ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ตอนที่ 1] การถ่ายภาพนกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า

2015-04-09
2
17.41 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพสัตว์ป่าเป็นงานที่ท้าทาย เพราะเราไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าสัตว์เหล่านั้นจะเคลื่อนที่ไปทางไหนหรือเมื่อไหร่ ในบรรดาสัตว์ต่างๆ การถ่ายภาพนกที่กำลังโผบินอยู่บนท้องฟ้าอย่างเสรีเป็นหนึ่งในตัวแบบที่เรียกว่าหินที่สุดก็ว่าได้ สำหรับบทความต่อเนื่องชุดนี้ ผมในฐานะช่างภาพมืออาชีพที่เชี่ยวชาญการถ่ายภาพสัตว์ป่าจะนำบทเรียนเกี่ยวกับวิธีการถ่ายภาพนกในสถานการณ์ต่างๆ มาฝากผู้อ่านกัน (เรื่องโดย: Gaku Tozuka)

หน้า: 1 2

 

เคล็ดลับในการถ่ายภาพนกที่กำลังโผบินคือ "การตั้งค่า"

ช่างภาพไม่ว่าคนไหนย่อมต้องมีบางขณะที่อยากจะถ่ายภาพนกบินร่อนอยู่บนฟ้าทั้งนั้น ย้อนกลับไปในยุคกล้องฟิล์ม ภาพนกเหินฟ้าที่ถ่ายออกมาอย่างคมชัดจะถูกมองด้วยความรู้สึกอิจฉา อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยปัจจุบันการถ่ายภาพนกให้คมชัดมีอุปสรรคลดน้อยลงอย่างมากเนื่องด้วยการค้นพบใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีกล้องดิจิตอล โดยเฉพาะกล้อง EOS 7D Mark II สามารถปรับการตั้งค่าที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนการถ่ายภาพประเภทนี้ได้อย่างมั่นใจ

สภาวะแสงของการถ่ายภาพนกบินที่ดีที่สุด คือ สภาวะที่ตัวแบบรับแสงจากทางด้านหน้า และเมื่อท้องฟ้าเป็นโทนสีฟ้ากำลังดี และการกำหนดปริมาณแสงในสภาวะดังกล่าวนี้จะทำได้ง่ายกว่าด้วย โดยทั่วไปแล้ว กรณีที่ใช้การวัดแสงแบบประเมินทั้งภาพ ให้ตั้งค่าการชดเชยแสงไปที่ EV+1.0 เมื่อถ่ายภาพนกสีน้ำตาลหรือเทา และไม่ต้องทำการชดเชยแสงหากเป็นนกสีขาว สำหรับโหมดการเลือกพื้นที่โฟกัสอัตโนมัติ โซน AF เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่าการใช้จุด AF เพียงจุดเดียว แน่นอนว่า AI Servo AF อาจเป็นตัวเลือกหลักที่ใช้เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการบินของนก

ภาพ A

 

ระดับความยาก: ปานกลาง

 
สถานะการถ่ายภาพ

 

 

เลนส์: ซูเปอร์เทเลโฟโต้

 

แสง: แสงด้านหน้า

 
 

 

ความเร็วชัตเตอร์: เร็ว

 

รูรับแสง: เปิดกว้าง

 

EOS 7D Mark II/ FL: 700 มม. (เทียบเท่ากับ 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ EF500mm f/4L IS II USM + EXTENDER EF1.4xIII/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/2,500 วินาที, +1.0EV)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

 

ในภาพ A ผมพยายามถ่ายภาพนกตระกูลกาตัวหนึ่งที่กำลังบินคาบลูกโอ๊คอยู่ มันบินค่อนข้างใกล้ผมขณะกำลังถ่ายภาพ ผมจึงติดตามการเคลื่อนไหวของมันโดยใช้ [การขยายจุด AF: ขึ้น, ลง, ซ้ายและขวา] แทนที่โซน AF และเลือกภาพที่เก็บรายละเอียดลักษณะท่าทางและรูปร่างของปีกนกได้ดีที่สุด

จุด AF ที่ใช้ในการโฟกัส

 

แม้ว่าโซน AF มักจะเป็นตัวเลือกในการถ่ายภาพประเภทนี้ในสภาวะปกติ แต่ผมกลับเลือกใช้ [การขยายจุด AF: ขึ้น, ลง, ซ้ายและขวา] แทนเพื่อทดสอบระดับประสิทธิภาพในการจับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของปีกนก ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่า กล้องสามารถรักษาโฟกัสผ่านการตั้งค่านี้ได้

 
 

การตั้งค่า

 

ระบบโฟกัสอัตโนมัติ: AI Servo AF

โหมดขับเคลื่อน: การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง

โหมดเลือกพื้นที่ AF: การขยายจุด AF (เลือกด้วยตนเอง, 4 จุด: ขึ้น, ลง, ซ้าย และขวา)

เครื่องมือกำหนด การตั้งค่า: Case 1

 
 

การถ่ายภาพนกกระสาด้วยโซน AF

ในภาพ B คือภาพถ่ายนกกระสา กล้อง EOS 7D Mark II แสดงให้เห็นถึงความแม่นยำในการโฟกัสอัตโนมัติที่โดดเด่นภายใต้สภาวะแสงแบบต่างๆ ผมสามารถกำหนดโฟกัส โดยใช้โหมดการเลือกพื้นที่ AF ใดก็ได้ ภาพนี้ถ่ายโดยใช้โซน AF บริเวณกึ่งกลาง หากตัวแบบมีขนาดใหญ่และเคลื่อนที่ไม่เร็วนัก คุณสามารถขยับจุด AF ไปยังตำแหน่งที่ต้องการถ่ายภาพด้วยการจัดองค์ประกอบภาพที่ให้ความโดดเด่นกว่า

ภาพ B

 

EOS 7D Mark II/ FL: 700 มม. (เทียบเท่ากับ 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ EF500mm f/4L IS II USM + EXTENDER EF1.4xIII/ Manual exposure (f/5.6, 1/3,200 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 
 

การตั้งค่าที่เกี่ยวข้องกับลักษณะพิเศษของโหมด AI Servo AF

 

เมื่อเลือกโหมดโฟกัสอัตโนมัติแบบ AI Servo AF บนกล้อง EOS 7D Mark II คุณจะสามารถตั้งค่าการเคลื่อนที่ของ AF และลักษณะพิเศษของมันได้ตามที่ต้องการ ภาพด้านล่างคือการตั้งค่าที่ผมเลือกใช้ ผมปรับค่าเป็น [Case 1: การตั้งค่าอเนกประสงค์] เพื่อให้แน่ใจว่าโฟกัส "ล็อค" อยู่ที่ตัวแบบ ตั้งค่า "ความไวติดตาม" เป็น [-2], "เพิ่ม/ลดความไวติดตาม" เป็น [+2] และ "เปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติ" เป็น [+2]

 
 
Gaku Tozuka

 

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์

http://happybirdsday.jp/

 
Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา