ต้น

A: เพนทาปริซึม
B: LCD โปร่งแสง
C: LED ผลึกเหลวโปร่งใส
D: หน้าจอโฟกัส
E: เซนเซอร์ตรวจจับแหล่งแสงสำหรับการโฟกัสอัตโนมัติ
F: LCD สำหรับแสดงข้อมูลในช่องมองภาพ
G: เลนส์ใกล้ตา
H: เซนเซอร์การวัดแสง

นอกจากส่วนประกอบแต่ละอย่างจะมีความแม่นยำสูงขึ้นแล้ว ยังได้มีการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในกระบวนการสร้างภาพถ่ายอีกด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้มีความพยายามที่จะรักษาความแม่นยำตลอดกระบวนการประกอบชิ้นส่วน

― การทำให้ช่องมองภาพมีมุมมองที่ครอบคลุม 100% น่าจะทำได้ยากใช่ไหมครับ?

Nakano การที่ช่องมองภาพจะมีมุมมองครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100% ลำพังแค่การเพิ่มความแม่นยำของส่วนประกอบต่างๆ เพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังเป็นไปไม่ได้อีกด้วยที่จะทำเพียงแค่เพิ่มขนาดของเพนทาปริซึม เราคงไม่สามารถทำได้ตามสเปคที่ตั้งไว้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากแผนกการผลิต

― หมายถึงความร่วมมือเพื่อขั้นตอนการผลิตที่มีเสถียรภาพหรือเปล่าครับ?

Nakano ประมาณนั้นครับ ถ้าชิ้นส่วนที่ปรับปรุงมีความแม่นยำไม่สม่ำเสมอกัน ก็จะไม่สามารถรักษามุมมองที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100% ไว้ได้ เราได้พัฒนาวิธีการพิเศษในการประกอบชิ้นส่วนที่ปรับปรุงใหม่เข้ากับช่องมองภาพ โดยที่ยังรักษาความแม่นยำไว้ได้ตลอดกระบวนการ

― ระบบออพติคอลของเลนส์ใกล้ตานี้มีการใช้เทคโนโลยีใหม่บ้างไหมครับ?

Nakano ระบบออพติคอลของเลนส์ใกล้ตาสำหรับ EOS 5D Mark II ใช้ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมสองชิ้นจากทั้งหมดสามชิ้น และได้เพิ่มจำนวนเป็นสี่ชิ้นใน EOS 5D Mark III ซึ่งเลนส์เหล่านี้ทั้งหมดเป็นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยดีไซน์เนอร์ที่มีความตั้งใจอย่างมาก และได้พยายามที่จะทำให้แน่ใจว่าช่องมองภาพมีความคมชัดสูง

― “ช่องมองภาพอัจฉริยะ” เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ใน EOS 7D หรือไม่?

Sakamoto ทุกรุ่นที่ติดตั้งระบบนี้จะใช้อุปกรณ์ต่างกัน สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้บน EOS 5D Mark III จะมีการพัฒนาการตอบสนองที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ EOS 7D

ช่องมองภาพอัจฉริยะได้ถูกนำมาใช้ในกล้อง EOS 5D Mark III โดยมีฟังก์ชั่นที่สามารถแสดงข้อมูล เช่น เส้นตาราง จุด AF และระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์ในช่องมองภาพ และยังได้พัฒนาการตอบสนองที่อุณหภูมิต่ำให้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ EOS 7D

ปัจจุบัน EOS 5D Mark III รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุด 6 ภาพ/วินาที อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ได้ถึงสเปคนี้?

Nakano ตัวเลขที่ระบุในสเปคสำหรับคุณสมบัตินี้ถือเป็นการสั่งสมความพยายามจากการทำงานในแต่ละด้าน ตัวอย่างเช่น ระบบกลไกจะใช้ระบบมอเตอร์คู่ ซึ่งแยกระบบชาร์จชัตเตอร์ออกจากระบบชาร์จกระจกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นอกจากนี้ EOS 5D Mark III ยังมาพร้อมกับกลไกลดการเคลื่อนของกระจก ทำให้การถ่ายภาพต่อเนื่องทำได้ดียิ่งขึ้นโดยลดการเคลื่อนของกระจกตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

ชัตเตอร์ของกล้อง EOS 5D Mark III ทนทานกว่าชัตเตอร์ที่พบในกล้องรุ่นก่อนหน้า เพราะมีถึง 150,000 วงจร เสียงชัตเตอร์ชัดกว่าที่เคยเพราะกลไกลดการเคลื่อนของกระจกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

― ระบบกลไกนี้แตกต่างจากที่ใช้ในกล้อง EOS-1D X ใช่มั้ย?

Nakano กลไกลดการเคลื่อนของกระจกหลักเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่เราใช้ระบบกลไกที่แตกต่างตามลักษณะของกล้องทั้งสองรุ่น ที่สำคัญที่สุด เราได้ทำการปรับเปลี่ยนตัวกลไกลดการเคลื่อนกระจกชิ้นรองของกล้อง EOS 5D Mark III อย่างมากมาย เราใช้กลไกที่พับกระจกชิ้นรองเพื่อทำให้การเคลื่อนกระจกง่ายขึ้น และด้วยระบบนี้ การเคลื่อนของกระจกจึงลดลงอย่างได้ผล

A: ระบบชาร์จชัตเตอร์
B: มอเตอร์ชาร์จชัตเตอร์
C: บาแรนเซอร์คู่
D: มอเตอร์ชาร์จกระจก
E: ระบบขับเคลื่อนกระจก
F: กระจกสะท้อนภาพหลัก
G: กลไกป้องกันการเคลื่อนของกระจกรอง

ในการลดการสั่นสะเทือนของกระจกบนกล้องฟูลเฟรมที่มีขนาดใหญ่และหนักนั้น เราได้สร้างกลไกลดการขับเคลื่อนไว้สำหรับกระจกหลักและกระจกรอง ไม่เพียงแต่จะช่วยลดการหน่วงเวลาลั่นชัตเตอร์เท่านั้น แต่ยังลดช่วงเวลาที่เส้นทางแสงจะถูกปิดกั้นโดยกระจกด้วยเช่นกัน จึงเพิ่มความแม่นยำในการโฟกัสมากขึ้น

― ผมรู้สึกว่าเสียงชัตเตอร์ชัดกว่าก่อน จริงหรือเปล่าครับ?

Nakano ตามที่ผมได้กล่าวไปข้างต้น โดยทั่วไปแล้ว มีสาเหตุมาจากกลไกลดการเคลื่อนของกระจกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่าเสียงการทำงานจะเบาลงทันทีนั้นจะส่งผลต่อเสียงการทำงานของชัตเตอร์ และหากมารวมกับเสียงกระแทกที่สร้างขึ้นมานั้นก็จะส่งผลอย่างมากเช่นกัน ในการกำหนดเสียงของชัตเตอร์ เราได้สร้างรูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนที่เป็นรายละเอียด เช่น การเปลี่ยนวัสดุของชิ้นส่วนกลไกการทำงาน

― คุณพอจะอธิบายได้มั้ยครับ ว่าระบบทำงานอย่างไรในโหมดการถ่ายภาพแบบเงียบรูปแบบใหม่นี้่?

Nakano โดยทั่วไปแล้ว แรงขับเคลื่อนกระจกจะถูกส่งมาจากโหลดของสปริง แต่ในโหมดการถ่ายภาพแบบเงียบ กระจกจะค่อยๆ เลื่อนขึ้นลงโดยแรงของกระจกแทนที่จะมาจากโหลดของสปริง กระจกจะถูกขับเคลื่อนโดยการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนในระหว่างที่ใช้ลูกเบี้ยวเพื่อทำให้แน่ใจว่าจะมีเสียงเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการนี้น้อยที่สุด

― ปัจจุบัน EOS 5D Mark III รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่อง ผมจะพูดได้ไหมครับว่า ระบบกลไกนี้มีการพัฒนาที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับ EOS-1D X ซึ่งรองรับเฉพาะการถ่ายภาพเดี่ยวแบบเงียบ?

Nakano คงไม่อาจพูดว่าอย่างนั้นได้ซะทีเดียวครับ คงต้องบอกว่า ดีไซน์เชิงกลไกของกล้อง EOS 5D Mark III ก่อนนี้จำเป็นต้องปรับให้เรียบง่ายขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สามารถถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเงียบได้ ขณะที่กล้อง EOS-1D X ต้องมีระดับความทนทานสูง จึงมีดีไซน์ระบบกลไกที่ซับซ้อนกว่า วิธีที่เราใช้พัฒนาจึงต่างกันสำหรับกล้องทั้งสองรุ่นนี้ และโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเงียบสำหรับกล้อง EOS 5D Mark III สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างกระบวนการดังกล่าว

ปัจจุบันมีการถ่ายภาพต่อเนื่องแบบเงียบบนกล้อง EOS 5D Mark III แล้ว คุณสามารถตั้งค่าจากเมนูโหมดขับเคลื่อน

― จากแง่มุมของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งใดเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนให้เกิดความสำเร็จเรื่อง 6 ภาพ/วินาที?

Sakamoto แน่นอนว่าเซนเซอร์ CMOS และความสามารถในการประมวลผลภาพของ DIGIC 5+ มีส่วนด้วยเช่นกัน แต่ปัจจัยที่ซ่อนเร้นสำคัญคือประสิทธิภาพของกำลังไฟที่ได้รับการปรับปรุงดีขึ้น กระบวนการอ่านข้อมูลผ่านแปดช่องทางและการประมวลผลภาพตามข้อมูลจะใช้กำลังไฟปริมาณมาก ดังนั้น จุดสำคัญคือจะจัดการกำลังไฟอย่างไรเพื่อลดการสิ้นเปลืองไฟในกระบวนการนี้

― EOS 5D Mark III มาพร้อมกับช่องใส่การ์ดแบบคู่ ทำไมจึงใช้การ์ด CF ร่วมกับการ์ด SD?

Nakano นับตั้งแต่รุ่น EOS 5D Mark II เราก็ได้รับเสียงเรียกร้องเข้ามามากให้เราออกแบบช่องใส่การ์ดแบบคู่เข้าไปด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงต้องการที่จะทำให้สิ่งนี้ปรากฏอยู่ในกล้องรุ่นใหม่อย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีไอเดียเรื่องการใช้ช่องใส่การ์ด CF สองอันคู่กัน แต่การทำเช่นนี้จะส่งผลให้ตัวกล้องมีขนาดเทอะทะมากขึ้น จากการพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่าปัจจุบัน การ์ดหน่วยความจำ SD มีความจุมากขึ้นและมีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น เราจึงได้ตัดสินใจใช้ช่องใส่การ์ดแบบคู่ CF + SD

การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งของ EOS 5D Mark III คือตำแหน่งและการทำงานของปุ่มขยาย คุณช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของปุ่มนี้ได้ไหม?

Tsunai ทีมของเรามีข้อโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างมาก ส่วนนี้เป็นการพัฒนาร่วมกับทีม EOS-1D X และเราได้ชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียของการเปลี่ยนแปลงหน้าที่การทำงานของปุ่ม เหตุผลของการย้ายตำแหน่งปุ่มขยาย คือการตัดสินใจที่จะรวมปุ่มควบคุมการดูภาพทั้งหมดให้อยู่ทางด้านซ้าย เพื่อให้การสั่งงานในระหว่างการเรียกดูแบบกลุ่มและการจัดเรียงภาพทำได้ดียิ่งขึ้น จากข้อพิจารณานี้ เราได้ข้อสรุปออกมาเป็นเลย์เอาต์ซึ่งใช้มือขวาในการเลื่อนภาพด้วยล้อควบคุมหลัก ในขณะที่สามารถใช้มือซ้ายให้คะแนนและลบภาพได้ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดอีกข้อหนึ่งของเลย์เอาต์ใหม่นี้คือ เมื่อคุณตรวจดูภาพทันทีที่ถ่ายเสร็จ คุณจะสามารถขยายภาพได้ทันทีเพื่อตรวจสอบความแม่นยำของจุดโฟกัส เราจึงได้ข้อสรุปหลังจากพิจารณาวิธีที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการค้นหาภาพและการสั่งการปุ่มควบคุมต่างๆ

A: ปุ่มเปลี่ยนโหมดการถ่าย Live View/Movie และปุ่ม เริ่ม/หยุด
B: ปุ่ม Quick Control
C: ทัชแพด
D: สวิตช์ล็อคมัลติฟังก์ชั่น
E: ปุ่มแสดงภาพสร้างสรรค์/ทีละสองภาพ
F: ปุ่มให้คะแนน
G: ปุ่มขยาย/ลดขนาดภาพ

มีการปรับโฉมเลย์เอาต์ปุ่มกดบนกล้อง EOS 5D Mark III ปุ่มฟังก์ชั่นเปิดดูภาพอยู่ทางด้านซ้าย ขณะที่ปุ่มสำหรับฟังก์ชั่นถ่ายภาพจัดวางอยู่ทางด้านขวา

HDR และการถ่ายภาพซ้อน

― ผมรู้สึกประทับใจกับการสร้างภาพถ่ายที่แม่นยำมากขึ้นเมื่อเทียบกับ EOS 5D Mark II นี่เป็นเพราะความแตกต่างของจำนวนพิกเซลเท่านั้นหรือเปล่า?

Sugimori ผมคงไม่พูดว่าเป็นเพราะจำนวนพิกเซลเท่านั้น เหตุผลสำคัญอีกข้อหนึ่งคือเราได้ปรับปรุงความคมชัดให้เหมาะสมที่สุด หากเพียงแค่เพิ่มจำนวนพิกเซล ภาพก็จะไม่คมชัดในกรณีที่มีเส้นบางๆ อยู่ในภาพ ในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เราได้ทำการปรับเปลี่ยนวิธีการสร้างภาพเล็กน้อยเพื่อทำให้ความละเอียดคมชัดของภาพที่ได้รับนั้นสมดุลกับจำนวนพิกเซลเป็นอย่างดี

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา