ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา

2016-07-21
1
4.56 k
ในบทความนี้:

ภาพทิวทัศน์ในเมืองมักถูกเลือกให้เป็นตัวแบบในการถ่ายภาพยามค่ำคืนอยู่บ่อยๆ แต่นั่นก็หมายความว่าคุณจะเพิ่มความหลากหลายให้กับภาพถ่ายได้ยากด้วยเช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้น คุณยังสามารถผลิตภาพถ่ายที่ให้อารมณ์แตกต่างไปอย่างมากได้โดยการปรับเปลี่ยนเทคนิคที่ใช้ถ่ายภาพในขณะที่ยังคงใช้เลนส์และสถานที่ถ่ายภาพเดิม ในบทความนี้ ผมจะขอแนะนำเทคนิคสองประการ เทคนิคแรกจะทำให้ภาพที่ถ่ายออกมาดูสงบเยือกเย็นและสวยงาม ในขณะที่เทคนิคที่สองช่วยเติมเต็มพลังและความมีชีวิตชีวาให้กับภาพถ่ายของคุณ (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara)

 

ถ่ายทอดความสงบเยือกเย็น: สร้างบรรยากาศอันเงียบสงบชวนฝันด้วยการปรับเปลี่ยนภาพทิวทัศน์กลางคืนให้ดาษดื่นไปด้วยวงกลมโบเก้

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 10 วินาที, EV-0.7)/ ISO 400/ WB: หลอดไฟทังสเตน

ในภาพด้านบน ผมตั้งโฟกัสไว้ที่รั้วลวดเหล็กที่อยู่ตรงหน้า และลองเบลอภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนซึ่งเป็นตัวแบบหลัก เมื่อถ่ายภาพตัวแบบสองตัวที่อยู่ห่างจากกัน สิ่งสำคัญคือการคำนึงถึงความสมดุลระหว่างตัวแบบทั้งสอง โดยวิธีหนึ่งที่จะช่วยได้คือการปรับทางยาวโฟกัสของเลนส์ 

การใช้ทางยาวโฟกัสฝั่งเทเลโฟโต้ที่มากขึ้นจะช่วยสร้าง เอฟเฟ็กต์การบีบภาพที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้แบ็คกราวด์ดูมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเทียบกับรั้วลวดเหล็ก หากไม่ปรับทางยาวโฟกัส คุณอาจไม่ได้ภาพที่มีความสมดุลเหมาะสมตามต้องการจากการปรับระยะห่างระหว่างกล้องและรั้วเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ ยังอาจมองไม่เห็นตัวแบบหลักหากภาพออกมาเบลอจนเกินไป ดังนั้น จึงขอแนะนำให้คุณพิจารณาเลือกใช้ค่ารูรับแสงที่เหมาะสมซึ่งให้ปริมาณเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เพียงพอ เนื่องจากค่ารูรับแสงที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างกล้องกับรั้วลวดเล็ก จึงควรปรับค่ารูัรับแสงหลังจากที่คุณกำหนดองค์ประกอบภาพเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจึงค่อยตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้เพื่อกำหนดค่า f ที่จะใช้ต่อไป

จุดที่ 1: ตั้งโฟกัสไว้ที่รั้วลวดเหล็ก

ใช้ประโยชน์จากการโฟกัสแบบแมนนวล (MF) เนื่องจากโฟกัสอาจอยู่ที่แบ็คกราวด์หากมีการใช้ AF ในภาพนี้ สภาพโดยรอบมืดและไม่สามารถมองเห็นรั้วลวดเหล็กได้ชัดเจนผ่านช่องมองภาพ ดังนั้น ผมจึงใช้ฟังก์ชั่น Live View ในการโฟกัส และโปรดสังเกตว่าคุณจะไม่สามารถโฟกัสได้หากคุณขยับเข้าใกล้รั้วมากจนเกินไป

 

จุดที่ 2: ถ่ายภาพชิงช้าสวรรค์ให้อยู่ในเฟรมเดียวกับรั้ว

ผมปรับขนาดของรั้วและชิงช้าสวรรค์โดยเปลี่ยนทางยาวโฟกัสรวมทั้งระยะห่างระหว่างกล้องกับรั้ว เพื่อให้สามารถเก็บภาพชิงช้าสวรรค์ไว้ในเฟรมเดียวกันกับรั้วลวดเหล็กได้ ในภาพนี้ผมเลือกใช้ทางยาวโฟกัสที่ 105 มม. เพื่อทำให้แบ็คกราวด์ดูใกล้กับกล้องมากขึ้น

 

จุดที่ 3: ระวังขนาดของเอฟเฟ็กต์โบเก้

สิ่งสำคัญคือไม่ควรลดค่า f มากจนเกินไป เนื่องจากอาจทำให้วัตถุที่อยู่ในแบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัสมากจนแทบมองไม่ออกว่าคืออะไร ควรปรับค่ารูรับแสงขณะถ่ายภาพเพื่อให้ได้ปริมาณเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เหมาะสม ดังเช่นในภาพตัวอย่างนี้ เอฟเฟ็กต์จะดูสมบูรณ์แบบมากสุดที่ค่า f/8 อีกทั้งยังสามารถมองเห็นวัตถุที่ส่วนแบ็คกราวด์ได้อย่างชัดเจน

f/11

 

f/4

 

ความรู้สึกมีชีวิตชีวา: ขยับเลนส์ของคุณเพื่อทำให้ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนเต็มไปด้วยความตื่นเต้น 

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 2 วินาที, EV-0.3)/ ISO 50/ WB: หลอดไฟทังสเตน

เทคนิคที่สองคือ การเพิ่มความสนุกสนานและพลังให้กับภาพถ่ายยามค่ำคืนด้วยการผสานการใช้เทคนิคระเบิดซูม (หรือที่เรียกกันว่าการเบลอซูม) และเทคนิคการเบลอโฟกัสเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ตัวแบบดูราวกับกำลังดื่มด่ำกับชีวิต แต่เนื่องจากจริงๆ แล้วตัวแบบอยู่นิ่งกับที่ ดังนั้นเทคนิคนี้จะได้ภาพตามที่ต้องการก็ต่อเมื่อพลิกแพลงการใช้งานกล้องแทนเท่านั้น

ระเบิดซูมเป็นวิธีที่ใช้สร้างเส้นแสงโดยการซูมเลนส์ในระหว่างที่เปิดชัตเตอร์ ซึ่งคุณสามารถใช้วิธีนี้เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ที่มีพลังได้ราวกับว่าตัวแบบกำลังเคลื่อนไหวเข้าหากล้อง 
ขณะเดียวกันการเบลอโฟกัสเป็นวิธีที่ค่อยๆ เบลอโฟกัสโดยการหมุนวงแหวนปรับโฟกัสขณะเปิดรับแสง ซึ่งสามารถใช้สำหรับถ่าย ภาพดอกไม้ไฟในเชิงศิลป์ ได้อีกด้วย 

แม้ว่าเทคนิคการระเบิดซูมและการเบลอโฟกัสทำให้คุณต้องใช้ทั้งสองมือเพื่อควบคุมวงแหวนซูมและวงแหวนโฟกัสไปพร้อมกัน แต่ขาตั้งกล้องก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในการลั่นชัตเตอร์ คุณอาจใช้ตัวตั้งเวลา 2 วินาทีได้ 

สำหรับวิธีที่ชาญฉลาดในการตั้งค่ากล้องนั้น ผมขอแนะนำให้ใช้ค่า f ที่น้อยลงเพื่อให้เห็นเอฟเฟ็กต์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่คุณอาจไม่มีเวลาปรับวงแหวนซูมและวงแหวนโฟกัสเท่าใดนักหากว่าความเร็วชัตเตอร์สูงเกินไป ซึ่งในกรณีเช่นนี้คุณสามารถลดความไวแสง ISO เพื่อรักษาความเร็วชัตเตอร์ให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ นอกจากนี้ คุณอาจลองพิจารณาเลือกใช้ฟิลเตอร์ ND ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฉากด้วยเช่นกัน

จุดที่ 1: การจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับเอฟเฟ็กต์ระเบิดซูม

เมื่อใช้เอฟเฟ็กต์ระเบิดซูม เส้นแสงจะมาบรรจบกันที่บริเวณกึ่งกลางภาพเสมอ ดังนั้น การนำการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางที่วางตัวแบบไว้ที่ศูนย์กลางภาพมาใช้จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังเช่นในตัวอย่างนี้ ชิงช้าสวรรค์ซึ่งเป็นตัวแบบหลักถูกจัดวางไว้ตรงกลางภาพ

 

จุดที่ 2: ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 2 วินาที

ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 2 ถึง 3 วินาทีเพื่อเผื่อเวลาสำหรับการควบคุมวงแหวนซูมและวงแหวนโฟกัส และเนื่องจากผมได้เลือกค่า f น้อยๆ เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่มีขนาดใหญ่ไว้แล้ว อันดับต่อไปผมจึงลดความไวแสง ISO เหลือ ISO 50 เพื่อที่จะกำหนดความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 2 วินาที

 

จุดที่ 3: ควบคุมทั้งการซูมและการโฟกัสไปในเวลาเดียวกัน

เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ตามที่แสดงไว้ในตัวอย่างด้านบน ให้จับโฟกัสไปที่ตัวแบบ แล้วลั่นชัตเตอร์ จากนั้น ใช้มือข้างหนึ่งหมุนวงแหวนซูมไปที่ฝั่งเทเลโฟโต้พร้อมกับใช้มืออีกข้างหนึ่งหมุนวงแหวนโฟกัสไปทางกล้อง นอกจากนี้ คุณยังสามารถหมุนวงแหวนทั้งสองไปในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อปรับเปลี่ยนเอฟเฟ็กต์ได้อีกด้วย

 

เอฟเฟ็กต์ระเบิดซูมและการเบลอโฟกัส

ตัวอย่างต่อไปนี้คือภาพที่ได้จากการใช้เอฟเฟ็กต์ระเบิดซูมและการเบลอโฟกัสแยกกัน ซึ่งเมื่อใช้เอฟเฟ็กต์ทั้งสองร่วมกัน คุณจะได้เอฟเฟ็กต์ดังที่แสดงไว้ในตัวอย่างด้านบน

การระเบิดซูม

 

การเบลอโฟกัส

 

 

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา