ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 2): การจัดองค์ประกอบแบบกึ่งกลางและตามเส้นแนวทแยงมุม

2016-03-31
6
6.65 k
ในบทความนี้:

เมื่อเริ่มต้นถ่ายภาพครั้งแรก การฝึกฝนหลักพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพคือเคล็ดลับในการพัฒนาฝีมือการถ่ายภาพของคุณ ต่อเนื่องจากการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนและการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสี่ส่วนที่ผมได้อธิบายไปแล้วในตอนที่ 1 ตอนนี้เราจะมาลองฝึกฝนการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางและการจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมกัน ซึ่งผมจะอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างภาพต่างๆ ประกอบ (เรื่องโดย studio9)

การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง: ควรใช้อย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอดี

ในบรรดาการจัดองค์ประกอบภาพ 4 แบบที่ผู้เริ่มหัดใช้งานกล้องควรริเริ่มศึกษา การจัดองค์ประกอบภาพแบบที่สามเป็นวิธีที่อาจทำให้ผู้เริ่มต้นถ่ายภาพรู้สึกท้อถอยได้ นั่นก็คือ การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางที่ (ไม่ค่อย) รู้จักกันดีนั่นเอง ตามที่ชื่อระบุไว้ ตัวแบบจะถูกจัดวางที่กึ่งกลางภาพในองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง

การจัดองค์ประกอบภาพชนิดนี้ง่ายมากก็จริง แต่การจะนำมาใช้เพื่อถ่ายภาพให้ออกมาสวยงามนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ภาพนกพิราบที่ผมใช้อธิบายการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วนในตอนที่ 1 คือตัวอย่างที่แสดงถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางกลายเป็นเรื่องยากคือ การขยับเส้นนำสายตาออกจากกึ่งกลางภาพ ดังนั้น เมื่อวางตัวแบบหลักไว้ที่กึ่งกลางภาพ ช่างภาพยังไม่แน่ใจว่าควรจะขยับเส้นนำสายตาไปไว้ที่ใดต่อไปเมื่อต้องถ่ายภาพ ภาพที่ออกมาจึงเหลือพื้นที่ว่างในบริเวณรอบๆ ที่ไม่ได้ใช้งานมากมาย

ดังนั้น หากต้องการใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง คุณจำเป็นต้องใช้วิธีการที่ง่าย เพื่อให้ไม่ให้เส้นนำสายตาของคุณขยับออกจากจุดกึ่งกลาง

เราลองมาดูตัวอย่างกัน

ในภาพนี้ ผมใช้วิธีจับภาพตัวแบบตรงกึ่งกลางเลย การทำเช่นนี้จะช่วยไม่ให้คุณสับสนว่าจะควรจะจับภาพตรงไหนดี

นอกจากนี้ การจับภาพด้วยวิธีนี้ยังช่วยรักษาความสมมาตรในแนวตั้งและแนวนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญคือ คุณต้องให้ตัวแบบกินพื้นที่ของภาพทั้งหมด

เนื่องจากเรากำลังใช้การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง ดังนั้นการวางตัวแบบหลักไว้ตรงกลางภาพจึงไม่ทำให้ภาพดูแปลกแต่อย่างใด

เรายังอาจใช้เอฟเฟ็กต์โบเก้ในลักษณะนี้เพื่อช่วยนำสายตาผู้ชมไปสู่กึ่งกลางภาพ อย่างไรก็ตาม ภาพนี้มีจุดกึ่งกลางคือดอกลิลลี่

แม้ว่าการใช้เอฟเฟ็กต์โบเก้ในโฟร์กราวด์รอบๆ ตัวแบบหลักถือเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยสร้างเส้นนำสายตาสู่กึ่งกลางภาพ แต่บางครั้งอาจมีข้อจำกัดคือ สามารถนำไปใช้ได้กับฉากบางฉากเท่านั้น

ภาพทั้งหมดที่ผมถ่ายนี้ผมใช้วิธีถ่ายภาพอย่างง่ายๆ ซึ่งแม้แต่ผู้เริ่มหัดถ่ายภาพยังสามารถใช้ประโยชน์จากการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางที่แสนยากนี้ได้

อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่าในการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางนั้น หากตัวแบบหลักของภาพไม่สร้างความน่าสนใจในระดับหนึ่งแล้ว ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจไม่ได้ตามมาตรฐานไม่ว่าจะถ่ายภาพได้ดีเพียงใดก็ตาม

การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม: สื่อถึงการเคลื่อนไหว

พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพแบบสุดท้ายที่ผมจะแนะนำในบทความนี้คือ การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม ขณะที่การจัดองค์ประกอบภาพทั้ง 3 แบบเหมาะสำหรับใช้กับตัวแบบที่วางในแนวตั้งหรือแนวนอน การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมเหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่วางตัวแบบในแนวเส้นทแยงมุม

การวางตัวแบบในแนวทแยงมุมจะช่วยทำให้ภาพดูมีมิติความลึก และยังสื่อถึงความเคลื่อนไหวได้ดีอีกด้วย เราลองมาใช้เทคนิคต่างๆ สำหรับการวางตัวแบบในแนวทแยงมุมกัน เริ่มจากการลองหาตัวแบบที่อยู่มุมใดมุมหนึ่ง จากนั้นเปลี่ยนมุมถ่ายภาพ หรือแม้แต่เอียงกล้อง

ในตัวอย่างนี้ ผมถ่ายภาพชะง่อนผาที่ยื่นออกมาสู่ทะเล โดยมีฉากหลังคือทะเลอันเงียบสงบ และฉากหน้าคือชะง่อนผาที่ยื่นโผล่ออกมาอย่างมีพลัง (ซึ่งผมเลือกวางไว้ที่ส่วนบนขวาของภาพ) ภาพนี้สื่อถึงความเคลื่อนไหว ขณะที่รูปลักษณ์ของชะง่อนผาให้ความรู้สึกถึงความหยาบและสมบุกสมบันเล็กน้อย

ต้นซากุระในภาพนี้อาจดูไม่มีสิ่งใดพิเศษนัก แต่การวางพื้นท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าใสไว้เหนือเส้นทแยงมุม ทอดยาวไปถึงส่วนบนซ้ายของภาพจะช่วยสร้างความรู้สึกว่าต้นซากุระกำลังแผ่ขยายยาวเหยียดขึ้นไปถึงท้องฟ้า

ในภาพนี้ ผมถ่ายภาพขวดที่เปล่งประกายบนเส้นทแยงมุมตัดกับพื้นหลังสีดำ คุณจะเห็นได้ว่าวิธีนี้จะช่วยให้ภาพมีมิติมากขึ้น
นอกจากนี้ ผมวางขวดโดยใช้กฎสี่ส่วน ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกมั่นคงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ผมวางบันไดหินไปตามแนวเพื่อนำสายตาผู้ชมไปสู่ศาลเจ้าที่มุมด้านซ้าย และยังสร้างภาพให้ดูมีมิติความลึกอีกด้วย
นอกจากนี้ ผมยังนำกฎสี่ส่วนมาใช้กับภาพนี้ โดยการวางศาลเจ้าไว้ตรงจุดตัดของเส้นตาราง

ด้วยวิธีนี้ จะทำให้สามารถนำการจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมมาใช้เพื่อช่วยทำให้ตัวแบบที่วางไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งดูมีมิติและสื่อถึงความเคลื่อนไหว เพื่อให้ภาพออกมาสวยงามมากยิ่งขึ้น คุณสามารถใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุมร่วมกับกฎสามส่วนหรือกฎสี่ส่วนได้

สรุปหลักพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ 4 แบบ

ในบทความนี้ ซึ่งรวมถึงบทความในตอนที่ 1 ผมได้อธิบายถึงหลักพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ 4 แบบ
เรามาสรุปกันอีกครั้ง หลักพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ 4 แบบมีดังนี้

・การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน
・การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสี่ส่วน
・การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง
・การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม

เมื่อคุณเริ่มต้นถ่ายภาพครั้งแรก ควรศึกษาเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพต่างๆ ทั้งหมดตามลำดับที่ระบุไว้นี้ และเมื่อคุณเริ่มใช้งานจนคุ้นเคย คุณจะสามารถใช้การจัดองค์ประกอบภาพเพื่อช่วยในการถ่ายภาพได้อย่างเหมาะสมโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน หรือตามเส้นแนวทแยงมุม

คุณอาจเกิดความสงสัยว่าภาพถ่ายที่ดีจำเป็นจะต้องใช้การจัดองค์ประกอบภาพประเภทต่างๆ ตามข้างต้น ซึ่งนั่นไม่จริงเลย ในท้ายที่สุด หากคุณรู้สึกดีกับภาพที่คุณมองเห็นผ่านช่องมองภาพหรือจอ LCD แล้วล่ะก็ นั่นก็อาจนับว่าเป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ถูกต้องได้

ลองนึกถึงพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพที่ผมได้อธิบายในบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายภาพที่ทำให้คุณเกิดความคิดว่า "ภาพนี้ยอดเยี่ยมมาก" เพราะบางครั้งการได้ทดลองทำสิ่งที่แหวกจากกฎเกณฑ์แบบเดิมๆ ก็สร้างความน่าสนใจได้

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น คุณควรทำความคุ้นเคยกับพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพข้างต้น ถ่ายภาพให้เยอะๆ และลองค้นหาสไตล์การถ่ายภาพของตัวเองดูก่อนนะครับ

 

 

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา