ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ตอนที่ 2] การถ่ายภาพเมฆหมอกด้วยการเปิดรับแสง 60 วินาที

2015-08-27
6
16.96 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานเป็นเทคนิคที่นำไปใช้ได้มากกว่าเพียงแค่การถ่ายภาพกลางคืน ในตอนที่สองของบทความนี้ ผมจะแนะนำเทคนิคที่เหมาะจะนำมาใช้ในการถ่ายภาพวิวตอนกลางวัน (เรื่องโดย: Aki Goto)

60 วินาที

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 121 มม./ Manual exposure(f/18, 60 วินาที)/ ISO 50/ WB: แสงแดด/ ฟิลเตอร์: ND400

ภาพเมฆหมอกบนฟ้าเหนือพื้นดินที่เกิดจากการตกตะกอนจากการปะทุของภูเขาไฟอะโซะเมื่อ 90,000 ปีก่อน ผมต้องการถ่ายภาพที่น่าหลงใหลสักภาพโดยถ่ายภาพซ้อนของกลุ่มเมฆพร้อมกับแสดงการดำเนินไปของเวลา

การถ่ายภาพโดยเปิดรับแสงนาน 60 วินาทีด้วยตัวตั้งเวลาปล่อยชัตเตอร์

ผมเจอหมู่ต้นไม้ที่มีความน่าหลงใหลและมีเมฆลอยอยู่เหนือต้นไม้บนภูเขาอันห่างไกลแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีเมฆหลายกลุ่มลอยมาตามลม ผมจึงคิดจะถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เพื่อให้เห็นชัดว่ากลุ่มเมฆเป็นตัวแบบหลัก ผมจัดองค์ประกอบโดยแบ่งหน้าจอออกเป็น 3 ส่วน 2 ใน 3 ส่วนบนเป็นพื้นที่สำหรับท้องฟ้า และพื้นดินอยู่ในพื้นที่ 1 ใน 3 ส่วนด้านล่าง

ผมติดตั้งกล้องเข้ากับขาตั้งกล้องบนพื้นถนน และถอดฮูดเลนส์ออกเพื่อให้กล้องไม่สั่นไหวตามแรงลม (เคล็ดลับที่ 1) จากนั้น ผมเพิ่มความมั่นคงให้ขาตั้งกล้องโดยการแขวนกระเป๋ากล้องเข้าที่แกนกลางของขาตั้งเพื่อถ่วงน้ำหนัก

เนื่องจากแสงมีความเข้มสูงมากในเวลากลางวัน การลดความไวแสง ISO เพียงอย่างเดียวจะไม่ช่วยลดความเร็วชัตเตอร์ลงมาก ดังนั้น ผมจึงใช้ฟิลเตอร์ ND ฟิลเตอร์ที่ผมใช้คือ ND400 ซึ่งสามารถกรองความเข้มแสงให้เทียบเท่ากับ 8.7 สต็อป ในภาพด้านบนนี้ ผมได้ปริมาณแสงที่เหมาะสมเพราะความเร็วชัตเตอร์ 60 วินาที โดยใช้การตั้งค่า ISO แบบขยาย ตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น 50 และลดขนาดรูรับแสงเป็น f/18 (เคล็ดลับที่ 2) เนื่องจากฟิลเตอร์ ND อาจทำให้ภาพมืดลงทั้งในช่องมองภาพและบนหน้าจอ Live View และทำให้โฟกัสยากขึ้น ผมจึงติดฟิลเตอร์เข้ากับกล้องหลังจากที่ระบบโฟกัสอัตโนมัติทำงานเสร็จแล้วเท่านั้น (ต้นไม้)

สิ่งสุดท้ายที่ต้องเตรียมคือตัวตั้งเวลาถ่ายภาพ ผมติดตั้งตัวตั้งเวลาเข้ากับกล้อง และป้อนเวลาเปิดรับแสงเป็นหน่วยวินาที ตัวตั้งเวลาถ่ายภาพช่วยป้องกันปัญหาจากความสั่นไหว ดังนั้น ดูให้แน่ใจว่าคุณเตรียมอุปกรณ์นี้ไว้พร้อมสำหรับการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนาน ตั้งค่าโหมดการถ่ายเป็นโหมดชัตเตอร์ B หากคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่เปิดรับแสงนานกว่า 30 วินาทีด้วยตัวตั้งเวลาการถ่ายภาพ ในการถ่ายภาพครั้งนี้ ผมตั้งเวลาชัตเตอร์ให้ปล่อยชัตเตอร์หลังจากผ่านไป 60 วินาที (เคล็ดลับที่ 3)

เคล็ดลับที่ 1 ถอดฮูดเลนส์

ระหว่างการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนาน กล้องจะสั่นเพราะแรงลมได้ง่าย ผมจึงถอดฮูดเลนส์ออกเพื่อลดพื้นที่ที่จะสัมผัสกับลม คุณอาจจะใช้ร่มหรือตัวคุณกันลมไว้ก็ได้เช่นกัน

*ภาพถ่ายสำหรับใช้เป็นภาพประกอบเท่านั้น ภาพถ่ายนี้ด้วยเลนส์รุ่นอื่น

เคล็ดลับที่ 2 เปิดรับแสงนาน 60 วินาที ใช้ค่ารูรับแสง f/18

แม้ว่าการเคลื่อนที่ของเมฆจะขึ้นอยู่กับความเร็วของแรงลมด้วย แต่ก็สามารถถ่ายภาพกลุ่มเมฆเหล่านี้จากระยะไกลโดยเปิดรับแสงนาน 60 วินาทีได้ ภาพนี้ถ่ายด้วยค่าการเปิดรับแสง 60 วินาทีที่รูรับแสง f/11 เนื่องจากเปิดรับแสงนานกว่าปกติ การเคลื่อนไหวของเมฆจึงถูกถ่ายทอดออกมาด้วย

เคล็ดลับที่ 3 ถ่ายด้วยรีโมทและตัวตั้งเวลา

รีโมทคอนโทรลที่ใช้คือ รีโมทควบคุมการตั้งเวลาถ่ายภาพ TC-80N3 ภาพนี้ถ่ายด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 60 วินาที

รีโมทควบคุมการตั้งเวลาถ่ายภาพ
TC-80N3

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Aki Goto

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "Landscapes" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "Water Silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน
http://gotoaki.com/

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา