ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว

2017-06-01
4
6.1 k
ในบทความนี้:

ภาพคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเลตามแนวชายฝั่งสื่อให้เห็นถึงพลังการเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่ง หากคุณต้องการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของคลื่นนี้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเร็วชัตเตอร์และจังหวะเวลาที่ลั่นชัตเตอร์คือสิ่งสำคัญ ในส่วนต่อไป ผมจะอธิบายถึงปัจจัยต่างๆ ที่ช่างภาพมืออาชีพพิจารณาซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจถ่ายภาพ (เรื่องโดย: Yoshiteru Takahashi)

ภาพคลื่นซึ่งถ่ายด้วย Canon EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/2 วินาที, EV-0.7)/ ISO 50/ WB: แสงแดด

ท้องฟ้าสีเทาและคลื่นสีขาวทำให้ผมรู้สึกประทับใจอย่างมาก ผมต้องการถ่ายทอดลักษณะอันนุ่มนวลของคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเล พร้อมกับรักษาความสมดุลระหว่างท้องฟ้ากับคลื่นไว้ ดังนั้น ผมจึงเพิ่มความเปรียบต่างโดยใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์

 

เทคนิคที่ 1: ถ่ายภาพคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเลเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์พลังการเคลื่อนไหว

เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพคลื่น ส่วนตัวแล้วผมชอบถ่ายภาพคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเล เพราะสามารถเห็นความละเอียดนุ่มนวลและพลังการเคลื่อนไหวของคลื่นที่ไหลผ่านก้อนกรวดบริเวณชายฝั่ง และเมื่อคลื่นที่กำลังไหลกลับสู่ทะเลกระทบคลื่นที่กำลังซัดเข้ามา หลังจากคลื่นแตกฟอง ผมรอคอยจังหวะเวลาที่เหมาะสมแล้วลั่นชัตเตอร์ในช่วงเวลาที่คลื่นถอยร่นกลับไป

คลื่นที่ซัดสาด ถ่ายด้วย Canon EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/2 วินาที, EV-0.7)/ ISO 50/ WB: แสงแดด

คลื่นที่ซัดสาด
แม้ว่าการเคลื่อนไหวของคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งจะส่งผลกระทบทางอารมณ์ แต่ยังไม่สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่ละเอียดนุ่มนวลได้ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของคลื่นดูธรรมดาเกินไป

 

เทคนิคที่ 2: ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่สร้างความเปรียบต่างด้านความสว่างระหว่างท้องฟ้ากับผิวน้ำอย่างเพียงพอ

จุดสำคัญของภาพนี้อยู่ที่ความสามารถในการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของคลื่นได้อย่างงดงาม หากคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของคลื่น จะเป็นการลดความสดใสและมีชีวิตชีวาของภาพถ่าย ซึ่งเป็นแง่มุมที่คุณต้องการถ่ายทอดออกมามากที่สุด ในทางตรงกันข้าม หากคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก จะมีเพียงความขาวของคลื่นเท่านั้นที่โดดเด่นออกมา ผมจึงเลือกความเร็วชัตเตอร์ตามความสมดุลของความเปรียบต่างระหว่างสีของท้องฟ้ากับบริเวณที่มืดของผืนทะเล ในกรณีนี้ ผมตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/2 วินาที

 

สำหรับรูปแบบของความเปรียบต่างในการถ่ายภาพคลื่น โปรดดูที่:
การถ่ายภาพคลื่น: การถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำและนุ่มนวลให้มีสีสันสวยงาม

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshiteru Takahashi

เกิดที่จังหวัดชิบะเมื่อปี 1965 Yoshiteru Takahashi เริ่มต้นถ่ายภาพเมื่อเขาเกิดความหลงใหลในนกกระเรียนมงกุฎแดงที่พบในระหว่างการเดินทางไปบึงคุชิโระ (ฮอกไกโด ญี่ปุ่น) ขณะอายุ 16 ปี หลังจบการศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพด้านการถ่ายภาพ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพระดับอาชีพในวงการภาพพิมพ์ ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพธรรมชาติสี่ฤดูและสัตว์ป่าอย่างแข็งขันทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ซึ่งไปปรากฏอยู่ตามหน้าปฏิทิน โปสเตอร์ และปกนิตยสารมากมาย

http://www.y--t.com/index.html

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา