ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

EF35mm f/1.4L II USM: เลนส์เดี่ยวสเปคสูงจะพลิกโฉมการถ่ายภาพดาราศาสตร์

2016-10-20
2
2.32 k
ในบทความนี้:

เลนส์เดี่ยว EF35mm f/1.4L II USM ได้สร้างความแตกต่างครั้งใหญ่ให้แก่โลกแห่งการถ่ายภาพดาราศาสตร์ โดยมอบคุณภาพของภาพอันยอดเยี่ยมผ่านการใช้เทคโนโลยีใหม่อันเป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของ Canon ช่างภาพมืออาชีพได้ทำการทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพอันน่าทึ่งของเลนส์เดี่ยวนี้ (เรื่องโดย Tatsuya Tanaka)

EOS 6D/ EF35mm f/1.4L II USM/ FL: 35 มม./ Manual Exposure (f/1.4, 10 วินาที)/ ISO 2000/ WB: อัตโนมัติ

 

ประสิทธิภาพอันน่าทึ่งแม้ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4

การถ่ายภาพดาราศาสตร์เป็นวิธีถ่ายภาพตัวแบบสองชนิดที่แตกต่างกันอย่างมากนั่นคือ วัตถุบนท้องฟ้าและทิวทัศน์ไว้ในภาพเดียว ทำให้สามารถถ่ายทอดโลกอีกใบที่สายตาของมนุษย์ไม่อาจมองเห็นได้

เลนส์มุมกว้างที่มีรูรับแสงกว้างสุดและสว่างมักนำมาใช้เพื่อถ่ายภาพในเวลากลางคืนซึ่งมีแสงสว่างน้อยมากๆ สำหรับผม เลนส์ที่พึ่งพาได้สำหรับการถ่ายภาพดังกล่าวคือ EF35mm f/1.4L USM เนื่องจากทางยาวโฟกัส 35 มม. ช่วยให้ผมได้องค์ประกอบภาพที่ใกล้เคียงกับภาพที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อย่างไรก็ดี แม้ว่าเลนส์จะมีรูรับแสงที่สว่าง แต่เราต้องลดค่ารูรับแสงลงเพื่อให้ได้ภาพถ่ายคุณภาพสูงโดยไม่มีปัญหาความคลาดเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจะมาดูเลนส์ซึ่งเป็นที่มาของบทความนี้กัน นั่นคือ EF35mm f/1.4L II USM

สำหรับการถ่ายภาพดาราศาสตร์ ภาพถ่ายที่ดีคือภาพที่ดาวทุกดวงในภาพได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นจุดแสงสว่างที่มีขนาดเท่าๆ กัน เมื่อถ่ายภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวด้วยเลนส์รุ่นก่อนหน้าคือ EF35mm f/1.4L USM โดยใช้รูรับแสงกว้างสุด เราจะเห็นความคลาดที่บริเวณมุมทั้งสี่ของเฟรมได้อย่างชัดเจน และบ่อยครั้งดวงดาวซึ่งควรจะปรากฏขึ้นเป็นจุดแสงกลมๆ จะเกิดบิดเบี้ยวไปเป็นรูปทรงรี อีกทั้งมีขอบเป็นสีม่วง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เรียกว่า "เฮโลแบบ Sagittal" และ "ความคลาดสี" ซึ่งเกิดขึ้นบ้างในเลนส์ทุกชนิด ดังนั้น เมื่อคุณลงมือถ่ายภาพจริง จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากลดค่ารูรับแสงลงและเลือกค่า f ที่จะไม่ทำให้เกิดความคลาดสีที่มองเห็นได้

อย่างไรก็ดี ความคลาดสีและความบิดเบี้ยวของดวงดาวที่บริเวณมุมทั้งสี่ของเฟรมสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ด้วยเลนส์ EF35mm f/1.4L II USM แม้ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดก็ตาม ดังนั้น เราจึงสามารถถ่ายทอดภาพดวงดาวออกมาเป็นจุดแสงที่สว่างสม่ำเสมอกันทั่วทั้งภาพได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากเลนส์ประกอบที่พัฒนาขึ้นใหม่ที่เรียกว่า ชิ้นเลนส์ Blue Spectrum Refractive Optics (BR) และชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสองชิ้น โดย BR Optics ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางเลนส์ BR สามารถแก้ไขความคลาดสีได้เป็นผลสำเร็จ โดยการหักเหแสงสีน้ำเงินที่ทำให้เกิดความคลาดสีได้อย่างมาก

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ BR ได้จากบทความดังต่อไปนี้
ชิ้นเลนส์ BR (Blue Spectrum Refractive Optics)

 

อุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในปัจจุบัน

ผลงานของผมที่อยู่ด้านบนสุดของบทความนี้เป็นภาพถ่ายท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวซึ่งถ่ายที่หมู่เกาะอามามิซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่เกาะริวกิว เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของดวงดาว ผมจึงกำหนดค่ารูรับแสงไว้สูงสุดที่ f/1.4 และตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้สั้นๆ ที่ 10 วินาที ผมสามารถถ่ายภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวด้วยรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4 ได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะเวลาในการเปิดรับแสงสั้นลง

ดวงดาวค่อยๆ เคลื่อนที่ไปอย่างต่อเนื่องโดยทำมุมสิบห้าองศาในทุกชั่วโมง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับถ่ายภาพดวงดาวให้ออกมาเป็นจุดแสงที่สว่างไสว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายภาพจากตำแหน่งที่ตายตัวโดยมีเพียงกล้องและขาตั้งกล้องเท่านั้น ฉะนั้น เลนส์รุ่นนี้ซึ่งให้คุณภาพของภาพในระดับสูงพอสมควรแม้ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดจึงทำให้เราสามารถถ่ายภาพดาราศาสตร์โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงได้ และทำได้ดีกว่าเลนส์รุ่นก่อนหน้าด้วยซ้ำไป 

ขณะที่ผมกำลังตรวจสอบภาพ ณ สถานที่ที่ถ่าย และขยายบริเวณมุมทั้งสี่ของภาพ ผมต้องประหลาดใจเป็นครั้งแรก เพราะเมื่อผมพิจารณาภาพที่ขยายขึ้นมานั้น ผมสังเกตเห็นว่าความคลาดสีในภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ชนิดนี้แตกต่างจากภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์รุ่นก่อนหน้าอย่างชัดเจน ผมได้ประจักษ์ด้วยตาตนเองถึงคุณภาพในการถ่ายทอดภาพอันโดดเด่นของเลนส์เดี่ยวมุมกว้างในวันนี้ แม้อาจกล่าวได้ว่าปัญหาความคลาดนั้นเป็นเรื่องปกติของระบบเลนส์แบบออพติคอลก็ตาม แต่การเปิดตัวเลนส์ BR ในครั้งนี้อาจเปลี่ยนมุมมองดังกล่าวให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นได้ เลนส์รุ่นนี้จึงเป็นเลนส์ที่ขาดไม่ได้เลยในการถ่ายภาพดาราศาสตร์ของผม

ภาพใหม่: EF35mm f/1.4L II USM (กำลังขยายภาพและขอบของภาพ 100%)

 

ภาพเก่า: EF35mm f/1.4L USM (กำลังขยายภาพและขอบของภาพ 100%)

 

แกลเลอรี่ภาพถ่าย

ความสามารถอันยอดเยี่ยมในการถ่ายทอดภาพได้อย่างเหนือชั้นของเลนส์รุ่นนี้เห็นได้ชัดเมื่อเราใช้ถ่ายภาพดาราศาสตร์ อีกทั้งยังเห็นได้จากการถ่ายภาพทิวทัศน์ประเภทอื่นๆ อีกด้วย คุณจะได้เห็นทั้งประสิทธิภาพการถ่ายทอดภาพในระดับสูง จุดนอกโฟกัสที่ลดลง การแสดงโทนสีที่สวยสดงดงาม และความสามารถอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพผลงานของคุณ ซึ่งจะผมจะนำมาแสดงในที่นี้

EOS 5D Mark II/ EF35mm f/1.4L II USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 1/100 วินาที, EV-1.0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

การลดค่ารูัรับแสงทำให้ภาพคมชัดจนถึงบริเวณมุมทั้งสี่ของภาพ

ผมถ่ายภาพน้ำตกในเทือกเขาที่กำลังไหลพรั่งพรูให้ดูคมชัดโดยการเพิ่มค่า f เป็น f/13 ซึ่งช่วยสร้างโฟกัสที่คมชัดไปทั่วทั้งภาพ อีกทั้งความเปรียบต่างระหว่างไฮไลต์ของต้นไม้ที่เขียวชอุ่มและเงาของพื้นผิวบนก้อนหินยังทำให้ภาพดูสง่างามอีกด้วย

 

EOS 5D Mark III/ EF35mm f/1.4L II USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/500 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ดึงเสน่ห์ของดอกไม้ให้เห็นเด่นชัดด้วยค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.4

ผมถ่ายภาพระยะใกล้ของดอกบีโกเนียขนาดใหญ่ที่กำลังเบ่งบานประชันความงามกันในระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 28 ซม. โดยใช้กำลังขยายสูงสุด 0.21 เท่า โดยมีเอกเฟ็กต์โบเก้ที่งดงามเป็นตัวสร้างเสน่ห์ให้ดอกไม้

 

EOS 5D Mark II/ EF35mm f/1.4L II USM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/8, 1/80 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ประสิทธิภาพในการถ่ายทอดภาพอันยอดเยี่ยมซึ่งแสดงการเกลี่ยแสงที่ละเอียดของโทนสีของก้อนเมฆ

ผมถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกดินที่อยู่ท่ามกลางหมู่เมฆครึ้มบนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกจากแนวพุ่มไม้ โดยมีต้นเฟิร์นขนาดใหญ่อยู่ในส่วนโฟร์กราวด์ นอกจากภาพจะมีสภาวะความเปรียบต่างสูงแล้ว การเกลี่ยแสงอย่างมากในจุดไฮไลต์และเงาต่างๆ ยังเปลี่ยนไปในช่วงเพียงเสี้ยววินาที แม้ว่าการค้นหาการเปิดรับแสงที่เหมาะสมจะเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง แต่ผมเลือกที่จะถ่ายทอดการเกลี่ยแสงในแบบต่างๆ โดยไม่ทำให้ภาพเกิดส่วนที่สว่างจ้าหรือมืดเกินไป

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Tatsuya Tanaka

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพรวมทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

http://tatsuya-t.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา