ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ถ่ายภาพได้ดียิ่งขึ้นด้วย 3 เคล็ดลับง่ายๆ !

2019-10-14
3
11.12 k
ในบทความนี้:

คุณได้เริ่มต้นถ่ายภาพแล้วแต่ดูเหมือนจะไม่สามารถพัฒนาทักษะและฝีมือในการถ่ายภาพให้ออกมายอดเยี่ยมโดยไม่ต้องอาศัยพรสวรรค์ด้านการถ่ายภาพได้ แต่ก่อนที่คุณจะล้มเลิกความตั้งใจ ลองนำ 3 เคล็ดลับง่ายๆ ที่นำเสนอในบทความนี้ไปใช้ เรารับประกันว่าคุณจะไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่า f หรือความเร็วชัตเตอร์อีกต่อไป (บรรณาธิการโดย: studio9)

ประตูโทริอิที่แสดงองค์ประกอบภาพ

 

1. จัดทำคอลเลคชันภาพถ่ายที่คุณชื่นชอบ

คอลเลคชันภาพที่คัดเลือก

ก่อนที่จะเริ่ม ให้ลองนึกและหาว่าจริงๆ แล้วอะไรบ้างที่ทำให้ภาพออกมา “ดูดี” เพราะหากคุณเริ่มต้นถ่ายภาพโดยขาดไอเดียที่ชัดเจนแล้ว คุณจะไม่มีเป้าหมายในการทำงาน

 

ขั้นตอนที่ 1: รวบรวมคอลเลคชันภาพถ่ายที่คุณชื่นชอบ

รวบรวมภาพถ่ายของช่างภาพที่คุณชื่นชอบ หรือแม้แต่ภาพถ่ายจากนิตยสารหรือเว็บไซต์ที่สะดุดตาคุณ ในตอนแรก ควรตั้งเป้าที่จะรวบรวมให้ได้อย่างน้อย 50 ภาพ

หมั่นอัพเดทคอลเลคชันนี้อยู่เสมอๆ ด้วยการนำภาพใหม่ที่คุณชื่นชอบเข้ามาใส่แทน 50 ภาพแรก เมื่อทำเช่นนี้ ภาพโปรด 50 ภาพของคุณจะสะท้อนความชอบของคุณมากขึ้น และแนวคิดก่อนหน้าที่ยังไม่ชัดเจนว่าภาพที่ “ดูดี” เป็นอย่างไรจะเริ่มก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา

 

ขั้นตอนที่ 2: รวบรวมภาพถ่ายของคุณเองให้ครบ 50 ภาพ

ให้คิดว่านี่คือการสร้างแฟ้มผลงานของคุณ

ในตอนนี้คุณจะมีภาพถ่ายอยู่สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือภาพที่สะท้อนว่าภาพในอุดมคติของคุณเป็นอย่างไร อีกกลุ่มหนึ่งคือภาพที่สะท้อนระดับทักษะการถ่ายภาพของคุณ คุณจะเห็นความแตกต่างระหว่างภาพสองกลุ่มนี้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้คุณระบุได้ว่าต้องพัฒนาทักษะในด้านใดเพิ่ม

แทนที่ภาพใน “แฟ้มผลงาน” นี้ ด้วยภาพใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมอยู่เสมอ ในขณะที่ทักษะของคุณกำลังพัฒนา ภาพเหล่านี้จะมีความใกล้เคียงกับภาพโปรด 50 ภาพของคุณที่สะสมไว้ในขั้นตอนที่ 1 มากขึ้นเรื่อยๆ

 

2. มองตัวแบบและสิ่งที่อยู่รายล้อมตัวแบบให้เป็นองค์ประกอบเดียวกัน

เมื่อคุณเริ่มต้นถ่ายภาพครั้งแรก คุณอาจจะเพลิดเพลินไปกับการโฟกัสตัวแบบและมองข้ามสิ่งต่างๆ ที่รายล้อมตัวแบบได้ง่าย แต่ทว่า ภาพถ่ายนั้นไม่ได้มีแต่ตัวแบบเพียงอย่างเดียว คุณจะต้องพิจารณาตัวแบบควบคู่ไปกับสิ่งที่รายล้อมตัวแบบด้วย

เมื่อคุณพบตัวแบบที่ต้องการแล้ว ลองใช้เวลาตรวจสอบบริเวณรอบๆ และตัดสินใจว่าควรถ่ายตัวแบบนั้นร่วมกับสิ่งใด หรือมีสิ่งใดที่คุณควรตัดออกจากในภาพบ้าง วิธีนี้จะช่วยให้องค์ประกอบส่วนต่างๆ ภายในภาพมีความกลมกลืนกันมากขึ้น

มีสถานการณ์การถ่ายภาพที่แตกต่างกันอยู่มากมาย แต่คุณสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการใช้องค์ประกอบภาพต่อไปนี้


i) ใช้กฎสามส่วนร่วมกับเส้นทแยงมุม

เมื่อคุณพบตัวแบบหลักที่ต้องการ (สิ่งที่คุณต้องการถ่ายมากที่สุด) แล้ว ลองจัดวางองค์ประกอบภาพให้เกิดเส้นในแนวทแยงมุมกับตัวแบบรอง (สิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายร่วมด้วย) รูปแบบนี้คือการจัดองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุม และคุณสามารถนำไปใช้ร่วมกับกฎสามส่วน

วาฬออร์กาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

วาฬออร์กา (ตัวแบบหลัก) ถูกจัดวางในแนวทแยงมุมกับภาพเงาดำของพ่อแม่ลูก (ตัวแบบรอง)

 

มาการองและถ้วยชา

เนื่องจากจานที่มุมซ้ายล่างนั้นมีลักษณะยาวและแคบ ผมจึงวางไว้ในแนวทแยงมุมเช่นเดียวกัน และพยายามที่จะจัดวางไว้ในแนวทแยงมุมกับถ้วยชา

 

ii) สร้างเส้นแนวทแยงมุมกับฉากที่อยู่รอบๆ

หากคุณมีเพียงตัวแบบเดียว คุณสามารถสร้างเส้นแนวทเแยงมุมกับฉากที่อยู่รอบๆ ได้

ประตูโทริอิในองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม

การวางส่วนของแนวเส้นที่เรียกว่า “จุดรวมสายตา” ไว้ที่จุดตัดของเส้นตารางในกฎสามส่วน จะทำให้ดูราวกับว่าฉากที่อยู่รอบๆ นั้นถูกดึงไปยังจุดดังกล่าว ลองถ่ายภาพในมุมกว้างให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ภาพออกมาสวยงาม

 

ยีราฟและเงา

การใช้แสงเงาเพื่อสร้างแนวเส้นทแยงมุมนับว่าเป็นไอเดียที่ดีมากเช่นเดียวกัน!


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพได้ที่:
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (1): เส้นนำสายตา จังหวะที่ไม่คาดคิด และการตัดส่วนเกิน
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (2): “รูปแบบและจังหวะ” และ “เส้นโค้งรูปตัว S”

 

3. ขยับเข้าใกล้อีกนิด

เมื่อคุณเริ่มถ่ายภาพครั้งแรก บางครั้งคุณอาจไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องระยะห่างระหว่างกล้อง (ทางยาวโฟกัสของเลนส์) กับตัวแบบได้ หรือไม่แน่ใจว่าคุณควรอยู่ห่างออกไปเท่าใดขณะถ่ายภาพ


i) ขยับเข้าไปใกล้ๆ และถ่ายภาพขณะถอยห่างจากตัวแบบ

การที่คุณเพียงแค่ขยับเข้าใกล้ตัวแบบอีกนิดก็สามารถเปลี่ยนอารมณ์ของภาพได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตัวแบบอยู่ห่างจากคุณเพียงไม่กี่เมตร เว้นแต่ว่าคุณจะถ่ายภาพตัวแบบที่อยู่ห่างจากคุณหลายร้อยเมตรจริงๆ

ลองดูภาพด้านล่าง ซึ่งถ่ายที่ระยะห่างต่างๆ กันจากโคนของต้นไม้ จะเห็นได้ว่าภาพที่ถ่ายจากระยะ 20 ซม. ดูแตกต่างจากภาพที่ระยะ 1 ม. เป็นอย่างมาก

ถ่ายที่ระยะห่าง 20 ซม.

ถ่ายจากโคนต้นไม้ในมุมต่ำ

ถ่ายที่ระยะห่าง 100 ซม.

ถ่ายจากโคนต้นไม้ในมุมต่ำ ต้นไม้ดูมีขนาดเล็กกว่า

อย่างไรก็ดี คนส่วนใหญ่มักไม่เข้าใกล้มากขนาดนี้ และมักจะไม่ทำเลยหากไม่คุ้นกับการใช้วิธีนี้มาก่อน นี่เป็นสิ่งที่คุณต้องใช้ความพยายามในการลองทำดู

เคล็ดลับ: พยายามเข้าไปให้ใกล้จนตัวแบบออกไปอยู่นอกเฟรม จากนั้นจึงถ่ายภาพในขณะที่คุณกำลังถอยออกมา

 

ii) ยึดเลนส์ซูมไว้กับที่ด้วยเทปกาว

เลนส์ซูมเป็นเลนส์ที่ใช้งานสะดวก แต่หากช่างภาพใช้บ่อยเกินไป อาจทำให้ติดนิสัยใช้การซูมเพื่อถ่ายภาพโคลสอัพ แทนที่จะก้าวเข้าไปให้ใกล้ตัวแบบขึ้นอีกก้าวหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้ระยะมุมกว้างของเลนส์ซูมและ “ขยาย” ขนาดของตัวแบบด้วยการขยับเข้าไปให้ใกล้ขึ้น มุมถ่ายภาพใหม่นี้จะทำให้ได้ภาพที่น่าประทับใจมากกว่าการที่คุณยืนอยู่กับที่แล้วซูมเข้าไป 

วิธีการแก้นิสัยนี้ที่ผมมักจะแนะนำคือ ให้ฝึกถ่ายภาพโดยใช้เทปกาวยึดวงแหวนซูมไว้ จะเป็นการบังคับให้คุณใช้เลนส์ซูมเหมือนเลนส์เดี่ยว และทำให้คุณต้องเดินหน้าหรือถอยหลังเพื่อให้ได้เฟรมภาพที่ต้องการ (คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ 3 โจทย์ท้าทายที่ดูเหมือนง่าย แต่ยกระดับทักษะการถ่ายภาพของคุณได้)

กล้องที่วงแหวนซูมถูกยึดไว้ด้วยเทปกาวที่ 50 มม.

เลนส์นี้ถูกยึดไว้ที่ตำแหน่ง 50 มม. ด้วยเทปกาวสีดำ เลือกใช้เทปกาวที่ทิ้งคราบไว้น้อยที่สุดเมื่อแกะออก เช่น กระดาษกาวหรือเทป Permacel 

หากคุณใช้เลนส์คิท 18-55 มม. คุณอาจลองใช้ทางยาวโฟกัสในแบบเลนส์เดี่ยวซึ่งนิยมใช้กันอยู่สามแบบที่ 24 มม., 35 มม. และ 50 มม. ใครจะรู้ คุณอาจจะตกหลุมรักทางยาวโฟกัสแบบใดแบบหนึ่งแล้วซื้อเลนส์เดี่ยวมาใช้ในที่สุด!

 

สรุป

การจะพัฒนาทักษะในการถ่ายภาพของคุณให้ได้อีกระดับนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่การฝึกฝน แต่เป็นการฝึกฝนด้วยความตั้งใจอย่างหนัก เคล็ดลับสามข้อที่กล่าวไปเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น! เราหวังว่าคุณจะได้เห็นสิ่งต่างๆ จากมุมมองใหม่เมื่อได้นำเคล็ดลับเหล่านี้ไปลองใช้ หมั่นเรียนรู้ หาแรงบันดาลใจ และขอให้คุณมีความสุขกับการถ่ายภาพ!

 

เคล็บลับเหล่านี้ช่วยให้คุณถ่ายภาพที่ไม่คิดว่าจะถ่ายได้มาก่อนใช่หรือไม่ เราอยากรู้! เล่าให้เราฟังได้ที่ My Canon Story เรื่องราวของคุณอาจเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้ด้วย!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา