ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพทิวทัศน์: เทคนิคในการถ่ายภาพพายุที่กำลังเคลื่อนตัว

2019-12-16
1
2.66 k
ในบทความนี้:

เราควรตั้งค่ากล้องแบบใดเพื่อถ่ายภาพหมู่เมฆที่มืดครึ้มของพายุฝนที่กำลังเคลื่อนตัวโดยไม่สูญเสียรายละเอียดไป ในบทความนี้ เราจะมาศึกษากันว่าช่างภาพมืออาชีพใช้เทคนิคใดบ้างเพื่อให้ได้ภาพพายุที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่เมือง (เรื่องโดย: Rika Takemoto)

ภาพพาโนรามาของพายุที่อยู่เหนือตัวเมือง

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/80 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ในภาพนี้ฉันตั้งใจดึงความสนใจไปที่ก้อนเมฆและแนวฝนที่กำลังเคลื่อนตัวและเปลี่ยนแปลงไป ฉันถ่ายภาพในแนวนอนและจับภาพสิ่งที่อยู่รอบๆ ด้วยเพื่อแสดงให้เห็นว่าพายุอยู่เฉพาะที่อย่างไร นอกจากนี้ ฉันยังให้ความสำคัญกับการเปิดรับแสงเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่สูญเสียรายละเอียดของก้อนเมฆไป

 

เรื่องราวเบื้องหลัง: พายุฝนเฉพาะพื้นที่ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน

พายุแต่ละลูกนั้นไม่เหมือนกัน คุณอาจคิดว่านี่เป็นเพียงพายุฝนธรรมดาที่เคลื่อนตัวผ่านมาหากคุณได้เห็นเข้า แต่ความจริงแล้วเป็นพายุฝนเฉพาะพื้นที่ที่เกิดจากปรากฏการณ์เกาะความร้อน ซึ่งพบเห็นได้ยาก ปรากฏการณ์นี้เกิดในเขตเมืองเมื่อกิจกรรมและการใช้พลังงานของมนุษย์ เช่น พลังงานความร้อนจากเครื่องปรับอากาศและรถยนต์ด้านนอก รวมถึงความร้อนจากยางมะตอยจะเพิ่มสูงขึ้นจนทำให้เกิดเมฆฝนฟ้าคะนองที่ส่งผลให้การตกของฝนมีความผิดปกติ เช่น สายฝนที่เทกระหน่ำเฉพาะพื้นที่ เนื่องจากปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในเขตเมืองเท่านั้น ดังนั้น การถ่ายภาพก้อนเมฆดังกล่าวจึงทำได้ค่อนข้างยากหากคุณไม่มีจุดที่มองเห็นทัศนียภาพได้กว้างขวาง อย่างเช่น หอชมวิว

 

วิธีการถ่ายภาพนี้

สถานที่ถ่ายภาพ:
จากหอชมวิวซึ่งฉันสามารถถ่ายภาพของเมืองจากมุมสูงได้

สภาพอากาศ:
อากาศดีแต่มีเมฆครึ้ม มีเมฆมากในบริเวณรอบๆ แต่ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าในบริเวณแบ็คกราวด์ที่อยู่ไกลออกไป

สิ่งที่ต้องการถ่ายทอด:
สภาพของพายุฝนที่กำลังเคลื่อนตัว ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการถ่ายภาพฝนที่กำลังตกเฉพาะบางพื้นที่เพื่อสร้างความต่างระหว่างพายุและความสงบโดยรอบ

การจัดองค์ประกอบภาพ:
ฉันตัดสินใจใช้ภาพแนวนอนเพื่อแสดงพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากพายุ
ด้วยการใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน ฉันเลือกวางเมืองไว้ที่บริเวณสามส่วนล่างของภาพ และวางท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลไว้ที่บริเวณสองในสามส่วนของจอภาพด้านบน
เพื่อเน้นถึงความหนักหน่วงของฝนที่เทกระหน่ำและเมฆฝนฟ้าคะนองที่ปรากฏอยู่ ฉันจึงวางเมฆฝนฟ้าคะนองที่ทำให้เกิดฝนและแนวฝนไว้ตรงกลางภาพโดยใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลาง แล้วจึงปรับโฟกัส

อุปกรณ์เพิ่มเติม: ฟิลเตอร์ PL
เนื่องจากแสงสว่างภายในหอชมวิวอาจสะท้อนกับกระจก ฉันจึงขยับเข้าไปใกล้กระจกหน้าต่างและใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทรงกลม (เรียกอีกอย่างว่า ฟิลเตอร์ PL) เพื่อขจัดแสงสว่างจ้าที่สะท้อนและถ่ายภาพความเขียวขจีและท้องฟ้าสีครามให้มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น

แผนภาพแสดงวิธีการถ่ายภาพ

 

เคล็ดลับที่ 1: ใช้ค่ารูรับแสงที่ทำให้ได้ทั้งระยะชัดลึกและความเร็วชัตเตอร์สูง ซึ่งก็คือ f/8

สำหรับฉากนี้ ฉันจำเป็นต้องใช้ค่า f ที่มีระยะชัดลึก เพราะต้องการเน้นรายละเอียดและความรู้สึกถึงก้อนเมฆในแบบสามมิติให้มากที่สุด และเนื่องจากไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้องบนหอชมวิว ค่า f ที่ใช้จึงต้องเอื้อต่อการถ่ายภาพแบบถือด้วยมือเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงโดยไม่เกิดปัญหากล้องสั่น ดังนั้น ค่า f/8 จึงช่วยสร้างสมดุลระหว่างความต้องการทั้งสองนั้นได้เป็นอย่างดี

 

เคล็ดลับที่ 2: จุดโฟกัสที่ทำให้ตัวแบบหลักดูโดดเด่น – ก้อนเมฆ

ฉันโฟกัสที่ตัวแบบหลักคือ เมฆฝนฟ้าคะนองซึ่งทำให้เกิดฝนตกหนัก การโฟกัสอัตโนมัติที่ตัวแบบเช่นนี้อาจเป็นเรื่องยากเนื่องจากมีความแตกต่างของความเปรียบต่างระหว่างความสว่างกับความมืดที่ไม่ชัดเจน ดังนั้น ฉันจึงโฟกัสไปที่บริเวณที่มีก้อนเมฆสีเทาแทน

เคล็ดลับพิเศษ: ดูให้แน่ใจว่าขอบของก้อนเมฆอยู่ในโฟกัส เพราะจะทำให้ถ่ายภาพได้ง่ายขึ้นแม้รูปร่างของก้อนเมฆและสภาพแสงจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

 

เคล็ดลับที่ 3: หลีกเลี่ยงการเปิดรับแสงน้อยเกินไปโดยใช้การชดเชยแสง EV+0.7

ความขาวของก้อนเมฆอาจหลอกให้กล้องเปิดรับแสงน้อยกว่าปกติ ความจริงแล้ว เมื่อฉันใช้การเปิดรับแสงที่เหมาะสมซึ่งกล้องกำหนดค่าให้ ปรากฏว่าภาพที่ได้ดูมืดเล็กน้อยและค่อนข้างน่ากลัว การใช้ค่าการชดเชยแสงเป็นบวกทำให้ภาพสว่างขึ้น

ข้อควรระวัง: หากคุณทำให้ภาพสว่างจนเกินไป พื้นผิวและความเป็นสามมิติของเมฆก้อนใหญ่จะหายไป ดังนั้น สำหรับภาพนี้ฉันจึงตั้งค่าไว้ที่ EV+0.7

 

สำหรับเคล็ดลับการถ่ายภาพพายุกลางแจ้งเพิ่มเติม โปรดดูที่บทความนี้:
การถ่ายภาพภูมิทัศน์: ถ่ายภาพ พายุ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Rika Takemoto

Rika เป็นช่างภาพทิวทัศน์ที่เริ่มต้นจากการถ่ายภาพเป็นกิจกรรมยามว่างตั้งแต่ปี 2004 และเริ่มดูแลเว็บไซต์แชร์ภาพถ่ายในปี 2007 เธอเรียนรู้การถ่ายภาพจากช่างภาพทิวทัศน์ธรรมชาติอย่าง Yoshiteru Takahashi ก่อนจะผันตัวเป็นช่างภาพอิสระ นับแต่นั้นมา เธอก็ได้ถ่ายภาพทิวทัศน์หลากหลายรูปแบบทั่วญี่ปุ่น (รวมถึงต่างประเทศด้วย)

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา