ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพทิวทัศน์ดวงดาวอันน่าทึ่ง: การถ่ายภาพหิ่งห้อยที่สว่างไสวท่ามกลางท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว

2016-09-15
0
3.59 k
ในบทความนี้:

ภาพด้านล่างนี้โดดเด่นด้วยท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวและแสงสว่างจากหิ่งห้อย ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเคล็ดลับบางประการในการสร้างภาพเส้นแสงอันน่ามหัศจรรย์ด้วยการเปลี่ยนเวลาการเปิดรับแสง (เรื่องโดย Shigemi Numazawa)

ภาพ A

 

ข้อมูลการถ่ายภาพ

  • กล้อง: EOS-1D X เลนส์: EF24mm f/1.4L II USM

    ทางยาวโฟกัส: 24 มม. โหมดการเปิดรับแสง: Manual

    ค่า F: f/1.4

    ความเร็วชัตเตอร์: 4 วินาที x 859 เฟรม (ผสานกัน)

    ISO: 8000

    ค่าสมดุลแสงขาว: อัตโนมัติ (ขณะถ่ายภาพ) 4,100K (ระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ)

    การตั้งค่า: การลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูง – ต่ำ การลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นาน – ปิด

    สภาพการถ่าย: ติดตั้งบนขาตั้งกล้อง

     

เคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้สวยงาม

A: ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของป่าและท้องฟ้าในภาพของคุณ

B: จัดองค์ประกอบภาพของคุณโดยเลือกฝูงหิ่งห้อยที่รวมตัวกันอยู่หนาแน่น

กำหนดสัดส่วนของท้องฟ้าจนถึงพื้นดินอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงวิธีกระจายตัวของหิ่งห้อย

 

จุดสำคัญ: ปรับเวลาการเปิดรับแสงเพื่อเปลี่ยนลักษณะของเส้นแสงจากหิ่งห้อย

หนึ่งในจุดสำคัญสำหรับการถ่ายภาพหิ่งห้อยคือ คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ที่หิ่งห้อยอาศัยอยู่ และกำหนดเวลาที่เหมาะเจาะที่สุดสำหรับการถ่ายภาพ โดยเวลาที่ดีที่สุดอาจเป็นช่วงกลางคืนที่สภาพอากาศค่อนข้างปลอดโปร่ง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าหิ่งห้อยจะออกมาในเวลากลางคืนจนถึงเวลาประมาณสามทุ่ม

ในบทความนี้ภาพที่ถ่ายเป็นภาพหิ่งห้อยในประเทศญี่ปุ่นจำนวนสองสายพันธุ์คือ "หิ่งห้อย Genji" ที่มีแสงแวววาวเป็นทางยาว และ "หิ่งห้อย Heiki" ที่มีแสงวาบสั้นๆ เมื่อเราถ่ายภาพหิ่งห้อยในเวลากลางคืน หิ่งห้อยจะปรากฎเป็นจุดแสง ซึ่งแต่ละจุดจะเกิดจากการรวมตัวของหิ่งห้อยราว 10 ตัว

ในภาพ A ผมได้ภาพที่ผสานกันโดยใช้การเปิดรับแสงซ้ำๆ ที่ 4 วินาที และถ่ายภาพ 800 ภาพตลอดระยะเวลาประมาณ 57 นาที หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการถ่ายภาพหิ่งห้อยก็คือ เส้นแสงที่เกิดจากหิ่งห้อยสามารถนำมาปรับแต่งได้ตามจำนวนของภาพที่คุณนำมาผสานกัน คุณจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับการสื่ออารมณ์ของภาพถ่ายที่หลากหลายได้

EOS-1D X/ EF24mm f/ 1.4L II USM/ Manual exposure (f/1.6, 6 วินาที)/ ISO 8000

ภาพนี้เป็นภาพที่ใช้การเปิดรับแสงแบบผสมผสานซึ่งใช้ระยะเวลาในการถ่ายภาพประมาณ 5 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับภาพ A เส้นแสงของดวงดาวจะสั้นกว่ามาก และสามารถมองเห็นรูปร่างของทางช้างเผือกได้ชัดเจนอีกด้วย

 

เคล็ดลับ: ถ่ายภาพหิ่งห้อยให้เหมือนจริง

ในภาพตัวอย่างด้านล่าง ผมใช้กล้องตัวเดียวกันและใช้เลนส์ที่ตั้งค่าความไวแสง ISO และความเร็วชัตเตอร์ที่ ISO 20000 และ 1/2 วินาทีตามลำดับ จากนั้นนำภาพสองสามภาพมาผสานเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภาพถ่ายจากฉากเดียวกันกับที่ผมได้เจอ แม้ว่าภาพที่ได้อาจดูไม่น่าตื่นตาตื่นใจมากนัก แต่ก็สามารถสื่ออารมณ์ของภาพที่ลึกซึ้งได้

EOS-1D X/ EF24mm f/ 1.4L II USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/1.6, 0.5 วินาที)/ ISO 20000

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

 

Shigemi Numazawa

 

เกิดเมื่อปี 1958 ที่จังหวัดนีงะตะ Numazawa เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์และภาพประกอบทางดาราศาสตร์เป็นหลัก เขาเคยมีส่วนร่วมในโครงการของรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายโครงการที่จัดทำขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ NHK อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพประจำ National Geographic Tour และได้รับรางวัล Good Life Award จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ญี่ปุ่น) อีกด้วย

http://www.jplnet.com/

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา