ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[บทที่ 8] รู้จักสมดุลแสงขาว

2014-09-04
17
10.13 k
ในบทความนี้:

แสงปรากฏให้เห็นเป็นสีสันที่แตกต่างกัน (เช่น แสงจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์มีสีค่อนไปทางสีเขียว ขณะที่แสงจากหลอดไส้ร้อนมักจะให้แสงสีแดงหรือส้ม) สมดุลแสงขาวจะปรับแก้ผลที่เกิดจากสีของแสงในภาพถ่ายให้ถูกต้อง เราจะมาทำความรู้จักสมดุลแสงขาวแบบต่างๆ และเอฟเฟ็กต์ของแต่ละแบบด้วยกัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

รู้จักความหมายและเข้าใจการใช้งานของสมดุลแสงขาว

กล้องดิจิตอลต่างจากกล้องฟิล์มตรงที่สามารถถ่ายภาพให้มีเฉดสีที่ถูกต้องได้ไม่ว่าจะถ่ายภายใต้แหล่งแสงชนิดใดก็ตาม ฟังก์ชั่นที่ใช้แก้ไขเฉดสีนี้ เรียกกันว่า สมดุลแสงขาว แนวคิดพื้นฐานของสมดุลแสงขาวมาจาก “การถ่ายทอดวัตถุสีขาวให้เป็นสีขาวไม่ว่าอยู่ภายใต้แหล่งแสงชนิดใด” สมดุลแสงขาวจะแก้ไขโทนสีที่ปรากฏเมื่อถ่ายภาพภายใต้แหล่งแสงหนึ่งโดยการเพิ่มสีตรงข้าม (สีที่ตัดกัน) ภาพด้านล่างนี้ทั้งหมดถ่ายในเวลากลางวัน โดยเปลี่ยนเพียงการตั้งค่าสมดุลแสงขาว โทนสีที่ออกมาในภาพซึ่งใช้ค่าสมดุลแสงขาวแต่ละแบบจะแสดงสีที่เติมเต็มเพื่อแก้ไขสีของวัตถุ ในการถ่ายภาพยนตร์จะมีการใช้ฟิลเตอร์สีในการแก้ไขโทนสีเหล่านี้ หลักการพื้นฐานเดียวกันนี้ก็คล้ายกันกับกล้องดิจิตอลซึ่งมีสมดุลแสงขาวทำหน้าที่เทียบเท่ากับฟิลเตอร์สี อย่างไรก็ตาม ในฟิลเตอร์สีนั้นไม่มี “สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (AWB)” สมดุลแสงขาวอัตโนมัติเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติ แต่คงจะดีเช่นกันหากได้ใช้สมดุลแสงขาวหลากหลายแบบเมื่อโทนสีไม่เข้ากับภาพในบางสภาวะ

แสงแดด

สีออกมาเป็นปกติในเวลากลางวันที่ท้องฟ้าโปร่งสดใส สมดุลแสงขาวที่ปรับใช้กับภาพได้หลากหลาย สามารถใช้กับการถ่ายภาพกลางแจ้งทั่วๆ ไปได้

แสงในร่ม

โทนสีจะถูกปรับเพื่อให้สีออกมาเป็นปกติในพื้นที่ที่มีร่มเงาซึ่งอยู่กลางแจ้งในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง จะมีโทนสีแดงเล็กน้อยเมื่อใช้ภายใต้แสงแดดจ้า

เมฆครึ้ม

ปรับโทนสีที่ยืดถือตามวันเมฆครึ้มไร้แสงอาทิตย์ ระดับการแก้ไขจะอ่อนกว่าแบบแสงในร่มเล็กน้อย

หลอดไฟทังสเตน

เป็นสมดุลแสงขาวที่แก้ไขโทนสีของแสงหลอดไฟทังสเตน โทนสีน้ำเงินจะเด่นชัดขึ้น เพราะมีการลดโทนสีแดงลงที่เกิดจากแสงหลอดไฟทังสเตน

แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว

เป็นสมดุลแสงขาวที่แก้ไขโทนสีของแสงหลอดไฟทังสเตน โทนสีน้ำเงินจะเด่นชัดขึ้น เพราะมีการลดโทนสีแดงลงที่เกิดจากแสงหลอดไฟทังสเตน

แฟลช

สมดุลแสงขาวที่ช่วยแก้ไขโทนสีน้ำเงินของแสงจากแฟลช แนวการแก้ไขจะคล้ายกันกับเอฟเฟ็กต์ “เมฆครึ้ม”

สมดุลแสงขาวอื่นๆ

AWB

แก้ไขสีแต่ละสีที่มาจากแหล่งแสงทุกชนิดโดยอัตโนมัติ และแก้ไขสีของแสงจากแหล่งแสงที่ผสมผสานกัน โดยปกติจะตั้งค่าไว้ที่ อัตโนมัติ เมื่อถ่ายภาพ

กำหนดเอง

สมดุลแสงขาวที่แก้ไขด้วยหลักมาตรฐานที่กำหนดโดยข้อมูลภาพถ่ายตัวแบบสีขาวหรือสีเทาภายใต้การจัดแสงของบริเวณที่ถ่ายภาพ

การตั้งค่าอุณหภูมิสี

สมดุลแสงขาวที่มีการป้อนค่าความยาวคลื่นของสี (อุณหภูมิสี) เข้าไปที่กล้อง จำเป็นต้องใช้เครื่องวัดสีในการถ่ายภาพในโหมดนี้ ตัวเลือกนี้ไม่มีในบางรุ่น

การใช้สมดุลแสงขาวเพื่อการถ่ายทอดอารมณ์ภาพ

สมดุลแสงขาวเป็นฟังก์ชั่นที่จะพยายามปรับโทนสีให้ถูกต้องเสมอ แต่อย่างไรก็ดี ยังมีสถานการณ์ที่สีที่ถูกต้องตามข้อมูลภาพอาจไม่ตอบสนองความต้องการในการถ่ายทอดอารมณ์ในภาพถ่าย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเทคนิคในการแสดงโทนสีโดยการตั้งค่าสมดุลแสงขาวให้แตกต่างอย่างจงใจสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา