ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

EOS 80D บทสัมภาษณ์นักพัฒนากล้อง (ตอนที่ 1): การปรับปรุงครั้งสำคัญสำหรับประสิทธิภาพการโฟกัสอัตโนมัติ

2016-05-26
3
2.87 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS 80D อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ โดยในบทสัมภาษณ์ชุดนี้ นักพัฒนาจะเล่าถึงแนวคิดและกระบวนการในการพัฒนากล้อง EOS 80D สำหรับในส่วนที่ 1 นี้ เราได้ถามเกี่ยวกับลูกเล่นและฟังก์ชั่นใหม่ๆ สำหรับผู้ใช้ โดยเน้นที่การปรับปรุงครั้งสำคัญในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบโฟกัสอัตโนมัติอย่าง Dual Pixel CMOS AF (ผู้สัมภาษณ์: Ryosuke Takahashi   Group ภาพโดย: Takehiro Kato)

(แถวหลัง จากซ้ายมือ)
Kohei Furuya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Koji Ikeda (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Terutake Kadohara (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Takashi Ichinomiya (ศูนย์วิจัยและพัฒนา ICP 2)/ Yuichiro Sugimoto (แผนก ICP 1)

(แถวหน้า จากซ้ายมือ)
Takashi Kishi (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Masahiro Kobayashi (แผนก ICP 2)/ Nobuyuki Inoue (ศูนย์พัฒนา ICP 2)/ Koji Sato (ศูนย์พัฒนา ICP 1)/ Yutaka Watanabe (ศูนย์พัฒนา ICP 1)

 

Dual Pixel CMOS AF ที่พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

- แนวคิดสำหรับ EOS 80D คืออะไรครับ?

Kobayashi: เราใช้แนวคิด "ความเป็นมืออาชีพผสมผสานกับแนวคิดดั้งเดิม" EOS 80D มีฟังก์ชั่นการถ่ายภาพระดับมืออาชีพที่เทียบชั้นได้กับกล้องรุ่นสูงๆ และยังมาพร้อมกับการปรับปรุงคุณสมบัติดั้งเดิมของกล้อง EOS 70D Canon มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับ "ความเร็ว ความสะดวกสบาย และคุณภาพ" อันเป็นแนวคิดเบื้องหลังการพัฒนากล้อง EOS ซึ่งเป็น DSLR ระดับกลาง สิ่งสำคัญคือกล้องระดับนี้จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการสร้างภาพถ่ายที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพยิ่งขึ้นได้ โดย EOS 80D ได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดนี้

- Dual Pixel CMOS AF ได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างไร?

Kadohara: สิ่งแรกคือ การทำงานของ Dual Pixel CMOS AF ไม่ได้มีข้อจำกัดอยู่ที่ประเภทของเลนส์ที่ใช้อีกต่อไป Dual Pixel CMOS AF ในกล้อง EOS 80D สามารถสร้างโฟกัสสำหรับเลนส์ EF ได้ทุกรุ่นที่รองรับการโฟกัสอัตโนมัติและยังสามารถใช้ร่วมกับท่อต่อเลนส์ได้ นอกจากนั้น กล้อง EOS 80D ยังรองรับการถ่ายภาพแบบ Live View ต่อเนื่องด้วย Servo AF ได้อีกด้วย โดยเป็นกล้อง EOS รุ่นแรกที่มาพร้อมกับ Dual Pixel CMOS AF

 

DUAL PIXEL CMOS AF

ไฟโตไดโอดสองอันที่สามารถนำมาใช้สำหรับการโฟกัสอัตโนมัติได้นั้นจะถูกจัดเรียงอยู่ภายในหนึ่งพิกเซล ไฟโตไดโอดจะตรวจหาตำแหน่งของตัวแบบในรูปแบบของคลื่น จากนั้น การจัดแนวภาพที่ไม่ถูกต้องในรูปแบบของคลื่นนี้จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณระยะห่างระหว่างตัวแบบและขยับองค์ประกอบเลนส์โฟกัสไปยังตำแหน่งโฟกัสที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว ซึ่งกลไกนี้จะแตกต่างจาก Contrast AF อย่างมาก

- ช่วยเล่าถึงข้อดีในมุมมองของผู้ใช้สำหรับเซ็นเซอร์ภาพแบบใหม่นี้ให้เราฟังหน่อยครับ

Kishi: เราพยายามหาวิธีการหลากหลายวิธีที่จะปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่ายและความเร็วในการถ่ายภาพ ซึ่งในตอนนี้ ผู้ใช้สามารถเพลิดเพลินไปกับภาพถ่ายที่คมชัดขึ้นที่ประมาณ 24.2 เมกะพิกเซล อีกทั้งยังมีช่วงความไวแสงปกติอยู่ที่ ISO 100 ถึง 16000 และมีความเร็วในการถ่ายภาพนิ่งสูงสุดประมาณ 7 ภาพต่อวินาที  นอกจากนี้ เซ็นเซอร์ภาพแบบใหม่นี้ยังรองรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวทั้งในระบบ Full HD และ 60p รวมถึง Dual Pixel CMOS AF ได้อีกด้วย

- ผมเชื่อว่าจากจำนวนพิกเซลที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ได้มีการแก้ไขใดๆ ระหว่างการพัฒนาเซ็นเซอร์ภาพแบบใหม่นี้ไหมครับ?

Kishi: นอกจากการอ่านข้อมูลจากเซ็นเซอร์ CMOS แล้ว ประสิทธิภาพของระบบประมวลผลภาพยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่จริงแล้ว DIGIC 6 มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการทำให้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวในระบบ Full HD แบบ 50p/60p ได้ จึงกล่าวได้ว่าการผสมผสานระหว่างเซ็นเซอร์ภาพกับระบบประมวลผลนี้ทำให้ความเร็วและจำนวนพิกเซลสูงขึ้น

- ผมเชื่อว่าในทางเทคนิคแล้ว เป็นเรื่องท้าทายที่จะใช้ Dual Pixel CMOS AF บนเซ็นเซอร์ภาพในขณะที่จำนวนพิกเซลที่เพิ่มขึ้น ใช่ไหมครับ?

Kishi: ผมต้องขออภัยหากอธิบายในเชิงนามธรรมมากเกินไป แต่เราพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ขึ้นมาจำนวนมากและใช้ความพยายามอย่างมาก ตั้งแต่การอ่านข้อมูลจากพิกเซลไปจนถึงการส่งผ่านวงจรและการประมวลผลโดยระบบประมวลผลภาพ และเรายังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการลดขนาดของเซ็นเซอร์ภาพ

 

ประโยชน์ของการมีจุด AF 45 จุด

- การเพิ่มจำนวนจุด AF เป็น 45 จุด มีประโยชน์อย่างไรในการถ่ายภาพ?

Kadohara: เมื่อเทียบกับ AF 19 จุดแล้ว เราได้เพิ่มจุด AF ในแนวทแยงมุมที่มุมตรงข้ามของมุมรับภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดองค์ประกอบภาพ จุด AF จำนวนมากยังช่วยให้สร้าง "พื้นผิว" ของจุด AF ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อใช้การเลือก AF 45 จุดอัตโนมัติจะช่วยป้องกันไม่ให้โฟกัสตกไปอยู่ที่ฉากหลังแทนที่จะอยู่ที่ตัวแบบที่ต้องการ ในขณะเดียวกัน ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวอีกด้วย

- จากการเพิ่มจำนวนจุด AF 19 จุดเป็น 45 จุด ได้มีการปรับปรุงให้สามารถครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นเท่าใด?

Kadohara: เราได้ปรับปรุงให้สามารถครอบคลุมพื้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 120% หรือประมาณ 2.2 เท่า

- ในระหว่างการพัฒนากำหนดเลย์เอาต์ของจุด AF มีสิ่งใดที่คุณให้ความสนใจเป็นพิเศษหรือไม่

Kadohara: จุด AF 45 จุดของกล้อง EOS 80D พัฒนามาจาก AF 65 จุดที่ใช้บนระบบของกล้อง EOS 7D Mark II ในระหว่างการพัฒนา EOS 7D Mark II เราพยายามที่จะทำให้สามารถถ่ายภาพตัวแบบด้วย "พื้นผิว" ของจุด AF ซึ่งเราได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการพัฒนา EOS 80D ด้วย

- เซ็นเซอร์ AF ของกล้อง EOS 80D มีคุณลักษณะใดเหมือนกับกล้อง EOS 7D Mark II หรือไม่?

Ichinomiya: EOS 80D มีขนาดของตัวกล้องเล็กกว่า EOS 7D Mark II เราจึงได้พัฒนาเซ็นเซอร์ AF ขนาดเล็กขึ้นมาใหม่โดยยังคงมีประสิทธิภาพสูงเช่นเดิม สำหรับเซ็นเซอร์ภาพ เราใช้กระบวนการลดขนาดเพื่อลดขนาดของตัวกล้องลง และในส่วนของการเพิ่มขีดจำกัดแสงน้อยเป็น EV-3.0 เกิดจากโครงสร้างพิกเซลซึ่งเหมือนกับเซ็นเซอร์ AF สำหรับ EOS-1D X โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยลดจุดสีรบกวนลงได้อย่างมากและทำให้สามารถสร้างขีดจำกัดแสงน้อยอยู่ที่ EV-3.0 ได้

- เซ็นเซอร์ AF ของกล้อง EOS-1D X มีโครงสร้างพิกเซลอย่างไรครับ?

Ichinomiya: เราไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ แต่เราได้ติดตั้งส่วนที่คล้ายกับเสาอากาศไว้เพื่อแปลงแสงให้เป็นอิเล็กตรอน จึงมีจุดสีรบกวนน้อยมาก เทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับกล้อง EOS-1D X และปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้กับกล้องระดับกลางด้วยเช่นกัน สำหรับเซ็นเซอร์ AF ของกล้อง EOS 80D เราได้เพิ่มประสิทธิภาพโดยพัฒนาโครงสร้างที่สามารถป้องกันจุดสีรบกวนได้ดียิ่งขึ้น

- ช่วยยกตัวอย่างให้เราสามารถเห็นถึงความสว่างของ EV-3.0 ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ไหมครับ?

Ichinomiya: โดยทั่วไปแล้ว EV-3.0 มีความสว่างแทบจะเท่ากับพระจันทร์เต็มดวงหรือแสงจันทร์เลยทีเดียว แม้ว่าจะมีข้อจำกัดแสงน้อยเท่ากับ EOS 6D แต่มีผู้ใช้บางส่วนให้ความเห็นว่าแม้จะถ่ายภาพในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงจากสปอตไลท์ในงานแต่งแต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้แสงแฟลชเลย และนี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ EV-3.0

- เมื่อครู่ที่คุณพูดถึงแสงจันทร์ AF จะทำงานกับตัวแบบประเภทใดภายใต้แสงจันทร์?

Ichinomiya: เหมาะอย่างยิ่งสำหรับตัวแบบที่มีความเปรียบต่างสูง ลองนึกถึงสิ่งที่มีความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีดำ อย่างม้าลายหรือแพนด้า และสำหรับตัวแบบบุคคล AF จะสามารถตรวจจับดวงตาของเราได้ เนื่องจากมีความแตกต่างค่อนข้างชัดเจนเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

- อะไรคือข้อดีของจำนวนจุด AF ที่เข้ากันได้กับ f/8 ที่มีจำนวนมากขึ้น

Kadohara: หากมีเลนส์และท่อต่อเลนส์ คุณจะสามารถทำการโฟกัสอัตโนมัติหลายจุดได้แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในการใช้เลนส์ร่วมกับท่อต่อเลนส์ก็ตาม และยังสามารถโฟกัสอัตโนมัติได้หากมีค่า f อยู่ที่ f/8 ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อถ่ายภาพนกและกีฬาโดยใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้จุด AF พร้อมกันได้สูงสุด 27 จุด จึงถ่ายภาพตัวแบบที่มี "พื้นผิว" ได้ง่ายยิ่งขึ้น

- เลนส์ใดบ้างครับที่รองรับ AF ที่ f/8?

Kadohara: ในบรรดาเลนส์ที่มีอยู่ก็จะมี EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM และ EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x กล้องจะใช้รูปแบบการโฟกัสแบบกลุ่ม G ซึ่งจุด AF เก้าจุดตรงกึ่งกลางจะรองรับการโฟกัสอัตโนมัติแบบ Cross-type ในขณะที่บริเวณด้านข้างทั้งสองด้านจะสามารถทำการโฟกัสไวตามเส้นแนวนอนได้ด้วย AF จุดเดียว สำหรับการใช้ร่วมกัน เช่น EF 70-200mm f/4L IS USM กับ Extender EF 2×III จะสามารถทำการโฟกัสอัตโนมัติแบบ Cross-type ได้ด้วยจุด AF กึ่งกลางโดยใช้รูปแบบกลุ่ม H

รูปแบบการโฟกัสแบบกลุ่ม G ซึ่งรองรับ AF ที่มีจุด AF สูงสุด 27 จุด

A: การโฟกัสอัตโนมัติแบบ Cross-type
B: การโฟกัสไวตามเส้นแนวนอน

 

รูปแบบการโฟกัสแบบกลุ่ม H สำหรับการใช้ร่วมกันระหว่าง EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM + Extender EF1.4x III หรือ EF200-400mm f/4L IS USM Extender 1.4x + Extender EF2x III จะสามารถทำการโฟกัสอัตโนมัติแบบ Cross-type ที่มีความแม่นยำสูงได้ด้วยจุด AF กึ่งกลาง

A: การโฟกัสอัตโนมัติแบบ Cross-type

 

วิวัฒนาการของ AI Servo AF II

- การเพิ่ม Large Zone AF ช่วยให้การถ่ายภาพฉากประเภทใดสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น?

Kadohara: บริเวณ AF จะถูกแบ่งออกเป็นสามโซน ซึ่งเหมาะสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้หรือเมื่อคุณต้องการทดลองถ่ายภาพด้วยการกำหนดตำแหน่งคร่าวๆ ของตัวแบบ อีกทั้งยังครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่า Zone AF จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวอีกด้วย

- เมื่อใดที่ควรเลือกใช้ AI Servo AF II หรือการเลือก AF 45 จุดอัตโนมัติ?

Kadohara: ขอแนะนำให้ใช้ Large Zone AF เมื่อตัวแบบมีการเคลื่อนไหวระดับหนึ่งและเมื่อต้องการให้โฟกัสอยู่ภายในบริเวณนั้นๆ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากเมื่อตัวแบบมีการเคลื่อนที่ขึ้นลงอยู่ภายในโซนนี้

Large Zone AF บนกล้อง EOS 80D

 

- AI Servo AF II ใหม่มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างไรบ้าง?

Kadohara: AI Servo AF II มาพร้อมกับฟังก์ชั่นติดตามสี โดยใช้การโฟกัสอัตโนมัติแบบ Cross-type 45 จุด ซึ่งมีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการติดตามวัตถุเคลื่อนไหวในพื้นที่กว้างให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ Servo AF แบบเดิมจะเลือกจุด AF และคำนวณจุดที่จะโฟกัสตามข้อมูล AF แต่ AI Servo AF II บนกล้อง EOS 80D จะใช้ข้อมูลสีในการเลือกจุด AF ด้วย ซึ่งช่วยให้มีความแม่นยำสูงขึ้น

- การเปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติเป็นฟังก์ชั่นประเภทใด

Kadohara: การเปลี่ยนจุด AF อัตโนมัติได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถปรับแต่งคุณลักษณะของจุด AF ได้เมื่อตัวแบบมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยหลักๆ แล้วจะทำงานในระหว่างที่มีการเลือกจุด AF อัตโนมัติ และทำให้คุณสามารถตั้งค่าความไวในการสลับจุด AF สำหรับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวได้ [0] เป็นการตั้งค่ามาตรฐานสำหรับการเปลี่ยนจุด AF และการตั้งค่าเป็น [+1] หรือ [+2] จะเพิ่มความไวในการสลับจุด อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีการเพิ่มความไวในการสลับจุดอาจทำให้กล้องสลับเป็นจุด AF ที่ต่างจากจุดที่คุณต้องการได้

 

- จุด AF เบื้องต้นสำหรับ AI Servo AF จะทำงานระหว่างการเลือก AF 45 จุดอัตโนมัติอย่างไร?

Kadohara: "จุด AF เบื้องต้นสำหรับ AI Servo AF" เป็นคุณสมบัติที่จะกำหนดว่าจะเริ่มการทำงานของ AI Servo AF เมื่อใด คุณสามารถปล่อยให้กล้องกำหนดจุดโฟกัสโดยอัตโนมัติได้หรือจะเลือกด้วยตัวเองก็ได้ ซึ่งสามารถเลือกด้วยตัวเองได้สองวิธี วิธีแรกคือระบุจุด AF จุดใดจุดหนึ่งสำหรับ AF แบบจุดเดียว และอีกวิธีหนึ่งคือการใช้จุด AF ที่เลือกไว้สำหรับการเลือก AF 45 จุดอัตโนมัติก่อนที่ AI Servo AF จะเริ่มทำงาน

- การติดตามสีมีความเกี่ยวข้องกับคุณสมบัตินี้อย่างไรครับ?

Kadohara: การติดตามสีจะถูกเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น หากตั้งค่าจุด AF เบื้องต้นเป็นอัตโนมัติ กล้องจะค้นหาสีที่เทียบเท่ากับสีผิวก่อน จากนั้นจะเลือกจุด AF ที่อยู่ภายในโซนเพื่อสร้างโฟกัสหลังจากตรวจพบสีผิว เมื่อการติดตามสีเริ่มทำงาน กล้องจะเลือกจุด AF และทำการโฟกัสต่อไปตามข้อมูลสี โดยจะเน้นที่การสร้างโฟกัสที่สีซึ่งเทียบเท่ากับโทนสีผิวแม้ว่าจะมีตัวแบบอื่นอยู่ระหว่างตัวแบบกับกล้องก็ตาม

- นอกจากสีผิวแล้ว กล้องจะทำงานอย่างไรกับสีอื่นๆ?

Kadohara: หากไม่พบสีที่เทียบเท่ากับสีผิว กล้องจะเลือกจุด AF แล้วสร้างโฟกัสจากตัวแบบที่อยู่ใกล้ที่สุด และจะเริ่มการติดตามสีทันทีที่โฟกัสเสร็จ ซึ่งในกรณีนี้ แม้ว่าข้อมูลสีจะถูกนำมาใช้ในการเลือกจุด AF สำหรับการติดตามสี แต่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่สีใดสีหนึ่ง

- แล้วผมควรใช้คุณลักษณะนี้อย่างไรครับ หากต้องการติดตามการโฟกัสตัวแบบที่อยู่ห่างจากกล้องเล็กน้อย เช่น รถสีแดง หรือรถไฟสีเขียว?

Kadohara: ให้ตั้งค่าจุด AF เบื้องต้นสำหรับ AI Servo AF เป็นการเลือกจุด AF ด้วยตนเองเพื่อให้กล้องสร้างโฟกัสที่ตัวแบบเป้าหมาย ซึ่งทำให้สามารถใช้ข้อมูลสีในการติดตามตัวแบบได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การติดตามสีอาจไม่แม่นยำหากตัวแบบอยู่ห่างมากเกินไป

- ต้องมีพื้นที่ปรากฏในช่องมองภาพเท่าไหร่สำหรับการติดตามสี?

Kadohara: หากกำหนดคร่าวๆ ควรมีพื้นที่กว้างกว่าจุด AF เล็กน้อย การติดตามสีจะแม่นยำขึ้นหากขนาดของตัวแบบมีขนาดใหญ่ขึ้น

 

 

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

 

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา