ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

2019-05-06
9
16.9 k
ในบทความนี้:

 ในตอนที่ 1 เราได้เรียนรู้หลักการสองข้อเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงของเลนส์มุมกว้าง ซึ่งได้แก่ 1. สามารถทำให้เส้นบรรจบเข้าหากัน และ 2. เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นที่ขอบภาพ ในตอนที่ 2 นี้ เราจะมาดูตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติเหล่านี้และวิธีการนำไปใช้ได้มากขึ้น (บรรณาธิการโดย studio9)

ท้องฟ้ามีเมฆครึ้มเหนือแนวอาคารในเมือง

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/9.0/ 1/60 วินาที/ ISO 500

 

1. การถ่ายภาพท้องฟ้าที่มีเมฆครึ้ม

เมื่อคุณถ่ายภาพท้องฟ้าด้วยเลนส์มุมกว้าง การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงจะทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ “การขยายภาพลงด้านล่าง” โดยเริ่มจากด้านบนของภาพลงมายังท้องฟ้าส่วนที่อยู่ใกล้กับคุณมากกว่า ก้อนเมฆทำให้เกิดความเปรียบต่างในท้องฟ้า ซึ่งทำให้เห็นเอฟเฟ็กต์นี้ได้ชัดเจนขึ้นอีก จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมท้องฟ้าที่มีเมฆครึ้มจึงดูกว้างใหญ่กว่าท้องฟ้าในวันที่อากาศสดใส

ภาพนี้ถ่ายจากบนเรือที่ย่านมินาโตะมิไรในเมืองโยโกฮามาขณะพระอาทิตย์ตก (FL: 24 มม.) และเพื่อให้ภาพส่งผลต่ออารมณ์มากยิ่งขึ้น พยายามถ่ายท้องฟ้าให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับกฎสามส่วน

ก้อนเมฆเหนือภูมิทัศน์รัฐนิวเม็กซิโก

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/10/ 1/800 วินาที/ ISO 250

ภาพนี้ถ่ายในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา (FL: 16 มม.) การมีกล้องอยู่ในมือขณะที่เห็นก้อนเมฆสวยๆ นั้นเป็นสิ่งที่ดีจริงๆ ท้องฟ้าดูเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุดเลยใช่ไหม 

 

2. ถ่ายภาพจากมุมรับภาพแนวทแยง

หากต้องการให้เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงของเลนส์มุมกว้างทำงานได้อย่างเต็มที่ ให้ลองถ่ายตัวแบบจากมุมทแยง

เพราะนี่คือวิธีการทำงานของเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ
- การถ่ายภาพจากด้านหน้าตรงๆ ไม่ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเนื่องจากทุกส่วนของตัวแบบจะดูเหมือนมีระยะห่างจากกล้อง (และผู้ชม) เท่ากัน
- การถ่ายตัวแบบจากมุมอื่นจะช่วยเน้นเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟให้ชัดเจนขึ้นเนื่องจากฝั่งหนึ่งของตัวแบบจะอยู่ใกล้กับกล้องหรือผู้ชมมากกว่าอีกฝั่ง

เคล็ดลับ:
1. จัดองค์ประกอบภาพให้ตัวแบบดูยื่นจากด้านนอกเข้าไปในภาพ จะทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงที่เด่นชัดขึ้นที่ด้านข้างของภาพ
2. ถ่ายให้ใกล้ตัวแบบมากขึ้น ยิ่งส่วนที่ใกล้ที่สุดของตัวแบบอยู่ใกล้กล้องมากเท่าใด เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะยิ่งชัดเจนขึ้นเท่านั้น

โรงงานในยามค่ำคืนเต็มไปด้วยแฉกแสง

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/16/ 20 วินาที / ISO 800

ภาพโรงงานในเมืองคาวาซากิยามค่ำคืน ถ่ายที่ระยะ 23 มม. ผมถ่ายภาพในระยะใกล้มากจนรั้วแทบจะชนกับส่วนปลายของเลนส์ เอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงที่ได้จะชัดเจนในส่วนรั้ว แต่เห็นได้ไม่ชัดเจนนักที่ตัวโรงงานเนื่องจากอยู่ห่างจากกล้องและใกล้กับจุดกึ่งกลางภาพ

 

ภาพหอยนางรมที่มีเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟเกินจริงที่มุมกว้าง

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/2.8, 1/15 วินาที/ ISO 1600

ผมถ่ายภาพหอยนางรมในจานที่ร้านหอยนางรมแห่งหนึ่ง (FL: 16 มม.) ในภาพนี้ก็เช่นเดียวกัน ผมขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบจนกระทั่งเลนส์เกือบจะสัมผัสกับเปลือกหอยที่อยู่ในส่วนโฟร์กราวด์ ทำให้เกิดมุมมองเปอร์สเป็คทีฟเกินจริงที่จานหอยนางรม ทอดยาวจากบริเวณโฟร์กราวด์ไปจนถึงแบ็คกราวด์ ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพเพื่อความสร้างสรรค์ แต่ไม่เหมาะหากคุณต้องการถ่ายภาพให้แสดงรูปร่างต่างๆ ตามความเป็นจริง

 

3. ทำให้องค์ประกอบต่างๆ ดูกินพื้นที่มากกว่าความเป็นจริง

การสร้างเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่เกินจริงด้วยเลนส์มุมกว้างนั้นสามารถทำให้สิ่งต่างๆ ดูใหญ่ขึ้นกว่าความเป็นจริงได้ ลองมาดูภาพประกอบด้านล่างกัน

ภาพดอกไม้ถ่ายที่ระยะ 24 มม.

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L USM/ f/5.6/ 1/1250 วินาที/ ISO 200

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 24 มม. จากระยะโฟกัสใกล้ถึงใกล้สุด (0.45 ม.) ของเลนส์ ดูเหมือนภาพนี้ถูกถ่ายในทุ่งดอกไม้ทั้งทุ่งเลยใช่ไหม แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงกลุ่มดอกไม้ในกระถางเล็กๆ ที่มีความลึกประมาณ 30 ถึง 40 ซม. ในสวนเท่านั้น

 

ภาพดอกไม้ที่มีแฉกแสงในมุมสูงที่ระยะ 16 มม.

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/13/ 1/80 วินาที/ ISO 640

นี่เป็นภาพโคลสอัพอีกภาพหนึ่งของดอกไม้จากที่เดียวกันซึ่งใช้เลนส์ซูมมุมกว้าง (FL: 16 มม.) ระยะห่างจากโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์นั้นดูเกินจริงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดความรู้สึกว่าภาพนี้ถูกถ่ายจากในสวนดอกไม้ขนาดใหญ่ 

 

แต่ความจริงแล้ว ทั้งสองภาพถูกถ่ายจากที่นี่:

ดอกไม้ในสวน

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/5.0/ 1/100 วินาที/ ISO 100

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 16 มม. โดยใช้เลนส์รุ่นเดียวกับที่ถ่ายภาพด้านบน แต่ผมถอยออกมาไกลกว่าเดิมและถ่ายภาพจากมุมที่สูงกว่าภาพก่อนหน้า คุณเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นหรือไม่ ภาพนี้ต่างจากภาพก่อนหน้า เพราะไม่มีจุดสนใจที่แน่ชัด ดูเหมือนเป็นแค่การถ่ายเพื่อให้เห็นว่าฉากหน้าตาเป็นอย่างไรเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีการใช้เลนส์นั้นมีความสำคัญ  

 

และนี่คืออีกภาพหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่ามุมกว้างสามารถทำอะไรได้บ้าง

ภาพโคลสอัพของต้นซากุระถ่ายโดยใช้มุมกว้าง

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L USM/ f/5.6/ 1/5000 วินาที/ ISO 400

คุณไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพทั้งสวนเพื่อให้มีซากุระอยู่เต็มเฟรม ผมถ่ายภาพนี้โดยเข้าไปใกล้ต้นซากุระต้นหนึ่งและถ่ายภาพที่ระยะ 24 มม.

คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้ การถ่ายภาพต้นซากุระ: ควรถ่ายที่ระยะมุมกว้างหรือเทเลโฟโต้ดี

 

4. ลองใช้การถ่ายภาพจากตำแหน่งที่ต่ำ

ถ่ายภาพโดยให้กล้องอยู่ใกล้พื้น นี่ไม่ใช่แค่มุมมองที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพลวงตาซึ่งตัวแบบที่อยู่ในโฟร์กราวด์จะดูมีขนาดใหญ่และตัวแบบที่อยู่ในแบ็คกราวด์ดูมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกัน

มาทบทวนกันอีกครั้ง ตำแหน่งของกล้อง (ระดับ) และมุมกล้องแตกต่างกันอย่างไร

มุมต่ำ: ภาพที่ถ่ายโดยการเอียงกล้องขึ้นด้านบน (ตรงข้ามกับมุมสูงซึ่งตัวกล้องจะเอียงลง)
ตำแหน่งต่ำ: เมื่อกล้องอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระดับสายตา

เงาของผู้คนที่ผ่านไปมาบนถนน

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L USM/ f/8.0/ 1/250 วินาที/ ISO 200

ในภาพด้านบน นอกจากกล้องจะอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำแล้ว ยังเอียงลงไปหาพื้นอีกด้วย จึงทำให้ได้ภาพในตำแหน่งต่ำที่ถ่ายจากมุมสูง ซึ่งเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมไปยังเงาเหล่านั้น

คำแนะนำ: ใช้ความระมัดระวังเมื่อต้องถ่ายภาพใกล้พื้นและเอียงกล้องขึ้น เพราะผู้อื่นอาจเข้าใจเจตนาของคุณผิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มีคนพลุกพล่าน ควรตรวจดูเสมอว่าไม่มีใครอยู่ใกล้ๆ

 

ภาพในตำแหน่งต่ำถ่ายโดยมีพื้นเป็นโฟร์กราวด์

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ f/4.0/ 1/40 วินาที/ ISO 800

ผมถ่ายภาพนี้โดยวางกล้องลงบนพื้น (FL: 16 มม.) พื้นที่เป็นโฟร์กราวด์ดูมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในแบ็คกราวด์ คุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์นี้ในการสร้างภาพลวงตาที่น่าสนใจได้

 

5. ทำให้ขาดูยาวขึ้น

จำได้ไหมว่าในตอนที่ 1 เราได้เห็นว่าการขยายเปอร์สเป็คทีฟเกินจริงและเอฟเฟ็กต์การบรรจบกันทำให้อาคารดูลาดลงและสูงขึ้นได้อย่างไร วิธีการเช่นนี้ใช้ได้กับทุกอย่าง รวมทั้งคนด้วย 

ภาพมุมต่ำด้านล่างถ่ายจากความสูงระดับเดียวกับเท้าของเด็กที่กำลังยืนคนนี้

เด็กยักษ์ที่กำลังยืนอยู่

EOS 5D Mark III/ f/4.0/ 1/160 วินาที/ ISO 1250

เด็กยักษ์หลุดออกมาแล้ว! การถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างจากมุมต่ำทำให้ขาของเด็กดูใหญ่และยาวขึ้น และใบหน้าของเด็กดูเล็กลงกว่าความเป็นจริง เอฟเฟ็กต์ที่ดูเกินจริงไปมากจนดูเหมือนภาพล้อเลียนนี้อาจเหมาะสำหรับการถ่ายภาพในเชิงสร้างสรรค์ แต่คงไม่เหมาะหากนี่เป็นงานในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต แต่ความลับคือ: ช่างภาพแฟชั่นมักใช้เทคนิคนี้ (ในแบบที่ไม่ชัดเจนเท่า) ในการอวดโฉมรูปร่างของตัวแบบและแสดงสไตล์ของตนเอง

เคล็ดลับ: ระวังอย่าให้ใบหน้าอยู่ตรงขอบภาพ เนื่องจากเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่เกินจริงจะชัดเจนขึ้นตรงขอบภาพและทำให้เกิดการบิดเบี้ยว ควรให้ใบหน้าอยู่ตรงกลางภาพแทน

 

เลนส์ที่แนะนำ

EF16-35mm f/2.8L III USM: ผมชอบรูรับแสงที่กว้างและเอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่สวยงามใน EF16-35mm f/2.8L II USM เลนส์รุ่นก่อนหน้า ซึ่งเป็นเลนส์ที่ผมใช้เป็นประจำ เลนส์รุ่นใหม่ที่ปรับปรุงมาแล้วนี้ จะให้คุณภาพของภาพที่ดียิ่งขึ้นจนถึงขอบภาพอย่างแน่นอน

EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM: สำหรับกล้อง APS-C นี่คือเลนส์ EF-S ที่มีมุมรับภาพกว้างที่สุดในปัจจุบัน คุณสมบัติการครอปของเซนเซอร์ APS-C ที่ 1.6 เท่า หมายความว่าที่ระยะมุมกว้าง 10 มม. คุณจะได้มุมรับภาพ 16 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา