ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับที่ไม่ควรพลาดจากมืออาชีพในการเพิ่มความลึกให้กับภาพ

2016-03-03
4
20 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพคือศิลปะแบบสองมิติรูปแบบหนึ่ง การใช้ทางยาวโฟกัสเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ เช่น โบเก้ และการบีบมุมมองภาพสามารถทำให้ภาพมีความชัดลึกและมีสามมิติได้ เพื่อใช้สื่อสารถึงวัตถุประสงค์ในการถ่ายภาพในผลงานของเรา ต่อไปนี้ เราจะขอแนะนำเทคนิคดังกล่าว ซึ่งนิยมใช้กันในกลุ่มช่างภาพมืออาชีพ (บรรณาธิการโดย: Digital Camera Magazine)

เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีสัตว์ป่าอยู่ด้วย ให้ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อควบคุมความชัดลึก

EOS 7D Mark II/ EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ ทางยาวโฟกัส: 90 มม. (เท่ากับประมาณ 144 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Manual exposure (f/2.8, 1/80 วินาที)/ ISO 800/ WB: แสงแดด

ภาพกวางซีกาฮอกไกโดซึ่งถ่ายที่คาบสมุทรชิเรโทโคะของเกาะฮอกไกโด เนื่องจากการถ่ายภาพทำในขณะที่ในป่ามีแสงแดดไม่มาก ผมจึงเลือกใช้เลนส์ที่มีค่า F ที่ให้ความสว่าง ในการทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์โบเก้ในภาพนี้ ผมต้องใช้เลนส์ด้วยความชำนาญ เพื่อให้แน่ใจว่าภาพที่ออกมาจะไม่ดูรกเกินไป (ภาพและเรื่องโดย: Yukihiro Fukuda)

ใช้เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพของเลนส์เทเลโฟโต้เพื่อสร้างความลึก

ในตัวอย่างนี้ ผมเลือกใช้ทางยาวโฟกัสประมาณ 140 มม. โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 สิ่งที่ผมต้องการรวมเข้าไปในภาพ เริ่มต้นจากดอกไม้สีเหลืองในโฟร์กราวด์ ตามด้วยต้นไม้ และสุดท้ายคือทิวทัศน์ที่อยู่ห่างออกไปซึ่งถูกบดบังด้วยหมอก เอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพเกิดจากการที่ทางยาวโฟกัสช่วยทำให้ภาพมีความลึกได้ตามที่ตั้งใจ

ค่า F ที่ให้ความสว่างช่วยทำให้โฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์เบลอ

ผมเลือกค่ารูรับแสงสูงสุดที่ f/2.8 เพื่อเบลอวัตถุทั้งหมดที่อยู่นอกเหนือจากตัวแบบหลัก ควรเลือกใช้ค่า F ที่มีค่าใกล้เคียงกับรูรับแสงกว้างสุด เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์การบีบมุมมองภาพโดยการใช้เลนส์เทเลโฟโต้ ผมยังเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพออกมาเบลอเนื่องจากการสั่นไหวของกล้อง

เมื่อองค์ประกอบภาพดูแบน ให้สร้างความลึกโดยใช้เลนส์มุมกว้าง

EOS 5D Mark II/ EF24mm f/1.4L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/2, 1/6,000 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

ภาพทะเลในฤดูร้อนภาพนี้ชวนให้นึกย้อนไปถึงความทรงจำในวัยเด็กที่ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ใกล้ทะเล ผมถ่ายภาพนี้ด้วยความหวังที่จะหวนนึกถึงความทรงจำเก่าๆ ที่เห็นได้เฉพาะในฝันเท่านั้น (ภาพและเรื่องโดย: Masatsugu Koorikawa)

เคล็ดลับ: ถ่ายภาพระยะใกล้ในแนวทแยงมุมจากด้านหลังเพื่อทำให้รูปทรงของเรือบิดเบี้ยว

ตอนแรกผมถ่ายภาพเรือจากทางด้านข้าง แต่ว่ารูปทรงของตัวแบบดูแม่นยำมากเกินไป และไม่สามารถสื่อถึงพลังของภาพได้ ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้เลนส์มุมกว้างแบบใด การสร้างเอฟเฟ็กต์บิดเบี้ยวที่สามารถสังเกตได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหากคุณถ่ายภาพตัวแบบโดยตรงจากทางด้านหน้า หากเทียบกันแล้ว องค์ประกอบของภาพที่มีหัวเรือหันไปทางทะเลจะช่วยเพิ่มพลังและความลึกให้กับภาพ

ทางยาวโฟกัสที่สร้างระยะห่างเกินจริง

เลนส์มุมกว้างจะสร้างความแตกต่างที่สัมพันธ์กันของระยะห่างระหว่างวัตถุในระยะใกล้และระยะไกลให้ดูเกินจริง ในตัวอย่างนี้ ผมใช้คุณลักษณะนี้โดยการใช้เรือวางเป็นโฟร์กราวด์เพื่อเพิ่มพลังให้กับภาพทะเล มิฉะนั้นอาจทำให้ภาพดูแบนได้ ท้องทะเลอาจดูห่างไกลมากหากมุมรับภาพกว้างเกินไป ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจว่าทางยาวโฟกัสที่ 24 มม. น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในกรณีนี้

ระยะโฟกัสที่สร้างเอฟเฟ็กต์บิดเบี้ยวที่สามารถสังเกตได้

ผมจัดตำแหน่งเลนส์ให้อยู่ใกล้ตัวแบบมากที่สุด เพื่อที่เราจะยังสามารถมองเห็นหัวเรือได้จากมุมมองด้านข้าง วิธีดังกล่าวยังเป็นการสร้างเอฟเฟ็กต์บิดเบี้ยวให้กับเรืออย่างมาก ราวกับว่าเรือกำลังมุ่งหน้าสู่ทะเล ดังในภาพตัวอย่างนี้ คุณสามารถใช้ประโยชน์จากลักษณะพิเศษของเลนส์มุมกว้างนี้ได้ โดยการเคลื่อนกล้องเข้าใกล้ตัวแบบ

การทำให้ตัวแบบดูโดดเด่นจากแบ็คกราวด์ที่มีสีกลืนกันโดยการเปิดรูรับแสง

EOS 5D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 65 มม./ Manual exposure (f/4, 1/8 วินาที)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ

ในตัวอย่างนี้ ผมต้องการสร้างภาพที่มีบรรยากาศของความนุ่มนวล โดยใช้แสงตามธรรมชาติกับแจกันดอกไม้ในห้องน้ำของผม ทั้งแบ็คกราวด์และตัวแบบมีสีขาวทั้งคู่ ดังนั้นผมจึงปรับค่า F เพื่อให้ตัวแบบดูโดดเด่นจากแบ็คกราวด์ (ภาพและเรื่องโดย: Katsura Komiyama)

ค่า F สร้างโบเก้ขนาดใหญ่เพื่อให้บรรยากาศที่นุ่มนวลอบอุ่น

เพื่อให้ตัวแบบดูโดดเด่นจากแบ็คกราวด์ที่มีสีกลืนกัน ผมจึงตั้งค่ารูรับแสงที่ค่าสูงสุด (f/4) เพื่อเบลอแบ็คกราวด์ ซึ่งช่วยทำให้บรรยากาศดูนุ่มนวลขึ้น นอกจากนี้ ผมยังเลือกตำแหน่งที่แสงแดดตกกระทบกับตัวแบบ เพื่อให้แบ็คกราวด์ดูดำมืดยิ่งขึ้น

 

ความไวแสง ISO เพิ่มความเร็วชัตเตอร์เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพออกมาเบลอเนื่องจากการสั่นไหวของกล้อง

เมื่อถ่ายภาพในสภาวะที่มีแสงสลัว ซึ่งจะสว่างขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีแสงธรรมชาติอ่อนๆ เท่านั้น คุณสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นเพื่อสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลได้เช่นกัน ในตัวอย่างนี้ ผมเพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นเป็น 1600 เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ 1/8 วินาที วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ภาพออกมาเบลอเนื่องจากการสั่นไหวของกล้อง

Yukihiro Fukuda

เกิดเมื่อปี 1965 ที่โตเกียว ทุกๆ ปี Fukuda ใช้เวลากว่าครึ่งไปกับการออกภาคสนาม ปัจจุบัน เมื่อมีกล้อง EOS-1D C เขาจึงขะมักเขม้นในการถ่ายภาพยนตร์ชนิด 4K เพิ่มเติมจากการถ่ายภาพนิ่ง นอกจากนี้ เขายังเขียนหนังสืออีกหลายเล่มด้วยเช่นกัน

 
Masatsugu Koorikawa

เกิดในเมืองนาระ นอกจากการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและสินค้าให้กับนิตยสารกล้องและเพลงแล้ว Masatsugu ยังมีผลงานที่ใช้ริมฝั่งบริเวณอ่าวโตเกียวเป็นธีมอีกด้วย

 
Katsura Komiyama

เกิดที่เมืองคานากาวะในปี 1979 ช่างภาพ หลังจากเรียนรู้การถ่ายภาพกับ Makoto Nakamura และเข้าทำงานที่ร้านกาแฟและสำนักพิมพ์ Komiyama ก็หันมาทำงานเป็นช่างภาพอิสระ Nakamura Photographic Academy/ anthony.jp ช่างภาพที่เซ็นสัญญากับ PHaT PHOTO (Amana)/ amana

 
Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา