ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ทฤษฎีเกสตัลท์ในการถ่ายภาพสตรีท

2017-07-18
3
19.33 k
ในบทความนี้:

ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theories) พัฒนาขึ้นโดยนักจิตวิทยาชาวเยอรมันในช่วงทศวรรษที่ 1920 ภายใต้การนำของ Max Wertheier โดยมีความเชื่อว่าสมองของคนเราจะใช้แนวโน้มต่างๆ ในการจัดระเบียบตนเองเพื่อสร้าง "ภาพรวมทั้งหมด" ขึ้น

ทฤษฎีเหล่านี้พยายามอธิบายวิธีที่เรารับรู้สิ่งต่างๆ ที่เรามองเห็น และจัดระเบียบสิ่งเหล่านั้นในสมองเพื่อสร้าง "ความเข้าใจต่อภาพ" ดังกล่าว แนวคิดพื้นฐานคือ เมื่อเราพบฉากที่ดูสับสนวุ่นวาย สมองของเราจะทำให้ฉากดังกล่าวดูง่ายขึ้น โดยแปรเปลี่ยนเป็นรูปแบบและรูปทรงที่มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ทฤษฎีเหล่านี้เรียกว่า หลักการเกสตัลท์ (Gestalt Principles)

ที่มาของคำว่า เกสตัลท์ หมายถึง แบบ/รูปร่าง/โครงสร้างที่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงมีแนวความคิดหลักคือ "ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย" เนื่องจากสมองของเรารับรู้ภาพเป็นส่วนรวมมากกว่าเป็นส่วนย่อย อันเป็นกลไกของสมองเพื่อช่วยให้เราไม่สับสนเวลามองเห็นภาพ

street photography, black and white

EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 15mm; f/4; 1/180 sec; ISO 400 (Cold to Work)

เพราะการถ่ายภาพคือการนำเสนอภาพให้แก่ผู้ชม ดังนั้น เราจึงสามารถใช้หลักการเกสตัลท์ขณะถ่ายภาพ เพื่อสร้างผลทางความรู้สึกในใจของผู้ชมได้อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีนี้ เราสามารถถ่ายทอดแนวคิดของภาพถ่ายด้วยวิธีที่ดีขึ้นได้

 (กฎแห่ง) หลักการเกสตัลท์ช่วยให้เราทราบว่าการรับรู้ทางสายตาทำงานอย่างไร และทำไมภาพบางภาพจึงใช้งานได้ดีกว่าภาพอื่นๆ ด้านล่างนี้คือหลักการเกสตัลท์สำหรับการถ่ายภาพสตรีท:  

ความเรียบง่าย

สมองของเรารับรู้ภาพในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุด กฎแห่งความเรียบง่ายอธิบายว่า สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ภาพดูเรียบง่ายเพื่อช่วยให้ตาและสมองรู้สึกสบาย และกระตุ้นให้แปลความหมายสิ่งที่เราต้องการแสดง

ดังนั้น เมื่อเราถ่ายภาพ ลองค้นหารูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดเพื่อทำให้ภาพดูน่าสนใจ และทำให้สมอง "เข้าใจได้ง่าย"  และหลังจากผ่านไปสักพัก สมองจะเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นและตระหนักถึงความหมายที่แท้จริงของภาพถ่าย

street photography, black and white

EOS 100D; EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM; 194mm; f/5.6; 1/2000 sec; ISO 400 (Alien Robot)

ความสมมาตร

เราจะรับรู้ว่าองค์ประกอบที่สมมาตรในภาพถ่ายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน เพราะความสัมพันธ์ของทั้งสองด้านช่วยให้เรารับรู้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเราถ่ายภาพ เราสามารถใช้กฎข้อนี้เพื่อสร้างการรับรู้ภาพทั้งภาพ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบภาพอย่างน้อยสองอย่างได้

เราสามารถสร้างความสมมาตรได้โดยทำให้องค์ประกอบภาพมีความสมดุลหรือสร้างภาพสะท้อนขององค์ประกอบนั้นขึ้นแทน อย่างไรก็ดี บางครั้งการจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตรอาจค่อนข้างน่าเบื่อ และขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของเราในการถ่ายภาพให้ดูสนุกและน่าสนใจ

street photography

 EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 22mm; f/8; 1/100 sec; ISO 800 (Balloon Seller)

street photography

EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/8; 1/1000 sec; ISO 400 (Frozen Path)

Figure to Ground

ในภาพเดียวกัน บางครั้งเราต้องการแสดงวัตถุชิ้นหนึ่ง (ตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมาย) แต่สายตาของผู้ชมกลับไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เนื่องจากวัตถุกลืนไปกับพื้นหลังของภาพ กฎ Figure-to-ground ช่วยอธิบายว่าเราจะรับรู้องค์ประกอบใดเป็นรูปร่างและองค์ประกอบใดเป็นพื้นหลัง

รูปร่างคือ วัตถุหรือตัวแบบหลักที่เป็นเป้าหมาย ส่วนพื้นหลังคือ แบ็คกราวด์ที่อยู่ด้านหลังหรือบริเวณรอบๆ รูปร่างนั้น บางครั้งรูปร่างอาจไม่ใช่วัตถุเสมอไป แต่อาจเป็นพื้นที่ได้ด้วย สมองของเราจะรับรู้พื้นที่ขนาดเล็กที่สุดหรือมีความเปรียบต่างมากที่สุดเป็นรูปร่าง ขณะที่พื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเป็นพื้นหลัง

street photography

EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 22mm; f/4.5; 1/800 sec; ISO 400 (After the Rain)

street photography

EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/11; 1/500 sec; ISO 200 (Working Early)

ทางร่วม

กฎแห่งทางร่วม (Common Fate law) อธิบายว่า องค์ประกอบทางสายตาซึ่งกำลังเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันจะถูกรับรู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเราเห็นฉากที่มีองค์ประกอบกลุ่มหนึ่งเคลื่อนที่ไปด้วยกัน สมองของเราจะเข้าใจว่าองค์ประกอบเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และองค์ประกอบอื่นที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ไปในลักษณะที่แตกต่างกันจะถือว่าอยู่นอกกลุ่ม การทำความเข้าใจกฏแห่งทางร่วมนี้ทำให้เราสามารถสร้างภาพกลุ่มที่ประกอบไปด้วยองค์ประกอบภาพที่แตกต่างกัน หรือยังสามารถแยกองค์ประกอบภาพออกจากกลุ่มได้อีกด้วย

street photography

EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/11; 1/1600 sec; ISO 800 (In a Hurry)

ความใกล้ชิด

กลุ่มขององค์ประกอบที่อยู่ใกล้ชิดกันมีแนวโน้มที่จะทำให้เรารับรู้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นหมวดหมู่เดียวกันมากกว่าแยกจากกัน ดังนั้น หากเราต้องการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในภาพ เราจำเป็นต้องนำองค์ประกอบเหล่านั้นมาไว้ใกล้กัน

street photography

 EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 12mm; f/8; 1/60 sec; ISO 400 (Friends)

street photography

EOS 1000D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 116mm; f/11; 1/60 sec; ISO 400 (Who is She)

ความคล้ายคลึง

หากองค์ประกอบมีรูปร่างคล้ายคลึงกัน สมองของเราจะรับรู้ว่าองค์ประกอบนั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน กฏแห่งความคล้ายคลึงอาศัยสิ่งเร้า ได้แก่ สี รูปทรง ขนาด พื้นผิว หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน

หากองค์ประกอบไม่สัมพันธ์กันแต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เราจะรับรู้ว่าองค์ประกอบเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อเราเข้าใจกฎแห่งความคล้ายคลึงกันแล้ว เราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่ไม่สัมพันธ์กันโดยใช้สี รูปร่าง ขนาด หรือพื้นผิวได้ ซึ่งการทำซ้ำก็รวมอยู่ในกฏนี้เช่นกัน

street photography 

EOS 100D; EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM; 65mm; f/4; 1/50 sec; ISO 100 (Friends in Silence)

street photography

EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 22mm; f/11; 1/200 sec; ISO 100 (No Sweat)

ความต่อเนื่อง

กฎแห่งความต่อเนื่องอธิบายว่าสมองของเรามักมองรูปทรงหรือเส้นไปไกลกว่าจุดสิ้นสุด  ดังนั้น วัตถุจะรวมเป็นกลุ่มเดียวกันหากอยู่ในแนวเดียวกันหรือมีทิศทางในแนวเดียวกัน เราจะรับรู้ว่ารูปทรงหรือเส้นเป็นองค์ประกอบเดี่ยวหากรูปทรงหรือเส้นดังกล่าวมีความต่อเนื่อง แม้ว่าจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนก็ตาม

และยิ่งส่วนของรูปทรงหรือเส้นดูราบรื่นขึ้นเท่าใด เรายิ่งมองเห็นความกลมกลืนมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ความต่อเนื่อง เช่น เส้นนำสายตา เพื่อนำสายตาผู้ชมไปยังวัตถุหลักที่เราต้องการนำเสนอได้อีกด้วย

street photography

EOS 1000D; EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM; 250mm; f/5.6; 1/320 sec; ISO 400 (Out of Reach)

street photography

EOS 60D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 13mm; f/13; 1/8 sec; ISO 400 (The Journey)

การปกปิด

สิ่งหนึ่งที่สมองของเราสามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยมคือ สามารถเติมเต็มรูปทรงที่ไม่มีอยู่ได้ สมองของเรามีแนวโน้มที่จะเติมเต็มวัตถุที่ขาดหายไป กฎแห่งการปกปิดใช้อธิบายว่าสมองของเราเติมเต็มช่องว่างระหว่างวัตถุหรือเส้นที่ไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร

สมองของเรามีทักษะในการจดจำองค์ประกอบภาพ แม้ว่าองค์ประกอบนั้นจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่า ในภาพถ่าย รูปทรงที่สมบูรณ์อาจดูน่าเบื่อ ดังนั้น เราควรให้ข้อมูลที่เพียงพอเพื่อให้สมองสร้างรูปร่าง แต่ยังคงใช้จินตนาการได้ด้วย การทำความเข้าใจทฤษฎีเกสตัลท์ในขณะถ่ายภาพสตรีทช่วยให้เราได้ภาพถ่ายที่มีพลัง เพื่อดึงดูดใจผู้ชมไปในทิศทางที่เราต้องการแสดงให้เห็น โดยการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

 

street photography 

EOS 100D; EF50mm f/1.8 STM; 50mm; f/2; 1/50 sec; ISO 200 (Can't Find My Book)

street photography

EOS 550D; EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM; 10mm; f/3.5; 1/100 sec; ISO 200 (Your Order, Please)

ทฤษฎีเกสตัลท์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับรู้และความเป็นจริง

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพจากบทความด้านล่างนี้

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #14: ตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง

เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ: เพิ่มชีวิตชีวาให้กับภาพถ่ายอาคารและโรงงาน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแอ็บสแทร็กต์ โปรดดูบทความด้านล่างนี้

การถ่ายภาพแอบสแตร็ค: การใช้สี

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเชิงแนวคิด โปรดดูบทความด้านล่างนี้

การเริ่มถ่ายภาพแนวคอนเซ็ป

การถ่ายภาพแนวคอนเซ็ป: แฝงอารมณ์ความรู้สึก และส่วนประกอบอื่นๆ

การถ่ายภาพแนวคอนเซ็ป: เคล็ดลับและลูกเล่น


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Agus Nonot Supriyanto

พนักงานออฟฟิศที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ เขาพกกล้องติดตัวเสมอไม่ว่าจะไปที่ใด การบันทึกทุกด้านของชีวิตมนุษย์ สถานที่ ธรรมชาติ พื้นที่ และรูปทรง ความหวังที่จะกระจายความสุขและความงดงามของการถ่ายภาพ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ผ่านภาพถ่าย

www.instagram.com/mynonot

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา