ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพดอกไม้: วิธีสร้างวงกลมโบเก้ที่สว่างจ้าให้สวยแจ่มด้วยเลนส์มาโคร

2016-12-15
1
5.6 k
ในบทความนี้:

วงกลมโบเก้เกิดจากการใช้เลนส์มาโครถ่ายภาพแสงสะท้อนที่ส่องประกายบนทะเลสาบในส่วนแบ็คกราวด์ เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกพิเศษให้แก่ภาพถ่ายระยะใกล้ของดอกแดนดิไลออนริมทะเลสาบที่กำลังผลิบาน เราลองมาดูว่ามีการใช้เทคนิคอะไรบ้าง (เรื่องโดย Shinichi Eguchi)

 

แสงย้อนที่สะท้อนจากขอบของวัตถุสามารถสร้างวงกลมโบเก้ได้

EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/1,250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: เมฆครึ้ม
สายตาของผมสะดุดที่ดอกแดนดิไลออนใกล้ริมน้ำ ผมจึงจับภาพดอกไม้ในระยะใกล้ด้วยเลนส์มาโคร 180 มม. แทนที่จะใช้การถ่ายภาพซ้อนเพราะกลีบดอกไม้อยู่นอกโฟกัส ผมเลือกสร้างวงกลมโบเก้จากภาพสะท้อนบนผิวน้ำในส่วนแบ็คกราวด์

 

ผมนึกถึงการถ่ายภาพระยะใกล้ที่นำเสนอธรรมชาติของดอกแดนดิไลออนที่ขึ้นอยู่อย่างโดดเดี่ยว ซึ่งผมพบเจอที่ริมทะเลสาบ บริเวณขอบของดอกแดนดิไลออนและผิวน้ำส่องประกายวาววับเมื่อสะท้อนกับแสงย้อน ซึ่งเป็นสภาพการถ่ายที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างวงกลมโบเก้ เมื่อผมมั่นใจแล้วว่าจะสร้างวงกลมโบเก้ได้แน่นอน ผมจึงหันมาเลือกตำแหน่งและมุมถ่ายภาพ

สนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงกลมโบเก้และวิธีการสร้าง อ่านต่อได้ที่:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก

อุปกรณ์และการตั้งค่า

เลนส์: ผมเลือกเลนส์มาโครเทเลโฟโต้ 180 มม. เพื่อสร้างวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบของแสงสว่างในส่วนแบ็คกราวด์ พร้อมทั้งถ่ายทอดรายละเอียดของดอกไม้ที่มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ดูนุ่มนวล
รูรับแสง: ผมเลือกตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/3.5 
จุดโฟกัส: บนดอกแดนดิไลออน
อุปกรณ์อื่นๆ: ผมใช้วิธีถือกล้องถ่าย แต่หากคุณกังวลเกี่ยวกับปัญหากล้องสั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองในแง่ของทางยาวโฟกัสที่ยาว ขาตั้งกล้องก็อาจมีประโยชน์เช่นเดียวกัน
ข้อควรคำนึงอื่นๆ: เมื่อพิจารณาถึงความสมดุลของภาพถ่ายโดยรวมขณะที่ตรวจสอบเฟรมภาพ ผมลงมือถ่ายภาพครั้งแรกหลังจากทดลองถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพทิวทัศน์ต่างๆ แล้ว พื้นที่ที่อยู่ด้านล่างวงกลมโบเก้เป็นสีดำและดูมืดเกินไปเพียงเพราะว่าบริเวณผิวน้ำมืดสนิทเท่านั้น

 

ผมตั้งใจจะถ่ายภาพจากบริเวณที่ใบไม้ส่องประกาย

ในวันที่ถ่ายภาพ ท้องฟ้าโปร่งและลมสงบทำให้สามารถควบคุมบรรยากาศโดยรอบได้ ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาลอยกระจายอยู่บนผืนน้ำใกล้กับริมทะเลสาบ ขอบของใบไม้ส่องประกายวาววับ และมีดอกแดนดิไลออนที่กำลังผลิบานเพียงดอกเดียวยืนต้นอยู่ท่ามกลางผืนหญ้าริมน้ำนั้น ดอกแดนดิไลออนและกล้องอยู่ห่างจากกันในระยะเพียง 70 ซม. ถึง 80 ซม. ขณะที่ดอกแดนดิไลออนอยู่ห่างจากผืนน้ำราว 1 ม.

 

เคล็ดลับที่ 1: รูปร่างของเอฟเฟ็กต์โบเก้ซึ่งเกิดจากแสงที่เปลี่ยนแปลงไปตามค่า f

เมื่อใช้ค่า f/3.5 วงกลมโบเก้ีที่ได้จะเป็นทรงกลมมนสมบูรณ์แบบ แต่มองมากขึ้นเช่นโบเก้เหลี่ยมที่ f/11

f/3.5
EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200

f/11
EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/25 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200

 

เคล็ดลับที่ 2: คุณสามารถซ้อนวงกลมโบเก้เป็นชั้นๆ เพื่อให้ดูเหมือนไฟสปอตไลท์ได้

EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/400 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากดอกฟอร์เก็ตมีน็อตซึ่งผลิบานอยู่บริเวณริมน้ำ ผมสามารถสร้างรูปแบบของวงกลมโบเก้ขึ้นจากแสงสว่างในส่วนแบ็คกราวด์ได้โดยการซ้อนภาพสะท้อนหลายๆ ชั้นบนผืนน้ำที่กระเพื่อม ดังนั้น ดอกไม้จึงดูสว่างขึ้นด้วยแสงสปอตไลท์

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเคล็ดลับในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #8: ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม

 

การใช้งานเลนส์: โคลสอัพและทำให้ตัวแบบอยู่นอกโฟกัส

เลนส์มาโครเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพดอกแดนดิไลออนดอกเล็กๆ ในระยะใกล้อย่างเช่นภาพถ่ายบนสุดของบทความนี้

เลนส์มาโครมีทั้งหมดสามประเภทด้วยกัน ได้แก่ มาตรฐาน เทเลโฟโต้ระยะกลาง และเทเลโฟโต้ โดยแต่ละประเภทจะมีทางยาวโฟกัสแตกต่างกัน ยิ่งคุณเข้าใกล้ระยะเทเลโฟโต้มากเท่าใด เอฟเฟ็กต์โบเก้ก็จะยิ่งดูนุ่มนวลมากขึ้นเท่านั้น คุณจะได้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ดูนุ่มนวลเช่นเดิมขณะถ่ายภาพในระยะใกล้ที่อัตรากำลังขยายในระดับหนึ่งไม่ว่าจะใช้เลนส์ประเภทใดก็ตาม อย่างไรก็ดี เมื่อถ่ายภาพตัวแบบหลักของคุณจากระยะไกล เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ได้จะแตกต่างไปอย่างมาก

เลนส์มาโครเทเลโฟโต้ EF180mm f/3.5L Macro USM นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งหากคุณต้องการถ่ายภาพตัวแบบให้มีความนุ่มนวล หรือใช้โบเก้ช่วยจัดระเบียบแบ็คกราวด์ที่ดูยุ่งเหยิง

ดูไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพดอกไม้ได้ที่:
ดอกไม้ – การจัดองค์ประกอบภาพและคุณสมบัติเด่นของกล้องเพื่อการถ่ายภาพที่สื่อความหมายได้ดีเยี่ยม

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างเอฟเฟ็กต์เจ๋งๆ ด้วยเลนส์มาโคร โปรดดูที่:
การถ่ายภาพมาโคร: สร้างแบ็คกราวด์ไล่เฉดสีที่งดงามด้วยเลนส์ f/2.8
เทคนิคการใช้เลนส์มาโคร: ถ่ายภาพหยดน้ำที่ส่องประกายด้วยเลนส์มาโคร

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

Shinichi Eguchi

 

เกิดเมื่อปี 1953 ที่เมืองฟูชิมิ จังหวัดเกียวโต Eguchi เป็นสมาชิกของสมาคม Japan Professional Photographers Society (JPS) เขาถ่ายภาพได้หลากหลายแนว ตั้งแต่การถ่ายภาพสิ่งละอันพันละน้อยตามธรรมชาติอันน่าอัศจรรย์ในแบบมาโครไปจนถึงภาพทิวทัศน์ นอกจากเขาจะจัดงานนิทรรศการแสดงผลงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอแล้ว Eguchi ยังมีคอลเลคชั่นภาพถ่ายและหนังสือตีพิมพ์อีกมากมายด้วย

http://eguchi-shinichi.com/profile.html

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา