ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิว EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM: เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ให้มุมมองภาพอันทรงพลัง

2017-05-11
0
11.79 k
ในบทความนี้:

EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM คือเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ในซีรีส์ EF-M หนักประมาณ 220 กรัม และมีขนาดกะทัดรัดเหมาะกับกล้องซีรีส์ EOS M ที่มีขนาดเล็กมาก เลนส์รุ่นนี้ครอบคลุมมุมรับภาพสำหรับถ่ายภาพทิวทัศน์ จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะพกพาไปด้วยขณะเดินทาง ในบทความนี้ เราจะรีวิวคุณสมบัติต่างๆ ของเลนส์ พร้อมเผยเคล็ดลับการใช้เลนส์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (เรื่องโดย: Yoshiki Fujiwara)

 

กำลังการแยกรายละเอียดโดดเด่นตลอดระยะโฟกัส

จุดเด่นของเลนส์ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM ไม่ได้อยู่ที่ขนาดกะทัดรัดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีกำลังการแยกรายละเอียดอันยอดเยี่ยมที่ทุกทางยาวโฟกัสภายในระยะโฟกัสของเลนส์อีกด้วย เมื่อใช้งานที่ระยะมุมกว้าง 11 มม. เลนส์ให้ความละเอียดคมชัดแม้แต่บริเวณรอบขอบภาพ และมีความคลาดน้อยมาก

เมื่อคุณลดขนาดรูรับแสงลงมากกว่า f/11 ความละเอียดของภาพจะลดลงอันเนื่องจากมักเกิดการกระจายแสง ผมขอแนะนำให้คุณลดขนาดรูรับแสงลงไม่เกิน f/8 เพื่อให้เลนส์สามารถแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่

ขณะที่ระยะโฟกัสใกล้สุดที่ 15 ซม. ช่วยให้เข้าใกล้ตัวแบบได้มากเพื่อถ่ายภาพระยะใกล้ คุณยังสามารถเก็บภาพทิวทัศน์กว้างใหญ่ไพศาลได้ด้วยความสามารถของมาโครกว้าง หรือสร้างเอฟเฟ็กต์บิดเบี้ยวได้อย่างง่ายดายโดยใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริง

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 25 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ผมลดขนาดรูรับแสงลงเพื่อใช้การโฟกัสแบบแพนกล้อง และถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ 25 วินาที เพื่อเบลอสายน้ำไหลในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านล่างซ้ายของภาพ

 

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

ผมถ่ายภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านช่องว่างของโขดหิน ซึ่งปกคลุมด้วยตะไคร่น้ำ และลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/8 เพื่อเสริมความรู้สึกที่สงบผ่อนคลาย

 

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 13 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพนี้เป็นภาพที่คุณจะได้ชื่นชมความงดงามขณะมองดูดินแดนอันกว้างใหญ่ของเมืองอะโซะ (จังหวัดคุมาโมโตะ) เมื่อใช้ระยะมุมกว้างที่ 11 มม. ผมสามารถบันทึกการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ในยามเช้าท่ามกลางหมู่เมฆที่สวยงาม

 

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (f/16, 1/100 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ผมมองหาตำแหน่งที่แสงแดดสามารถลอดผ่านช่องว่างระหว่างกิ่งไม้ พร้อมกับถ่ายภาพโดยใช้ค่ารูรับแสง f/16 จากนั้น เพิ่มความโดดเด่นให้กับแฉกแสงที่เปล่งรัศมีถึง 14 แฉก

 

เคล็ดลับการใช้งาน #1: ใช้ความบิดเบี้ยวกับตัวแบบ

เราสามารถสร้างมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงโดยใช้เลนส์มุมกว้าง และทำให้วัตถุบางอย่างที่อยู่ใกล้ดูใกล้ขึ้นและวัตถุที่อยู่ไกลดูไกลมากขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้น ตัวแบบจึงดูแคบขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้บริเวณกึ่งกลางภาพมากขึ้นด้วย หากคุณสามารถใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์มุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงได้ คุณจะได้ภาพถ่ายที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

ถ่ายภาพโดยเข้าใกล้ตัวแบบ

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ผมขยับเข้าใกล้ลำต้นของต้นไม้ให้มากที่สุดเพื่อสร้างความบิดเบี้ยว จากนั้นจึงกดชัตเตอร์ โดยหงายหน้าเลนส์ขึ้นไปตามแนวของลำต้น เมื่อใช้วิธีนี้ เลนส์มุมกว้างจะสร้างมุมมองใหม่ที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เนื่องจากรูปทรงของตัวแบบจะผิดแผกไปจากที่เราเคยมองเห็นด้วยตาเปล่า

 

ถ่ายภาพรวมโดยไม่ขยับเข้าใกล้ตัวแบบ

EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อผมถ่ายภาพต้นไม้โดยรวมโดยไม่ขยับเข้าใกล้ลำต้น ใบไม้สีแดงจะมองเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี ภาพที่ออกมาดูเหมาะที่จะเป็นบันทึกข้อมูลภาพถ่ายมากกว่า

ต้องการอ่านเพิ่มเติม โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

 

เคล็ดลับการใช้งาน #2: ปรับรูรับแสงให้แคบลงเหลือ f/16 เพื่อขับเน้นแฉกแสงที่สวยงาม

คุณสามารถสร้างแฉกแสงได้ง่ายๆ โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงที่มีแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ หรือแสงเทียม ในการทำเช่นนี้ ต้องใช้ Aperture-priority AE หรือการเปิดรับแสงแบบแมนนวล แล้วปรับรูรับแสงให้แคบลงมากที่สุด

ในช่วงกลางวัน ดวงอาทิตย์อาจเป็นตัวเลือกที่คุณใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด แต่หากลงมือถ่ายภาพทันที อาจมีแสงจ้าเกินไปในภาพได้ ดังนั้น ผมจึงขอแนะนำให้คุณจัดองค์ประกอบภาพโดยให้ดวงอาทิตย์ปรากฏเพียงเล็กน้อย เช่น ในลักษณะที่ส่องแสงลอดผ่านใบไม้

ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในภาพถ่าย มักเป็นเรื่องที่ช่างภาพต้องตัดสินใจอยู่บ่อยๆ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดอ่าน:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่

เลนส์รุ่นนี้มีรูัรับแสงทรงกลมแบบ 7 กลีบ การปรับให้รูรับแสงแคบลงที่ระหว่าง f/11 ถึง f/14 จะสร้างแฉกแสงที่ช่วยเพิ่มจุดเด่นให้กับภาพถ่ายของคุณได้ และเนื่องจากเลนส์มีระยะชัดลึก จึงมีข้อดีอย่างหนึ่งคือ สามารถโฟกัสแบบแพนกล้องอย่างคมชัดตั้งแต่ด้านหน้าภาพตลอดจนถึงสุดขอบภาพ

 

ในโหมด Aperture-priority AE ปรับรูรับแสงให้แคบลงจนกว่าแฉกแสงจะปรากฏขึ้น

ในโหมด Aperture-priority AE ผมตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/16 และตั้งความเร็วชัตเตอร์และความไวแสง ISO ให้มีระดับแสงที่เหมาะสม นอกจากนี้ ควรใช้ขาตั้งกล้องหากคุณต้องการถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

 

ซ้าย: f/16
ขวา: f/4

ทั้งสองภาพ: EOS M5/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Aperture-priority AE (1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อเปรียบเทียบกับภาพถ่ายที่ใช้ค่า f/4 คุณจะบอกได้เลยว่าแฉกแสงดูเด่นชัดกว่ามากเมื่อใช้ค่า f สูงขึ้น

 

สรุป: เลนส์ที่เหมาะสำหรับถ่ายภาพทิวทัศน์และท่องเที่ยว

เลนส์มุมกว้างมีความสามารถในการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ทรงพลัง และแน่นอนว่าผมขอแนะนำให้คุณใช้เลนส์รุ่นนี้เพื่อถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ที่งดงามและกว้างใหญ่ไพศาลมากเกินกว่าขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์ นอกจากนี้ ขนาดที่กะทัดรัดของ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM ยังทำให้เลนส์รุ่นนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์และท่องเที่ยวอย่างมาก หากคุณต้องการพกติดตัวออกไปถ่ายภาพ ผมขอแนะนำให้คุณซื้อเลนส์ฮูดแยกต่างหากด้วยเช่นกัน

 

 

Lens Hood EW-60E

 

ข้อมูลจำเพาะ

A: เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม
B: ชุดทำงานระบบ IS

เทียบเท่ากับทางยาวโฟกัส 35 มม.: 18 - 35 มม.
โครงสร้างเลนส์: 12 ชิ้นเลนส์ใน 9 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด: 0.15 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.3 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: φ55 มม.
ขนาด: ประมาณ φ60.9 × 72.9 มม. (สูงสุด)
น้ำหนัก: ประมาณ 220 กรัม

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshiki Fujiwara

แต่เดิม Fujiwara เคยเป็นนักสโนว์บอร์ดมืออาชีพ ต่อมาได้ผันตัวเข้าสู่อาชีพที่สองในฐานะช่างภาพหลังจากเลิกเล่นสโนว์บอร์ดเพราะอาการบาดเจ็บ เขามุ่งหาวิธีใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติเพื่อสร้างความรู้สึกโปร่งแสง และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาด้วยตนเองทำให้ภาพถ่ายของเขาได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน “10 ภาพที่แชร์กันอย่างแพร่หลายของ Tokyo Camera Club”

http://www.yoshiki-fujiwara.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา