ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ภาพถ่ายรถไฟ] “หยุด” รถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงในสภาวะแสงที่มืด

2014-11-13
0
2.97 k
ในบทความนี้:

ด้วยกล้อง EOS 6D ที่มาพร้อมความไวแสง ISO ประสิทธิภาพดีเยี่ยม คุณจึงสามารถถ่ายภาพในบรรยากาศที่มีแสงน้อยให้คมชัดได้ โดยไร้ปัญหาจากอาการกล้องสั่นหรือภาพหลุดโฟกัส ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเคล็ดลับบางส่วนสำหรับการถ่ายภาพรถไฟในเวลากลางคืน (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki)

หน้า: 1 2

รถไฟหัวกระสุนที่กำลังลอดผ่านอุโมงค์

ในการถ่ายภาพรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงในที่มืด คุณจะต้องเพิ่มความไวแสง ISO และเลือกความเร็วชัตเตอร์ให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อไม่ให้ภาพรถไฟออกมาเบลอ แต่หากคุณกำลังถ่ายภาพรถไฟที่กำลังวิ่งเข้ามาทางด้านหน้าโดยใช้เลนส์เทเลโฟโต้ การ “หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ค่อนข้างช้า (เช่น 1/30 หรือ 1/60 วินาที) ก็สามารถทำได้ เพราะระยะทางการวิ่งในองค์ประกอบภาพนั้นไม่มาก นี่คือเทคนิคที่ผมแนะนำเมื่อคุณใช้เลนส์ “มืด” ที่มีค่า f ที่ให้รูรับแสงสูงหรือเมื่อคุณไม่สามารถเพิ่มความไวแสง ISO ได้

ISO 6400

EOS 6D/ EF300mm f/4L IS USM+EXTENDER EF1.4xIII/ FL: 420 มม./ Manual exposure (1/30 วินาที, f/5.6)/ ISO 6400/ WB: แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว

ปกติแล้วในอุโมงค์จะมืดทึบไม่มีแสงไฟใดๆ ยกเว้นที่หัวขบวนรถไฟเท่านั้น ตอนที่ผมถ่ายภาพนี้ โชคดีที่มีรถไฟฝั่งตรงข้ามอีกขบวนผ่านมาพอดี ทำให้ผมถ่ายภาพหัวขบวนรถไฟไว้ได้ในพริบตา

ISO 200

ในอุโมงค์รถไฟไม่มีแสงไฟ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะถ่ายภาพแสงของรถไฟให้เห็นได้ชัด ถ้าคุณไม่เพิ่มความไวแสง ISO

เทคนิค – มุ่งสร้างสมดุลที่เหมาะสมที่สุดระหว่างท้องฟ้าและแสงไฟ

มืดเกินไป

พอดี

ความสว่างของท้องฟ้ามีบทบาทสำคัญเมื่อคุณถ่ายภาพรถไฟในเวลากลางคืน แสงจากรถไฟอาจดูจ้าเกินไปหากบรรยากาศรอบข้างมืดมาก ทำให้เกิดแสงฟุ้งกระจายในเลนส์ อย่างในภาพ สิ่งสำคัญคือ เราต้องคอยถ่ายภาพในช่วงเวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกทันทีก่อนที่ท้องฟ้าจะมืดสนิท เพื่อที่ความสว่างของท้องฟ้าจะมีสมดุลพอเหมาะกับแสงไฟบนรถไฟ

ลดขนาดรูรับแสงเพื่อรวมวิวรอบข้าง

เมื่อคุณถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืน เช่น สถานีรถไฟ ผมแนะนำให้คุณลดขนาดรูรับแสงให้เล็กลงโดยเพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นแทนการใช้ระยะชัดตื้น การลดขนาดรูรับแสงจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง ทำให้ภาพของรถไฟพร่ามัว แต่เส้นแสงที่เกิดจากตัวรถไฟจะช่วยขับเน้นความโดดเด่นของสถานีรถไฟขึ้นมาได้

ISO 3200

EOS 6D/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 20 มม./ Manual exposure (1/4 วินาที, f/8)/ ISO 3200/ WB: แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว

สถานีโตเกียวดูมีชีวิตชีวาขึ้นเพราะตึกที่รายล้อมรอบข้าง เพื่อเก็บภาพวิวที่งดงามนี้ไว้ ผมแนะนำให้ลดขนาดรูรับแสงเพื่อเพิ่มความคมชัดให้กับภาพถ่าย เมื่อเลือกความไวแสง ISO สูง คุณจะสร้างสรรค์ภาพที่คมชัดและมีระยะโฟกัสแบบชัดลึกได้แม้ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง

“หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟไว้ระหว่างตึกสองฝั่ง

ความไวแสง ISO สูงๆ ช่วยให้คุณเลือกความเร็วชัตเตอร์สูงได้ โดยทั่วไป ภาพรถไฟที่กำลังวิ่งอยู่มักจะออกมาเบลอ หากคุณไม่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/1,000 วินาทีหรือเร็วกว่านั้น จึงเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะ “หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟเมื่อถ่ายภาพในยามค่ำคืน อย่างไรก็ตาม เมื่อเลือกเวลาและสถานที่ให้มีความเหมาะสม คุณจะสามารถถ่ายภาพรถไฟที่คมชัดได้โดยเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อเลือกความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น

ISO 5000

EOS 6D/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Manual exposure (1/320 วินาที, f/4)/ ISO 5000/ WB: แสงแดด

สถานที่ถ่ายตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟ ทำให้ “หยุด” การเคลื่อนที่ของรถไฟได้ง่ายขึ้น เพราะรถไฟยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่ค่อนข้างต่ำ แต่ด้วย ISO 200 ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/13 วินาทีนั้นช้าเกินไป และไม่มีทางที่จะถ่ายภาพรถไฟโดยไม่เบลอ ดังนั้น ผมจึงเพิ่มความไวแสง ISO เป็น ISO 5000 เพื่อ “หยุด” การวิ่งของรถไฟไว้ที่ 1/320 วินาที

ISO 200

ISO 5000

Yuya Yamasaki

เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ “Railman Photo Office” ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา

http://homepage1.nifty.com/yuya-yamasaki/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา