ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต: การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพชื่นชอบ

2017-07-27
4
21.77 k
ในบทความนี้:

การตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f ) ที่ใช้คือสิ่งสำคัญที่ช่างภาพมืออาชีพตัดสินใจเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต ต่อไปนี้คือค่า f 3 รูปแบบที่นิยมใช้ในสถานการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างกัน ควรจำรูปแบบเหล่านี้ไว้เพื่อให้สามารถถ่ายภาพที่มีคุณภาพดุจมืออาชีพได้ (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

ภาพพอร์ตเทรต ถ่ายด้วย EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ

 

การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่มีประโยชน์

ภาพพอร์ตเทรตที่ถ่ายด้วยค่า f/2.8 ที่ 85 มม. โดยใช้กล้อง EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

 

*ขั้นตอนการถ่ายภาพ
1: กำหนดเป้าหมายในการถ่ายภาพ รวมถึงองค์ประกอบภาพในฉากหลัง
2: กำหนดทางยาวโฟกัสของเลนส์
3: ตั้งค่าโหมดเป็น Aperture-Priority AE
4: เปลี่ยนค่า f ให้เหมาะกับเป้าหมายในการถ่ายภาพ

โบเก้ในฉากหลังเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการถ่ายภาพผู้คน เนื่องจากการเปิดรูรับแสงเต็มที่จะช่วยขับเน้นให้ตัวแบบดูโดดเด่นยิ่งขึ้น แต่ก็อาจทำให้ภาพเบลอมากขึ้นด้วย ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้ไม่สามารถเก็บรายละเอียดที่ต้องการได้

ต่อไปนี้ เราจะแนะนำค่า f ทั้ง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพนิยมใช้ เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรต เมื่อเริ่มต้นด้วยค่า f เหล่านี้ คุณก็จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาวะการถ่ายภาพและเป้าหมายในการถ่ายภาพได้

 

1. f/2.8 - สำหรับสร้างโบเก้ที่นุ่มนวลมากในฉากหลัง ซึ่งทำให้ตัวแบบดูโดดเด่น

ภาพพอร์ตเทรตที่มีโบเก้นุ่มนวลที่ค่า f/2.8 ถ่ายด้วย EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

การใช้ค่า f/2.8 จะทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในขณะที่องค์ประกอบในฉากหลังเบลอ หากสามารถใช้เลนส์ที่มีค่า f น้อยได้ ควรเริ่มลองใช้ค่า f/2.8 เป็นแนวทางคร่าวๆ เคล็ดลับพิเศษ: ค่ารูรับแสงนี้ยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการขับเน้นสีหน้าในการถ่ายภาพระยะใกล้

 

2. f/5.6 - สำหรับเอฟเฟกต์โบเก้พอประมาณในฉากหลัง

ภาพพอร์ตเทรตระยะใกล้ที่ f/5.6 โบเก้ไม่ดูนุ่มนวลจนเกินไปและเหมาะกับทางยาวโฟกัส

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ f/5.6/ 1/160 วินาที/ EV±0/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อใช้กลุ่มเลนส์เทเลโฟโต้หรือในฉากที่คุณถ่ายภาพในระยะใกล้ จะพบว่าค่า f/2.8 สร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เด่นชัดเกินไป ควรใช้ f/5.6 ในสถานการณ์เช่นนี้

 

3. f/11 - สำหรับภาพถ่ายโดยรวมที่คมชัดเมื่อใช้โฟกัสแบบชัดลึก
ภาพพอร์ตเทรตที่มุมกว้างพร้อมโฟกัสแบบชัดลึก ถ่ายที่ค่า f/11 เพื่อความคมชัด

EOS 760D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 20 มม. (เทียบเท่า 12.5 มม.)/ f/11/ 1/80 วินาที/ EV±0/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ในฉากที่คุณต้องการใส่ส่วนที่เหลือของฉากไว้ในเฟรม และถ่ายภาพทุกสิ่งรวมถึงฉากหลังให้ดูคมชัด (เช่น ทำการโฟกัสแบบชัดลึก) ควรลองใช้ค่า f/8 ถึง f/11 เช่น ใช้ f/8 เป็นแนวทางหากต้องการถ่ายทอดรายละเอียดของเสื้อผ้าสำหรับการถ่ายภาพแฟชั่นในสตูดิโอได้อย่างคมชัด ซึ่งจะเหมาะกับฉากที่คุณต้องการให้เห็นฉากหลังชัดเจนอีกด้วย 

 

เคล็ดลับ: การถ่ายภาพพอร์ตเทรตนิยมใช้ระยะโฟกัสที่ 85 มม.

ถ่ายที่ระยะ 85 มม. (ทางยาวโฟกัสที่นิยมสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต)

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.2L USM/ FL: 85 มม./ f/2.8/ 1/125 วินาที/ EV±0/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

สิ่งสำคัญสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตคือเลนส์เทเลโฟโต้ ซึ่งทำให้การสร้างโบเก้ในฉากหลังเป็นเรื่องกล้วยๆ จึงสามารถถ่ายภาพบุคคลจากระยะไกลได้ง่ายและยังสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ได้ไม่ยาก หากใช้กล้อง EOS ที่มีเซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรม ควรใช้เลนส์ที่มีระยะประมาณ 80 ถึง 100 มม. ส่วนกล้อง EOS ที่มีเซนเซอร์ขนาด APS-C ควรใช้เลนส์ที่มีระยะประมาณ 50 ถึง 60 มม.

นอกจากนี้ โปรดทราบว่าฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์ซูมมาตรฐานสำหรับกล้อง APS-C คือ 55 มม. หรือ 88 มม. ซึ่งเทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เริ่มต้นด้วยการจัดองค์ประกอบภาพที่ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์ซูมมาตรฐานเพื่อให้คุ้นเคยกับระยะห่างในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต หากมีฉากเป็นพื้นที่เปิดโล่งอยู่ด้านหลังตัวแบบ คุณสามารถถ่ายภาพให้มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่นุ่มนวลมากได้เช่นกัน

 

EF85mm f/1.8 USM: เลนส์เดี่ยวรุ่นสำคัญสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

 

EF85mm f/1.8 USM

EF85mm f/1.8 USM เป็นเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางที่มีค่า f น้อยมาก หรือมีรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8 จึงเป็นเลนส์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตอย่างมาก เพราะทำให้สามารถจัดองค์ประกอบภาพโดยมีระยะห่างที่เหมาะสมจากตัวแบบได้ และยังสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่มีขนาดใหญ่และนุ่มนวลในฉากหลังได้อีกด้วย

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต:
คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: วิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่น่าประทับใจโดยใช้แสงย้อนจากหน้าต่าง
การควบคุมแสงเพื่อภาพถ่ายพอร์ตเทรตที่น่าประทับใจ
การถ่ายภาพพอร์ตเทรตด้วย Slow Sync Flash
4 เคล็ดลับสำหรับภาพถ่ายครอบครัวสุขสันต์

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา