ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

บทสัมภาษณ์นักพัฒนาเกี่ยวกับกล้อง EOS 80D (ตอนที่ 2): ช่องมองภาพแบบออพติคอลและเซนเซอร์การวัดแสง

2016-06-02
1
2.34 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS 80D มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมาย ในตอนที่ 2 ของบทสัมภาษณ์ ซึ่งถ่ายทอดความหลงใหลของนักพัฒนา เราได้สอบถามนักพัฒนาถึงข้อดีที่ได้รับจากเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ช่องมองภาพแบบออพติคอลที่ครอบคลุมพื้นที่ 100% แม้ว่ากล้อง EOS 80D จะมีขนาดปานกลาง และมีเซนเซอร์การวัดแสงแบบใหม่ก็ตาม (ผู้สัมภาษณ์: Ryosuke Takahashi ภาพหมู่: Takehiro Kato)

(แถวหลัง จากซ้ายมือ) Kohei Furuya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Koji Ikeda (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Terutake Kadohara (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Takashi Ichinomiya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Yuichiro Sugimoto (แผนก ICP 1)
(แถวหน้า จากซ้ายมือ) Takashi Kishi (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Masahiro Kobayashi (แผนก ICP 2)/ Nobuyuki Inoue (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Koji Sato (ศูนย์พัฒนา ICP 1)/ Yutaka Watanabe (ศูนย์พัฒนา ICP 1)

 

ข้อดีของการมีช่องมองภาพแบบออพติคอลที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100% 

- ช่วยเล่าให้เราฟังถึงเบื้องหลังทางเทคนิคที่ทำให้ได้ช่องมองภาพแบบออพติคอลที่ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100% และข้อดีของช่องมองภาพชนิดนี้ที่มีต่อผู้ใช้หน่อยครับ

Inoue: ข้อดีที่โดดเด่นที่สุดของการมีช่องมองภาพที่ครอบคลุมประมาณ 100% คือ ช่วยให้คุณสามารถจัดเฟรมภาพได้อย่างแม่นยำโดยใช้ช่องมองภาพได้ ในส่วนของเบื้องหลังทางเทคนิค จำเป็นต้องอาศัยการปรับแต่งที่แม่นยำจึงจะได้พื้นที่ครอบคลุมถึง 100% ในอดีต สำหรับขนาดบอดี้กล้องในระดับนี้ เราไม่สามารถได้ช่องมองภาพที่ครอบคลุมถึง 100% ได้ เนื่องจากการจะได้พื้นที่ที่จำเป็นสำหรับการปรับแต่งนั้นทำได้ยาก เราจึงแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยการพัฒนากลไกการปรับแต่งใหม่สำหรับ EOS 80D

โครงสร้างภายในของกล้อง EOS 80D

A: เพนทาปริซึม
B: แฟลชติดกล้อง
C: กระจกสะท้อนภาพหลัก
D: กระจกรอง
E: เซนเซอร์ AF
F: ชัตเตอร์
G: เซนเซอร์ภาพ
H: จอภาพ LCD แบบปรับหมุนได้หลายทิศทาง
I: เซนเซอร์การวัดแสง

 

- แสดงว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ช่องมองภาพที่ครอบคลุม 100% โดยเพียงแค่เพิ่มขนาดของเพนทาปริซึมหรือครับ

Inoue: แม้ว่าการมีเพนทาปริซึมที่ใหญ่ขึ้นจะยังเป็นสิ่งจำเป็น แต่ในทางเทคนิค การปรับหน้าจอช่องมองภาพเพื่อให้เข้ากับขนาดของพิกเซลของภาพเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในกล้อง EOS 80D คือ การมีช่องมองภาพที่ครอบคลุมประมาณ 100% ขณะเดียวกันก็กินพื้นที่น้อยมากแม้จะพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้แล้วก็ตาม

A: เพนทาปริซึม
B: แสงช่วยนำสำหรับให้ความสว่างบนหน้าจอ LCD โปร่งแสง
C: LCD โปร่งแสง (PN-LCD)
D: หน้าจอโฟกัส
E: ปริซึม LCD แสดงข้อมูล
F: LCD สำหรับแสดงข้อมูลภายนอกระยะชัดลึกของช่องมองภาพ
G: เซนเซอร์การวัดแสง RGB+IR
H: เลนส์ใกล้ตา

ระบบออพติคอลของช่องมองภาพ

นอกเหนือจากการใช้เพนทาปริซึมกระจกขนาดใหญ่แล้ว ความแม่นยำในการยึดยังได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเพื่อให้ได้ช่องมองภาพที่ครอบคลุมประมาณ 100% อีกทั้งยังนำจอภาพ LCD โปร่งแสงมาใช้ในการแสดงข้อมูลต่างๆ ได้หลายรูปแบบ

 

ระบบขับเคลื่อนกระจกแบบใหม่ทำงานเงียบเชียบขึ้นและลดการสั่นสะเทือนของกล้อง

- ความพยายามทางเทคนิคใดบ้างที่ทำให้ได้การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง

Inoue: ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 7 fps ซึ่งเทียบเท่ากับความเร็วในกล้อง EOS 70D อย่างไรก็ดี กล้อง EOS 80D ได้พัฒนาขึ้นในแง่ของระบบการขับเคลื่อนและการควบคุมการเคลื่อนของกระจก การพัฒนาระบบขับเคลื่อนกระจกนี้จะช่วยให้กล้องทำงานอย่างเงียบเชียบ และเกิดแรงกระแทกที่น้อยมากระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงประมาณ 7 fps ในส่วนของเทคโนโลยี เราปรับปรุงกลไกการขับเคลื่อนกระจก พร้อมทั้งพัฒนาระบบขับเคลื่อนกระจกใหม่ ซึ่งจะเชื่อมต่อโดยตรงกับมอเตอร์ระหว่างการเคลื่อนไหวขึ้นและลง ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีความแตกต่างจากระบบเดิมที่การทำงานจะเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของกระจกหลัก โดยกลไกลแบบใหม่ในกล้อง EOS 80D จะช่วยขับเคลื่อนกระจกรองโดยตรงอีกด้วย

A: กลไกป้องกันการเคลื่อนของกระจกหลัก
B: กลไกการขับเคลื่อนกระจกรอง
C: มอเตอร์ขับเคลื่อน

 

- ประโยชน์ของการขับเคลื่อนกระจกรองโดยตรงมีอะไรบ้าง

Inoue: การขับเคลื่อนโดยตรงทำให้เราสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของกระจกรองในการขับเคลื่อนกลไก AF ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้การทำงานหลายๆ ด้านมีความแม่นยำมากขึ้น มอเตอร์ที่พัฒนาขึ้นใหม่มาพร้อมกับเซนเซอร์แบบหมุนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การทำงานจึงเงียบเชียบยิ่งขึ้นและการสั่นสะเทือนของกล้องลดน้อยลง

- กล้องสามารถลดเสียงการทำงานและการสั่นสะเทือนด้วยวิธีใด

Inoue: เราลดความเร็วลงทันทีก่อนที่บานกระจกจะพลิกขึ้น และก่อนที่กระจกหลักจะกระตุกเมื่อบานกระจกพลิกลง จากนั้นเราจะลดความเร็วลงอีกก่อนที่กระจกรองจะเกิดการกระตุก

- กระจกหลักและกระจกรองขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์คนละตัวใช่หรือไม่

Inoue: ไม่ครับ ทั้งสองบานขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ตัวเดียวกัน หากจะอธิบายในรายละเอียดก็คือ มอเตอร์จะขับเคลื่อนกระจกรอง ขณะที่กระจกหลักเคลื่อนที่ไปพร้อมๆ กับกระจกรอง

- วิธีนี้แตกต่างจากวิธีเดิมนะครับ

Inoue: ใช่ครับ ก่อนหน้านี้ไม่มีกล้องที่ใช้กลไกดังกล่าว

 

เซนเซอร์การวัดแสงแบบใหม่ตรวจหาแสงอินฟราเรดคลื่นสั้น (IR) ได้

- ช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซนเซอร์วัดแสง RGB+IR ความละเอียด 7,560 พิกเซลหน่อยครับ

Ichinomiya: กล้อง EOS 80D สามารถกำหนดการกระจายของสีภายในภาพได้ โดยการวัดสี RGB ด้วยเซนเซอร์วัดแสง ซึ่งผู้ใช้จะได้รับประโยชน์อย่างหนึ่งคือ สามารถควบคุมการปรับระดับแสงอัตโนมัติ (AE) บนใบหน้าคนได้อย่างเหมาะสมโดยการใช้การตรวจจับสีผิว นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุม AF ได้อย่างแม่นยำด้วยจุด AF เมื่อตั้งการเลือกจุด AF 45 จุดไว้ที่บริเวณสีผิว

เซนเซอร์วัดแสง RGB+IR ความละเอียด 7,560 พิกเซลบนกล้อง EOS 80D

- ในอดีต ประสิทธิภาพของเซนเซอร์ AE จะระบุได้จากจำนวนโซนของการวัดแสง แต่ขณะนี้ไม่มีการวัดแสงโดยใช้โซนเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วใช่หรือไม่

Ichinomiya: ภาพจะถูกแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ เพื่อวัดความสว่างและคำนวณการเปิดรับแสงเหมือนเช่นเคย นอกจากนี้ EOS 80D ยังสามารถควบคุมการเปิดรับแสงได้อย่างแม่นยำตามสีของตัวแบบ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเซนเซอร์ IR ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อแสงอินฟราเรดคลื่นสั้น (IR) ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

- จากมุมมองของผู้ใช้งาน ข้อดีของความสามารถในตรวจหาแสง IR มีอะไรบ้าง

Ichinomya: มีข้อดีหลักๆ อยู่สองข้อด้วยกัน ข้อแรก ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบฉากต่างๆ เช่น ฉากต้นไม้กลางแจ้งและพระอาทิตย์ตกดิน เพราะนอกเหนือจากสีเขียว สีแดง และแสงที่สามารถมองเห็นได้อื่นๆ แล้ว ฉากเหล่านี้ยังมีปริมาณแสงอินฟราเรดเป็นจำนวนมาก การตรวจหาแสดงอินฟราเรดจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดฉากต้นไม้และพระอาทิตย์ตกออกมาได้อย่างสดใสมีชีวิตชีวา ข้อดีข้อที่สองคือ ความแตกต่างของ AF ที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดแสงที่แตกต่างกันมีน้อยมาก ซึ่งความแตกต่างของ AF ที่เกิดขึ้นเล็กน้อยนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการตรวจหาลำแสง IR

- ตั้งแต่มีการเปิดตัวเซนเซอร์วัดแสงแบบใหม่ ระบบ Scene Detection ของ EOS เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

Furuya: โดยทั่วไป ดังที่เราได้อธิบายถึงเซนเซอร์วัดแสง RGB+IR ความละเอียด 7,560 พิกเซลไปแล้ว ข้อดีของเซนเซอร์ใหม่นี้ก็คือความแม่นยำสูงในการตรวจสอบฉากต้นไม้และพระอาทิตย์ตก รวมถึงความแม่นยำของ AE และ AF ที่เพิ่มขึ้นในการตรวจจับสีที่เหมือนกับสีผิว ขณะที่กล้องยังคงคุณสมบัติเดิมที่สามารถตรวจสอบฉากพระอาทิตย์ตกหรือต้นไม้ เซนเซอร์วัดแสงแบบใหม่ให้ความแม่นยำมากขึ้นกว่าที่เคย

 

ความก้าวหน้าและการพัฒนาที่ทำให้การถ่ายภาพเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น

- "สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (เน้นโทนขาว)" มีคุณสมบัติที่โดดเด่นอย่างไรบ้าง 

Furuya: การตั้งค่าสมดุลแสงขาวอัตโนมัติที่มีในกล้องยังคงรักษาโทนสีอบอุ่นไว้เล็กน้อยขณะที่คุณถ่ายภาพภายใต้แสงจากหลอดไฟทังสเตน การตั้งค่าโหมดนี้มีให้เลือกในกล้อง EOS 80D เช่นกัน เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเป็น "เน้นบรรยากาศ" ขณะเดียวกัน ตัวเลือก "เน้นโทนขาว" ใหม่จะช่วยลดเอฟเฟ็กต์จากหลอดไฟทังสเตนเพื่อให้ภาพมีสีขาวในโทนที่ขาวมากขึ้นกว่าเดิม

สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (เน้นบรรยากาศ)

 

สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (เน้นโทนขาว)

 

ฉากประเภทใดที่ใช้กับตัวเลือก "เน้นโทนขาว" ได้ดี

Furuya: ตัวเลือกนี้มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการถ่ายภาพสีของชุดเจ้าสาวในงานแต่งงานที่เน้นโทนสีขาวมากขึ้่น หรือในกรณีที่ต้องการกำจัดโทนสีแสงและเน้นสีขาวที่คมชัดในขณะถ่ายภาพที่ร้านอาหารหรือร้านค้า

- โหมดฟิลเตอร์สร้างสรรค์เพิ่งเพิ่มเข้ามาในวงแหวนเลือกโหมด ช่วยอธิบายถึงวัตถุประสงค์ที่เพิ่มโหมดนี้หน่อยครับ

Kobayashi: ในกล้อง EOS 70D มีคุณสมบัติฟิลเตอร์สร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน แต่ในกล้อง EOS 80D คุณสมบัตินี้จะรวมอยู่ในโหมดฟิลเตอร์สร้างสรรค์ใหม่ร่วมกับเอฟเฟ็กต์ HDR เพื่อให้สามารถเข้าใช้งานตัวเลือกฟิลเตอร์สร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้น ในอดีต คุณต้องเลือกคุณสมบัตินี้จากเมนู แต่ขณะนี้สามารถเลือกได้จากหน้าจอ Quick Control บนกล้อง EOS 80D ได้ เพียงแค่หมุนวงแหวนเลือกโหมดเท่านั้น

ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ถูกเพิ่มเข้าไปในวงแหวนเลือกโหมดในกล้อง EOS 80D

 

- เมื่อเข้าสู่โหมด HDR จากเมนูการถ่ายภาพ คุณจะสามารถปรับช่วงไดนามิกเรนจ์ได้ แต่หากใช้โหมดฟิลเตอร์สร้างสรรค์ ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถปรับช่วงไดนามิกเรนจ์ได้ ในกรณีนี้มีปัจจัยใดเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง

Furuya: โหมด HDR ของโหมดฟิลเตอร์สร้างสรรค์นั้นมีไว้ให้ผู้ใช้เพลิดเพลินไปกับคุณสมบัติได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงกำหนดการปรับช่วงไดนามิกเรนจ์ไว้ที่ "อัตโนมัติ"

- มีการเพิ่มตัวเลือกการแก้ไขความบิดเบี้ยวใหม่เข้าไปในคุณสมบัติการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ คุณสมบัติการแก้ไขนี้รองรับเลนส์กี่รุ่น และคุณช่วยเล่าถึงลักษณะเด่นของคุณสมบัตินี้ได้หรือไม่

Furuya: ตามค่าเริ่มต้น กล้อง EOS 80D มาพร้อมกับข้อมูลการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ 30 รุ่น หากไม่มีข้อมูลสำหรับเลนส์ที่คุณใช้งานอยู่ คุณสามารถลงทะเบียนได้โดยใช้ EOS Utility กล้องจะสามารถจัดเก็บข้อมูลเลนส์ได้สูงสุดถึง 40 รุ่น สำหรับเลนส์ที่มาพร้อมกับข้อมูลการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ในตัว คุณสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนเลนส์โดยใช้ EOS Utility

- การใช้รูปแบบภาพ "Fine Detail" ส่งผลต่อภาพถ่ายที่ออกมาอย่างไรบ้าง

Furuya: คุณสมบัติรูปแบบภาพในกล้อง EOS 80D มาพร้อมกับตัวเลือกสำหรับปรับความคมชัด ได้แก่ "Fineness" และ "Threshold" เมื่อคุณเลือก "Fine Detail" ตัวเลือกความคมชัดเหล่านี้จะถูกตั้งค่าเป็น "1" โดยอัตโนมัติ ซึ่งคุณสามารถใช้ตัวเลือกดังกล่าวเพื่อถ่ายทอดความละเอียดของเส้นขอบหรือพื้นผิวของตัวแบบได้ โดยความเปรียบต่างจะถูกตั้งค่าไว้ในระดับที่ต่ำกว่าการตั้งค่า "มาตรฐาน" เพื่อให้การขับเน้นพื้นผิวและการไล่โทนสีทำได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณยังสามารถใช้ตัวเลือกรูปแบบภาพนี้ หากต้องการพัฒนาไปอีกขั้นด้วยการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่มีพื้นผิวเหมือนกับภาพวาด

 

 

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา