ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายทั้งโลกใต้น้ำและบนบกไว้ในภาพเดียวกัน

2019-10-28
3
10.05 k
ในบทความนี้:

ภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์นั้นน่าตื่นตาตื่นใจเนื่องจากคุณจะเห็นทั้งสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและเหนือน้ำได้ในเวลาเดียวกัน มาดูวิธีการถ่ายภาพในท้องทะเลให้ได้เช่นภาพนี้กัน (เรื่องโดย: Minefuyu Yamashita, Digital Camera Magazine)

ภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์ที่มีปลาและปะการัง

EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/6.3, 1/1,600 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
อุปกรณ์เพิ่มเติม: เคสกล้องสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำ

โลกที่แตกต่างกันสองใบเผยโฉมให้เห็นโดยมีผิวน้ำเป็นเส้นพรมแดน ผมพยายามถ่ายฉากอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ให้เป็นภาพทิวทัศน์ภาพเดียวโดยให้กล้องจมลงไปครึ่งหนึ่งในผืนน้ำของเกาะมิยาโคจิมะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นเกาะในโอกินาวาที่มีชื่อเสียงด้านปะการังและชายหาดที่สวยงาม และปลาที่ว่ายน้ำอยู่หน้ากล้องคือ ปลาสลิดหินม้าลาย

 

วิธีการถ่ายภาพนี้

ภาพตัวอย่างแสดงเบื้องหลังสถานการณ์การถ่ายภาพ

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละขั้นตอนได้โดยคลิกที่ลิงก์หรือเลื่อนลงไปด้านล่าง)

ขั้นตอนที่ 1: มองหาตัวแบบบนพื้นทรายที่สว่างในบริเวณน้ำตื้น
ขั้นตอนที่ 2: จัดเฟรมภาพให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 3: ใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง

อุปกรณ์ที่ต้องใช้: เคสกล้องสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำ
ในการถ่ายภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์นั้น ตัวกล้องครึ่งหนึ่งจะจมอยู่ใต้น้ำ ในขณะที่อีกครึ่งจะอยู่เหนือน้ำ เคสกล้องที่ดีและเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น (อ่านวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ได้ที่: 3 ข้อควรระวังสำหรับการดูแลอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำของคุณ)

 

ขั้นตอนที่ 1: มองหาตัวแบบบนพื้นทรายที่สว่างในบริเวณน้ำตื้น

หาพื้นทรายที่สว่างในน้ำตื้น และมองหาตัวแบบจากบริเวณนั้น วิธีนี้จะลดความเปรียบต่างระหว่างท้องฟ้ากับผืนน้ำในช่วงครึ่งบนและครึ่งล่างขององค์ประกอบภาพตามลำดับ 

จากนั้น ให้เลนส์จมลงมาในน้ำครึ่งหนึ่ง มองผ่านช่องมองภาพ และปรับแต่งองค์ประกอบภาพสุดท้ายโดยมุ่งความสนใจไปที่แบ็คกราวด์

 

ขั้นตอนที่ 2: จัดเฟรมภาพให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ดีที่สุด

สิ่งที่ผมทำในการถ่ายภาพนี้คือ: 

 - เข้าใกล้ปะการังให้มากพอ เพื่อเน้นมุมมองเปอร์สเปคทีฟระหว่างปะการังกับแบ็คกราวด์ เคล็ดลับ: ในการทำเช่นนี้ได้ คุณต้องแน่ใจว่าปะการังอยู่ใกล้กับผิวน้ำทะเล ควรตรวจดูกระแสน้ำและเลือกเวลาที่ระดับน้ำทะเลค่อนข้างต่ำ

- จัดเฟรมภาพให้ก้อนเมฆกินพื้นที่ส่วนใหญ่ในองค์ประกอบภาพ วิธีนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเน้นความสูงของท้องฟ้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ดูตัดกับปะการังอย่างน่าสนใจอีกด้วย 

รอให้ปลาว่ายเข้ามาใกล้เส้นผิวน้ำ เส้นแบ่งของผิวน้ำที่อยู่ตรงเกือบกึ่งกลางภาพทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างโลกทั้งสองใบในองค์ประกอบภาพครึ่งบนและล่าง หากคุณต้องการดึงความสนใจไปยังตัวแบบใด ให้วางตัวแบบไว้ใกล้เส้นนี้ 

 

ขั้นตอนที่ 3: ใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้กล้องเปลี่ยนค่าการเปิดรับแสงโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ

โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง: 
ในโหมดอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ การเคลื่อนไหวในบางขณะบนผิวน้ำอาจทำให้ค่าการเปิดรับแสงที่กล้องกำหนดไว้ผันผวนไป เพื่อให้แน่ใจว่าค่าการเปิดรับแสงคงที่ ผมจึงใช้โหมด M

ค่ารูรับแสง: f/6.3
เพื่อดึงความสนใจไปยังตัวแบบที่อยู่ในโฟร์กราวด์ ผมเลือกใช้ค่ารูรับแสง f/6.3 เพื่อให้แบ็คกราวด์เกิดการเบลอเล็กน้อย

โฟกัสและการลั่นชัตเตอร์
จากนั้น ผมจับโฟกัสไปที่ปะการังซึ่งอยู่ตรงหน้า และจับตาดูการเคลื่อนไหวของปลาเพื่อรอเวลาที่เหมาะสมในการลั่นชัตเตอร์

ไม่ใช้แฟลช
ในภาพนี้ ผมไม่ได้ใช้แฟลชเนื่องจากต้องการใช้ประโยชน์จากเงาที่ค่อนข้างคมชัดในการขับเน้นโทนสีของปะการัง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มลักษณะที่ไม่เหมือนใครให้กับภาพ

 

ข้อควรรู้: แฟลชเสริมจะช่วยให้คุณถ่ายภาพใต้ทะเลลึกให้มีสีสันสดใสขึ้น

อ่านบทความนี้ เพื่อศึกษาเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพใต้ทะเลลึก นอกจากนี้ คุณยังสามารถยิงแฟลชขณะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ด้วยเพื่อถ่ายภาพปลาว่ายน้ำให้มีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว

---

หากคุณเพิ่งหัดถ่ายภาพใต้น้ำ ลองมาดูบทความที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้คุณกัน:
10 เคล็ดลับสำหรับคุณในการเริ่มต้นถ่ายภาพใต้น้ำ
5 วิธีการตั้งค่ากล้องที่สำคัญเพื่อให้ได้ภาพถ่ายใต้น้ำที่คมชัด

เมื่อต้องถ่ายภาพสัตว์ใต้น้ำ คุณควรเอาใจใส่ตัวแบบของคุณและสิ่งแวดล้อมด้วย ดูวิธีการได้ที่:
สิ่งสำคัญ 4 ข้อที่ควรจดจำเมื่อถ่ายภาพใต้น้ำ


หากคุณตื่นเต้นอยากจะออกไปถ่ายภาพ ต่อไปนี้คือ สุดยอดสถานที่ถ่ายภาพใต้น้ำ 5 แห่งในเอเชีย อย่าลืมแบ่งปันภาพถ่ายที่ดีที่สุดของคุณให้เราชมที่ My Canon Story!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Minefuyu Yamashita

เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย

http://www.minefuyu-yamashita.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา