ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ

2017-01-12
3
10.13 k
ในบทความนี้:

ในการถ่ายภาพอาคารให้ดูสวยงามน่าทึ่งนั้น การจัดองค์ประกอบภาพมีความสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นสิ่งที่กำหนดวิธีการวางตัวแบบในเฟรมภาพ ในตอนที่ 3 ของบทความต่อเนื่องทั้ง 4 ตอนนี้ เราจะมาดูเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยทำให้ภาพของคุณดูโดดเด่นสะดุดตา (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)

 

รวมผู้คนไว้ในฉากที่ถ่ายด้วย

แม้ว่าคุณจะต้องการแค่ถ่ายภาพอาคารเท่านั้น แต่่ส่วนใหญ่แล้ว จุดหมายปลายทางสำหรับนักท่องเที่ยวมักจะมีผู้คนอยู่ในบริเวณรอบๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น แม้ว่าหลายครั้งคุณอาจต้องรอจนกระทั่งไม่มีใครอยู่ใกล้ๆ แล้วก็ตาม แต่คุณก็ควรรวมผู้คนไว้ในภาพถ่าย เพื่อให้ภาพถ่ายของคุณสมบูรณ์แบบที่สุดด้วย เนื่องจากวิธีนี้อาจช่วยให้คุณสื่อถึงขนาดของอาคารที่คุณถ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร ดังนั้น ควรพยายามถ่ายภาพผู้คนเมื่อพวกเขาอยู่ในตำแหน่งที่ไม่บดบังทัศนียภาพของอาคาร หรือเมื่อใครบางคนกำลังทำท่าทางที่น่าสนใจ

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/250 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: อาคารเมจิ ยะซุดะ เซเมอิ เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

ใช้เลนส์เทเลโฟโต้และจัดให้อาคารอยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ของภาพ

เลนส์เทเลโฟโต้คือเลนส์ที่มีมุมรับภาพแคบ ซึ่งใช้ถ่ายภาพบางส่วนของทิวทัศน์ หลังจากตัดสินใจเลือกตัวแบบหลักแล้ว วิธีที่คุณจัดวางอาคารไว้ในส่วนแบ็คกราวด์จะทำให้ภาพถ่ายแตกต่างไปอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่คุณยืนและมุมที่คุณจัดวางกล้องด้วย ตัวอย่างเช่น การจัดวางดอกไม้ให้อยู่ด้านหน้าอาคารซึ่งเป็นตัวแบบหลักพร้อมกับรวมเอาส่วนที่โดดเด่นที่สุดของอาคารไว้ในส่วนแบ็คกราวด์จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับอาคารได้

หากต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติเด่นของเลนส์เทเลโฟโต้ โปรดอ่านบทความนี้:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #7: อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.

EOS M/ EF-M55-200mm f/4.5-6.3 IS STM/ FL: 100 มม. (160 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/125 วินาที)/ ISO 2500/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: สถานีรถไฟโตเกียว เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 44 มม./ Aperture-priority AE (f/4.0, 1/40 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: พิพิธภัณฑ์มิตซูบิชิ อิจิโงคัง (Mitsubishi Ichigokan Museum) เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

ถ่ายภาพผู้คนที่กำลังเคลื่อนไหวให้ออกมาเบลอโดยใช้ชัตเตอร์ต่ำ

ในการถ่ายภาพอาคาร เมื่อคุณรวมผู้คนไว้ในเฟรมภาพและมีคนอยู่เต็มในส่วนโฟร์กราวด์ อาจมีแนวโน้มที่สายตาของผู้ชมจะไปจดจ่อที่ใบหน้าของบุคคลแทน ในกรณีเช่นนี้ ให้ลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในการถ่ายภาพ โดยการเบลอผู้คน เช่น เมื่อถ่ายภาพผู้คนที่เบลอจากการเคลื่อนไหว คุณจะสามารถป้องกันไม่ให้สายตาของผู้ชมไปอยู่ที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในฝูงชนนั้น ซึ่งจะทำให้ภาพถ่ายอาคารดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น และเนื่องจากปัญหากล้องสั่นเกิดขึ้นง่ายมากเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ดังนั้น เมื่อคุณถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือ ให้ตั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่ประมาณ 1/4 วินาที และวางกล้องให้มั่นคง

อ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อสร้างภาพเบลอแบบตั้งใจได้ที่:
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 1/4 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพการถ่าย: สว่างแต่มีเมฆมาก/ สถานที่: พิพิธภัณฑ์มิตซูบิชิ อิจิโงคัง (Mitsubishi Ichigokan Museum) เขตมารุโนะอุชิ โตเกียว

 

การตั้งค่าสำหรับถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

สำหรับผู้เริ่มใช้งาน ผมขอแนะนำให้ใช้โหมด Aperture-priority AE (Av) พร้อมกับตั้งค่า f ให้สูง (เช่น f/22) และความไวแสง ISO ต่ำ (ISO100) ซึ่งจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง
(เรียนรู้เกี่ยวกับ โหมดการเปิดรับแสงอัตโนมัติต่างๆ ในบทความนี้)

ในทางตรงกันข้าม หากคุณต้องการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ค่าใดค่าหนึ่ง ให้ใช้โหมด Shutter speed-priority AE (Tv) และเมื่อคุณเลือกความเร็วชัตเตอร์แล้ว (เช่น 1/4 วินาที) กล้องจะกำหนดความไวแสง ISO และค่า f ให้คุณโดยอัตโนมัติ

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

 

 

Takeshi Akaogi

 

ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย

http://www.flipphoto.org

 

Etica

 

ทีมงานเบื้องหลังนิตยสารกล้องสัญชาติญี่ปุ่น "Camera Biyori" และหนังสืออื่นๆ อีกมากมาย จัดงานอีเว้นต์ต่างๆ และเปิดโรงเรียนสอนถ่ายภาพ "Tanoshii Camera School"

https://etica.jp

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา