ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ตอนที่ 2] ฟังก์ชั่นของกล้องที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดองค์ประกอบภาพ

2014-10-30
1
1.79 k
ในบทความนี้:

การจัดองค์ประกอบภาพและฟังก์ชั่นของกล้อง แม้อาจดูไม่เกี่ยวข้องกัน แต่แท้จริงแล้ว สองสิ่งนี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หากเรานิยามความหมายของการจัดองค์ประกอบภาพว่าเป็นวิธีการจัดวางโครงสร้างองค์ประกอบในภาพภาพหนึ่ง เช่นนั้นแล้วฟังก์ชั่นของกล้องก็เป็นเทคนิคเบื้องหลังที่ช่วยขับเน้นบรรยากาศหรือภาพที่ช่างภาพตั้งใจไว้ ในบทความนี้ จะมีคำแนะนำเบื้องต้นถึงคุณสมบัติที่ควรรู้บางประการ (เขียนโดย: Tatsuya Tanaka ภาพประกอบโดย: Atsushi Matsubara)

หน้า: 1 2

 

เอฟเฟ็กต์จาก “ความเร็วชัตเตอร์”: เพื่อการถ่ายทอด “การเคลื่อนไหว” ของตัวแบบ

ปรับความเร็วชัตเตอร์

กล้อง SLR แทบทุกรุ่นมีตัวเลือกความเร็วชัตเตอร์ตั้งแต่ช่วง 1/4,000 ถึง 30 วินาที (1/8,000 ถึง 60 วินาทีในบางรุ่น) ให้คุณปรับระดับ ความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ ช่วยให้ถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายได้หลากหลายขึ้น อย่างเช่น การ “หยุด” ความเคลื่อนไหวของตัวแบบหรือการถ่ายทอดความเคลื่อนไหวให้เห็นผ่านความเบลอที่เกิดจากการเคลื่อนไหว ในภาพตัวอย่างนี้ ภาพต้นมะพร้าวที่พลิ้วไหวถูกถ่ายโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้า ซึ่งแสดงถึงความแรงของลมได้อย่างดีผ่านลักษณะของใบมะพร้าวที่พร่ามัว สำหรับภาพถ่ายคลื่นที่ซัดกระทบชายฝั่ง ผมเลือกความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ซึ่งทำให้ได้ภาพที่เห็นหยดน้ำสาดกระเซ็นได้อย่างชัดเจนจนดูเสมือนว่าน้ำถูก “หยุดความเคลื่อนไหว” คุณจะต้องคาดคะเนถึงการเคลื่อนไหวของตัวแบบก่อนจัดองค์ประกอบภาพ หากต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์จากความเร็วชัตเตอร์ เนื่องจากเทคนิคนี้ถ่ายภาพในช่วงพริบตาที่สายตาเรามองไม่ทัน จึงขอแนะนำให้คุณถ่ายหลายๆ ภาพจนกว่าจะได้ภาพที่ดีที่สุด

 
 

ผลที่เกิดขึ้นเมื่อเปลี่ยนค่าความเร็วชัตเตอร์

1/60 วินาที

มาดูกันว่าความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ ส่งผลกับการถ่ายทอดภาพสายน้ำที่ไหลจากที่สูงอย่างไร ที่ความเร็ว 1/1,000 วินาที สายน้ำดูเหมือน “หยุดนิ่ง” ปริมาณน้ำดูน้อยกว่าที่มองเห็นได้จริง ในทางกลับกัน เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง สายน้ำที่ไหลจะมองเห็นเป็นภาพฟุ้งหรือเบลอมากกว่า เริ่มตั้งแต่ความเร็ว 1/6 วินาที สายน้ำดูเหมือนจะมีปริมาณมากขึ้น และมองเห็นวิถีการไหลของน้ำได้ชัด ลองสะท้อนความแตกต่างของอารมณ์ภาพด้วยองค์ประกอบภาพของคุณ

 
 

1/6 วินาที

1/1,000 วินาที

 
 

ถ่ายทอดแรงลมด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

 

ภาพต้นมะพร้าวที่พลิ้วไหวลู่ลมในคืนที่มีแสงจากดวงจันทร์ ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 10 วินาที ซึ่งทำให้ใบมะพร้าวเกิดความเบลอในระดับที่พอเหมาะ ความลึกซึ้งในการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวอยู่ที่ว่าภาพนั้นนำไปสู่อารมณ์ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบภาพที่คุณเลือกหรือไม่

 

”หยุด” คลื่นกระเซ็นด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง

 

น้ำกระเซ็นจากคลื่นที่ซัดโหมเกิดจากสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง การ “หยุด” การเคลื่อนไหวของคลื่นด้วยความเร็วชัตเตอร์สูงทำให้ผมเก็บภาพการเปลี่ยนแปลงที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าไว้ได้ ในภาพนี้ ผมจัดองค์ประกอบภาพขณะที่คาดว่าจะมีคลื่นใหญ่เข้ามากระทบฝั่ง และรอจังหวะเหมาะที่จะลั่นชัตเตอร์

 

เคล็ดลับ – อย่าให้เกิดอาการกล้องสั่นเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้า

การถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมักจะมาคู่กับปัญหากล้องสั่น แม้ว่าการใช้ขาตั้งกล้องอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้ แต่คุณก็ไม่ควรวางใจมากเกินไป เพราะแม้จะติดตั้งกล้องบนขาตั้งกล้อง แต่ภาพก็อาจเบลอได้ เพราะยังมีแรงสะเทือนเบาๆ จากการกดปุ่มชัตเตอร์ ดังนั้น นอกจากขาตั้งกล้องแล้ว ผมขอแนะนำให้คุณใช้รีโมทกดชัตเตอร์ระยะไกล ซึ่งจะช่วยลดอาการสั่นไหวที่ไม่พึงประสงค์ เพราะคุณไม่มีการแตะตัวกล้องเลยขณะที่ถ่ายภาพ

ขาตั้งกล้องเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดปัญหากล้องสั่น แต่ไม่แนะนำให้วางใจมากเกินไปนัก

รีโมทกดชัตเตอร์ระยะไกลเป็นอุปกรณ์ที่ต้องมีไว้ เพราะช่วยป้องกันการสั่นไหวของกล้องได้

 
 
 
 

เอฟเฟ็กต์จาก “ความไวแสง ISO”: การสนับสนุนการถ่ายภาพด้วยการปรับเพิ่มความไวแสง

ปรับความไวแสง ISO

 

ความไวแสง ISO หมายถึง ความสามารถของกล้องในการรับแสงที่มาตกกระทบ ค่าตัวเลขที่สูงขึ้นหมายถึงระดับความไวแสงที่สูงขึ้นด้วย ในสถานที่ที่มีแสงน้อย เช่น ขณะถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืนหรือในอาคาร การตั้งค่าความไวแสง ISO สูงจะช่วยป้องกันความเร็วชัตเตอร์ไม่ให้ช้าลง ภาพถ่ายน้ำตกด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของความไวแสง ISO ในระดับความสว่างที่คงที่ เนื่องจากความสว่างไม่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มความไวแสง ISO จะเป็นการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ไปตามสัดส่วน ถัดไปคือ ภาพตู้โชว์สินค้า ซึ่งถ่ายในเวลากลางคืนโดยไม่ใช้แสงแฟลช เมื่อเลือกความไวแสง ISO ที่สูงเพื่อเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ ผมจึงสามารถถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือได้โดยภาพไม่เบลอจากอาการกล้องสั่น สำหรับผู้ที่รักการถ่ายภาพสแนปช็อต คุณสมบัตินี้เป็นประโยชน์มากทีเดียว แม้การเพิ่มความไวแสง ISO อาจก่อให้เกิดจุดรบกวนมากขึ้น แต่ก็มีกล้องหลายรุ่นที่สามารถถ่ายภาพไร้จุดรบกวนได้ที่ ISO สูงถึง 1600 ลองใช้ความไวแสง ISO เพื่อให้คุณสามารถใช้สไตล์การถ่ายภาพแบบถือด้วยมือได้หลากหลายมากขึ้น

 

เกิดอะไรขึ้นกับความเร็วชัตเตอร์เมื่อคุณปรับความไวแสง ISO โดยให้ขนาดรูรับแสงคงที่?

ISO 100 (0.3 วินาที)

ISO 400 (1/12 วินาที)

 
 

ISO 1600 (1/50 วินาที)

ISO 6400 (1/200 วินาที)

 

หากความเร็วชัตเตอร์เปลี่ยนไปโดยที่ค่ารูรับแสงเท่าเดิม ภาพถ่ายที่ได้จะออกมามืดหรือสว่างเกินไป วิธีที่จะเอาชนะปัญหานี้ได้ คือ ปรับความไวแสง ISO ในภาพด้านบน ค่าความไวแสง ISO เปลี่ยนไปโดยที่ค่ารูรับแสงยังคงที่ ทำให้องค์ประกอบธรรมชาติส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากสายน้ำตกดูไม่แตกต่างกัน เมื่อทำเช่นนี้ เราจึงสามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงที่เห็นในระดับความเร็วชัตเตอร์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนจากสิ่งที่ถ่ายทอดผ่านการไหลของสายน้ำ

 

เพิ่มความไวแสง ISO เพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง

 

หนึ่งในสาเหตุของการถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือแล้วไม่ประสบความสำเร็จที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ คือ การสั่นไหวของกล้อง การสั่นไหวของกล้องเกิดขึ้นเมื่อถ่ายภาพแนวตั้งบ่อยครั้ง แม้แต่เลนส์ที่มีคุณสมบัติ Image Stabilizer (IS) อาจไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ทุกครั้งไป ดังนั้น อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันปัญหาจากอาการกล้องสั่นได้ก็คือ เพิ่มความไวแสง ISO

 

เคล็ดลับ – ระวังการเกิดจุดรบกวนที่ความไวแสง ISO สูง

แม้ว่าคุณสมบัติของความไวแสงระดับสูงๆ จะผ่านการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาแล้ว แต่จุดรบกวนก็ยังคงมีอยู่ จุดรบกวนปรากฏให้เห็นเสมอเมื่อใช้ความไวแสง ISO สูงเกิน 6400 และที่ประมาณ ISO 12800 ซึ่งสามารถใช้ถ่ายภาพท้องฟ้าในคืนที่มีดาวเต็มฟ้าได้แบบถือกล้องด้วยมือ ก็อาจจะมองไม่เห็นดาวก็ได้ ผมจึงขอแนะนำให้ระมัดระวังในเรื่องนี้และใช้คุณสมบัติการลดจุดรบกวนให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงานของคุณ

ISO 400

ISO 6400

 

แม้ภาพถ่ายวิวยามค่ำคืนด้วย ISO 400 และ ISO 6400 อาจดูไม่ต่างกัน แต่คุณจะเห็นจุดรบกวนได้ชัดขึ้นเมื่อคุณขยายภาพ ในภาพนี้ ผมขยายส่วนหนึ่งของภาพให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้เห็นว่าจุดรบกวนจะมองเห็นได้ชัดเมื่อใช้ความไวแสง ISO สูง

 

Tatsuya Tanaka

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา