ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน: ทำอย่างไรเพื่อเบลอก้อนเมฆให้ได้ความรู้สึกเหนือจริงเมื่อถ่ายภาพอาคาร

2016-05-12
2
3.52 k
ในบทความนี้:

เมื่อถ่ายภาพอาคาร ควรถ่ายให้ติดก้อนเมฆด้วยหากมีเมฆอยู่บนท้องฟ้า การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อเบลอก้อนเมฆจะช่วยขับเน้นความเคลื่อนไหวของก้อนเมฆให้ปรากฏในภาพของคุณ ในบทความต่อไปนี้ ผมจะอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียดสำหรับการถ่ายภาพดังกล่าว ตั้งแต่การวางองค์ประกอบไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

 

ขั้นตอนที่ 1: ยืนอยู่ในทิศทางของแสงและถ่ายทั้งตัวอาคารและตัวแบบที่อยู่ในฉากหลัง

เมื่อถ่ายภาพอาคารในวันที่มีแสงแดด คุณสามารถใช้ประโยชน์จากแสงทางตรงเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดของทั้งตัวแบบและฉากหลัง เมื่อลองถ่ายครั้งแรก ผมพยายามจัดองค์ประกอบโดยให้มีทั้งหอคอยและโดม แต่กลับมีองค์ประกอบที่ไม่ต้องการ เช่น ผู้คน เข้ามาอยู่ในภาพด้วย เนื่องจากผมยืนอยู่ห่างจากตัวแบบพอสมควร ครั้งที่สองผมจึงเปลี่ยนมาถ่ายในแนวตั้งและยกกล้องขึ้นเล็กน้อยเพื่อถ่ายภาพมุมต่ำ

 

ขั้นตอนที่ 2: จัดวางองค์ประกอบและเบลอการเคลื่อนไหวของก้อนเมฆด้วยการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

ในภาพนี้ ผมเลือกตำแหน่งที่สามารถมองเห็นทั้งโดมและหอคอยได้จากมุมเดียวกัน และลองสร้างเอฟเฟ็กต์เบลอตรงก้อนเมฆด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ อย่างไรก็ตาม การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในเวลากลางวันทำให้ท้องฟ้าดูสว่างจ้าเกินไป
การตั้งค่าที่ผมใช้คือ: ISO 100 ค่ารูรับแสง: f/22 ความเร็วชัตเตอร์: 10 วินาที

 

ขั้นตอนที่ 3: ใช้ฟิลเตอร์ ND เพื่อเบลอก้อนเมฆโดยใช้การเปิดรับแสงที่เหมาะสม

ผมใช้ฟิลเตอร์ ND (ND400) เพื่อลดปริมาณแสงในภาพนี้ การตั้งค่าที่ผมใช้คือ ISO 100 ค่ารูรับแสง: f/20 ความเร็วชัตเตอร์: 60 วินาที ทำให้ผมสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่งดงามให้กับการเคลื่อนไหวของก้อนเมฆได้

 

ขั้นตอนที่ 4: ปรับสมดุลแสงขาวเพื่อเน้นทั้งตัวอาคารและก้อนเมฆ

โหมด Bulb (f/22, 60 วินาที)/ FL: 20 มม. /ISO 100/ WB: อัตโนมัติ/ WB (อุณหภูมิสี): 6000K/ ฟิลเตอร์ ND: ND400 อุปกรณ์เสริมที่ใช้: ขาตั้งกล้อง รีโมท
และขั้นสุดท้าย ผมลดระดับการเปิดรับแสงลงเล็กน้อยและปรับโทนสีเหลืองขึ้นเพื่อเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกให้กับตัวอาคารและก้อนเมฆ คุณสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะกับความเร็วของก้อนเมฆที่กำลังเคลื่อนไหว

 

เปลี่ยนการเคลื่อนไหวของก้อนเมฆให้กลายเป็นจุดเด่นต่อสายตา

ในการถ่ายภาพอาคาร คุณสามารถเปลี่ยนวิธีแสดงตัวแบบได้โดยการปรับเปลี่ยน เช่น เปลี่ยนตำแหน่งของคุณ ในขณะเดียวกัน การรวมเอาองค์ประกอบอื่นเข้ามาอยู่ในภาพก็จะช่วยให้คุณขยายขอบเขตการแสดงออกทางภาพถ่ายของคุณได้กว้างขึ้น วิธีที่นิยมคือการหันความสนใจของผู้ชมไปที่ก้อนเมฆบนท้องฟ้า

ซึ่งทำได้โดยเริ่มจากจัดองค์ประกอบภาพด้วยขาตั้งกล้อง จากนั้นถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมที่สุดคือมากกว่า 30 วินาที การสร้างเอฟเฟ็กต์เบลอที่ก้อนเมฆจะช่วยเพิ่มความรู้สึกเหนือจริงให้แก่ตัวอาคาร นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ฟิลเตอร์ ND เพื่อถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำตามที่คุณต้องการได้ด้วย 

สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาอีกข้อหนึ่งคือสัดส่วนของท้องฟ้า คุณสามารถสร้างความรู้สึกโล่งกว้างในภาพได้โดยการใช้มุมต่ำเพื่อให้ได้องค์ประกอบของท้องฟ้าในสัดส่วนที่ใหญ่

 

 

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา