ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ถ่ายภาพจากมุมสูงหรือมุมต่ำ?

2017-02-16
17
6.25 k
ในบทความนี้:

ควรถ่ายภาพจากมุมสูงหรือมุมต่ำดีกว่ากัน หากคุณพบว่าตนเองสับสนว่าจะใช้ตัวเลือกใดในการถ่ายภาพทิวทัศน์ แน่นอนว่าคุณไม่ใช่คนแรกที่เป็นเช่นนั้น และไม่ว่าคุณจะเลือกมุมใดก็ล้วนแต่ส่งผลต่อสไตล์การถ่ายภาพของคุณ ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่าช่างภาพทั้งสองคนมีแนวคิดในเรื่องนี้อย่างไร และเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคถ่ายภาพของแต่ละคนกัน (เรื่องโดย Toshiki Nakanishi, Masami Goto)

 

มุมต่ำ: มองขึ้นไปที่ตัวแบบพร้อมกับใช้การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริง

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 23 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/5 วินาที, EV+1.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Toshiki Nakanishi

Toshiki Nakanishi กล่าวว่า:

"เมื่อผมเดินเข้าไปในป่าและมองขึ้นไปผ่านเลนส์มุมกว้าง ผมได้เห็นโลกที่แตกต่างจากสิ่งที่ผมเคยเห็นด้วยตาเปล่าโดยสิ้นเชิง ซึ่งทำให้ผมมีความสุขมาก เมื่อผมถ่ายภาพโดยแหงนกล้องขึ้น ผมใช้เลนส์มุมกว้างและถ่ายภาพในมุมที่กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้พร้อมกับรักษาสมดุลในภาพ วิธีนี้ทำให้ผมสามารถใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงของเลนส์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดูกว้างใหญ่ไพศาลได้ คุณสามารถสร้างภาพถ่ายที่ดูโดดเด่นด้วยการถ่ายมุมต่ำได้ แต่อย่าลืมปรับการจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้ภาพมีตำหนิที่เห็นได้ชัดจนเกินไป ตัวอย่างเช่น ตรวจดูให้แน่ใจว่ากิ่งไม้และใบไม้เว้นระยะห่างจากกันอย่างสมดุล”

 

เคล็ดลับ: ขณะจัดองค์ประกอบภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง ควรให้ความสำคัญกับบริเวณมุมภาพ

ภาพเสีย
EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 20 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/5 วินาที, EV+1.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Toshiki Nakanishi

ผมถ่ายนี้ตามสไตล์ที่ผมถนัด คือทำให้เกิดความบิดเบี้ยวโดยใช้ช่วงมุมกว้างของเลนส์มุมกว้าง เพื่อเน้นความรู้สึกโล่งและกว้างใหญ่ไพศาล อย่างไรก็ดี เนื่องจากการจัดวางตำแหน่งที่ไม่ค่อยดีนักหรือมุมภาพกว้างเกินไป ใบเมเปิลจึงดูมีระยะห่างจากกันมาก และภาพดูเหมือนขาดอะไรบางอย่าง ภาพถ่ายจะสวยงามขึ้นกว่านี้หากผมให้ความสำคัญกับบริเวณมุมทั้งสี่ของเฟรมภาพ และจัดวางตำแหน่งใบไม้ให้สอดคล้องกัน

ดูบทความต่อไปนี้เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเคล็ดลับในการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

 

มุมสูง: ลดสัดส่วนของท้องฟ้าลงเพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของทิวทัศน์

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 150 มม./ Aperture-priority AE (f/10, 1/10 วินาที, EV-0.7)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Masami Goto

Masami Goto กล่าวว่า:

“เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีความกว้างใหญ่ไพศาลจากบนที่สูง เช่น จากจุดชมวิว คนส่วนมากจะจัดองค์ประกอบภาพโดยให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ส่วนใหญ่ในเฟรมภาพ แม้ว่าวิธีนี้จะสร้างความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ตระการตา แต่มีโอกาสที่ตัวแบบดั้งเดิมที่เป็นจุดสนใจคือทิวทัศน์จะส่งผลทางอารมณ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร

หากเกิดปัญหานี้ขึ้น ขอแนะนำให้ถ่ายภาพจากมุมสูงเล็กน้อยจะเป็นการดีกว่า แทนที่จะรวมท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลไว้ในองค์ประกอบภาพ ลองสังเกตดูภาพทิวทัศน์ธรรมชาติที่อยู่ตรงหน้าคุณเมื่อมองลงไปเบื้องล่าง หากคุณเข้าใจว่าอะไรทำให้ภาพนี้ดูมีเอกลักษณ์และมีความพิเศษ คุณจะสามารถถ่ายทอดความยิ่งใหญ่ตระการตาได้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้เก็บภาพฉากทั้งฉากที่อยู่ตรงหน้าคุณ (รวมถึงท้องฟ้า) ไว้ในเฟรมภาพก็ตาม อันที่จริง คุณอาจจะได้ภาพทิวทัศน์ที่ดูมีพลังมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำไป”

 

เคล็ดลับ: การถ่ายภาพที่ระดับสายตาและรวมท้องฟ้าไว้ในเฟรมภาพจะช่วยเบนความสนใจจากจุดสนใจหลัก

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 116 มม./ Aperture-priority AE (f/10, 1/10 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย Masami Goto

คุณอาจรู้สึกอยากรวมท้องฟ้าไว้ในองค์ประกอบภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามรุ่งอรุณและโพล้เพล้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพด้านบน ซึ่งผมถ่ายภาพจากระดับสายตาเพื่อที่จะรวมทั้งท้องฟ้าและบึงไว้ในเฟรมภาพ อย่างไรก็ดี การปล่อยให้ท้องฟ้าส่วนใหญ่อยู่นอกองค์ประกอบภาพ โดยให้บึงกลายเป็นจุดโฟกัสและจัดองค์ประกอบภาพให้เป็นภาพมุมสูงแบบมุมมองนก จะเพิ่มความลึกให้แก่ภาพหนองน้ำที่เต็มไปด้วยสีสันจัดจ้านของดวงอาทิตย์ยามอัสดง

 

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมกล้อง โปรดดูที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #7: ตำแหน่งของกล้อง (ระดับ) และมุมกล้องแตกต่างกันอย่างไร

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Masami Goto

เกิดที่ฮอกไกโดในปี 1955 Goto เริ่มต้นถ่ายภาพเทือกเขาไดเซสึซังในปี 1978 พร้อมกับรับงานถ่ายภาพโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในปี 1984 เขาเริ่มออกเดินทางไปทั่วฮอกไกโดในฐานะช่างภาพอิสระเพื่อบันทึกภาพและถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพทิวทัศน์ทั่วญี่ปุ่น โดยเน้นที่ภูมิภาคฮอกไกโดและโทโฮกุเป็นหลัก

http://www.mgphoto.jp/

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา