ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ

2016-08-18
0
7.29 k
ในบทความนี้:

บ่อยครั้งที่คุณต้องการถ่ายภาพให้ดูน่าสนใจหรือน่าตื่นตาตื่นใจมากยิ่งขึ้น แต่ผลลัพธ์กลับไม่เป็นอย่างที่ต้องการ ถ้าเช่นนั้นแล้ว ทำไมไม่ลองใช้ฟังก์ชั่นรูปแบบภาพดูบ้างล่ะ บทความนี้จะแนะนำวิธีพื้นฐานในการใช้ฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ (บรรณาธิการโดย studio9)

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L USM/ FL: 16 มม./ f/8/ 1/800 วินาที/ ISO 400

 

ใช้รูปแบบภาพเพื่อเปลี่ยนภาพถ่ายของคุณ

เมื่อคุณรู้สึกคุ้นเคยกับการถ่ายภาพมากขึ้นอีกนิด คุณอาจจะสามารถจับภาพตัวแบบ จัดองค์ประกอบภาพและความสว่างได้เป็นอย่างดี แต่คุณอาจเจอกับอุปสรรคอีกประการหนึ่งนั่นก็คือ บรรยากาศของภาพที่ไม่เป็นดังที่คาดหวังไว้
ในกรณีเช่นนี้ คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นรูปแบบภาพเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศภาพให้เหมาะสมกับความต้องการได้ ซึ่งเพียงแค่ปรับการตั้งค่านี้ คุณจะได้ภาพที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง!

ฟังก์ชั่นรูปแบบภาพเต็มไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ มากมาย แต่ในบทความนี้ผมจะเน้นไปที่โหมดสองโหมดและพารามิเตอร์ความเปรียบต่างเท่านั้น เพื่อแสดงวิธีการปรับแต่งภาพต่างๆ

 

คุณชอบบรรยากาศที่ดูนุ่มนวลมากขึ้น หรือบรรยากาศที่ดูมืดครึ้มยิ่งขึ้นมากกว่า

การปรับค่าพารามิเตอร์ความเปรียบต่างในรูปแบบภาพจะช่วยสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลน่ารักหรือบรรยากาศที่มืดครึ้มและเร้าอารมณ์ได้
เราลองมาดูตัวอย่างจากภาพแต่ละภาพกัน

 

ภาพที่ดู "นุ่มนวล"

ผมต้องการสื่อถึงเวลาที่เดินไปอย่างช้าๆ ในภาพริมฝั่งแม่น้ำนี้ ผมจึงตั้งค่ารูปแบบภาพไปที่ "ปกติ" ซึ่งเมื่อถ่ายภาพโดยใช้ค่าเริ่มต้น ผลภาพที่ได้จะเป็นเช่นนี้ (ตัวอย่างนี้เป็นภาพที่จำลองขึ้นใน Digital Photo Professional โดยใช้ไฟล์ RAW)

รูปแบบภาพ: ปกติ/ WB: แสงแดด

เพียงแค่ปรับการตั้งค่ากล้องอย่างง่ายๆ ผมก็สามารถสร้างภาพถ่ายที่มีบรรยากาศนุ่มนวลดังเช่นในภาพด้านล่างนี้

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ f/4/ 1/4000 วินาที/ ISO 250
รูปแบบภาพ: ปกติ (Contrast -4), WB: แสงแดด, การชดเชยแสง: EV+1
การตั้งค่าความเปรียบต่างเป็นค่าต่ำสุดและใช้การชดเชยแสงเป็นบวกจะช่วยให้ภาพที่ได้แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง ต้นไม้มีโทนสีอ่อนลงและก้อนเมฆสร้างบรรยากาศที่ค่อนข้างนุ่มนวล จึงสื่อถึงบรรยากาศของกาลเวลาที่ผ่านไปอย่างช้าๆ ได้เป็นอย่างดี

 

บรรยากาศที่มืดครึ้ม

ภาพด้านล่างนี้ผมต้องการสื่อถึงรัศมีอันเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ ผมจึงเลือกรูปแบบภาพเป็น "ภาพวิว" ซึ่งจะให้โทนสีฟ้าและสีเขียวที่กระจ่างชัดยิ่งขึ้น และเมื่อผมถ่ายภาพโดยใช้การตั้งค่าเริ่มต้น ผลภาพที่ได้จึงเป็นเช่นนี้

รูปแบบภาพ: ภาพวิว/ WB: แสงแดด

ต่อจากนั้น ผมปรับการตั้งค่าเพื่อให้ภาพมีบรรยากาศที่ดูมืดครึ้มยิ่งขึ้น

EOS 5D Mark II/ FL: 33 มม./ f/16/ 1/25 วินาที/ ISO 800
รูปแบบภาพ: ภาพวิว (Contrast +4), WB: อัตโนมัติ, การชดเชยแสง: EV -0.33 (-1/3)
ผมปรับค่าความเปรียบต่างและใช้การชดเชยแสงเป็นลบเพื่อสร้างความเปรียบต่างให้เห็นเด่นชัดในบรรยากาศที่มืดครึ้ม และเมื่อผมทำให้กำแพงอาคารและพื้นที่ชุ่มไปด้วยน้ำดูมืดสลัวยิ่งขึ้น ก็จะสื่อให้เห็นถึงความเปรียบต่างของดวงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

การกำหนดการตั้งค่าต่างๆ

ในส่วนนี้ ผมจะอธิบายถึงขั้นตอนในการตัดสินใจว่าเราควรจะกำหนดการตั้งค่าอย่างไร แม้ว่าเราอาจต้องใช้พารามิเตอร์ที่มีรายละเอียดมากมาย แต่ผมจะแนะนำ 3 ขั้นตอนที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ไม่ยาก

 

ขั้นตอนที่ 1: เลือกโหมดรูปแบบภาพ

อันดับแรก เลือกโหมดรูปแบบภาพที่ต้องการใช้ โดยวิธีที่ดีที่สุดคือดูจากคู่มือการใช้งานกล้องเพื่อเช็คว่ากล้องของคุณมีโหมดรูปแบบภาพใดให้เลือกใช้งานบ้าง นอกจากนี้ ในกล้องแทบทุกรุ่นยังสามารถเช็คโหมดรูปแบบภาพได้จากเมนูการถ่ายภาพ

แม้ว่าในกล้องแต่ละรุ่นจะมีโหมดที่แตกต่างกัน แต่ควรมีโหมดทั้ง 7 โหมดต่อไปนี้ให้เลือกใช้งานในเมนู ได้แก่ อัตโนมัติ, ปกติ, ภาพบุคคล, ภาพวิว, ภาพเป็นกลาง, ภาพตามจริง และภาพขาวดำ การที่จะใช้โหมดทั้งหมดนี้ให้ชำนาญในคราวเดียวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น ตอนนี้ผมจะขอเน้นไปที่โหมดเพียงสองโหมดเท่านั้น

ผมขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำโหมด "ปกติ" และ "ภาพวิว" ก่อน โดยให้เลือก "ปกติ" หากคุณต้องการบรรยากาศที่ดูสงบ หรือ "ภาพวิว" หากคุณต้องการบรรยากาศที่มีพลังและดูมีชีวิตชีวา แต่ละโหมดจะมีคุณสมบัติพิเศษอยู่ในตัว ดังนั้น คุณจึงควรจะสามารถเลือกโหมดที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย

 

ขั้นตอนที่ 2: ปรับความเปรียบต่าง

ขั้นตอนนี้นับว่าสำคัญที่สุด! เพราะแม้ว่าเราจะเปลี่ยนอารมณ์ภาพได้ด้วยการปรับรูปแบบภาพ แต่การปรับความเปรียบต่างคือวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลหรือมืดครึ้ม

เลือกรูปแบบภาพแล้วกด "INFO" เพื่อไปสู่หน้าจอการตั้งค่าละเอียด

พารามิเตอร์ทั้งสี่ ได้แก่ ความคมชัด ความเปรียบต่าง ความอิ่มตัวของสี และโทนสี จะแสดงขึ้นบนหน้าจอ อย่างไรก็ดี การปรับความเปรียบต่างจะให้ผลลัพธ์ของภาพที่ดีที่สุด ดังนั้น เราควรเริ่มต้นด้วยการปรับความเปรียบต่างก่อน

 

พารามิเตอร์ความเปรียบต่างจะช่วยปรับพลังพลวัตระหว่างความมืดและแสงสว่างในภาพ และการใช้พารามิเตอร์ดังกล่าวเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ทั้ง 2 แบบดังที่แสดงด้านบนก็ทำได้ง่าย โดยคุณสามารถตั้งค่าไปที่ค่าต่ำที่สุด (-4) เพื่อให้ภาพดู "นุ่มนวล" หรือตั้งไปที่ค่าสูงสุด (+4) เพื่อให้ภาพดู "มืดครึ้ม" ก็ได้

เมื่อคุณเริ่มคุ้นเคยกับการตั้งค่าความเปรียบต่างแล้ว การปรับความอิ่มตัวของสีหรือความเข้มของสีในภาพจะช่วยให้คุณได้ภาพถ่ายที่ดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก

ทั้งหมดมีเพียงเท่านี้เอง! ง่ายมากใช่ไหมครับ และแน่นอนว่าหากคุณจะลองใช้ค่าความเปรียบต่างอื่นๆ เพื่อปรับแต่งเอฟเฟ็กต์ให้เหมาะกับความต้องการก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

 

ขั้นตอนที่ 3: ใช้การชดเชยแสง

การชดเชยแสงคือพารามิเตอร์สำหรับการปรับความสว่างของภาพ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบภาพใดก็ตาม เพียงแค่ตั้งค่าการชดเชยแสงก็สามารถสร้างภาพที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงได้แล้ว ดังนั้น จึงควรนำไปลองใช้งานดู

ในกล้องเกือบทุกรุ่น การปรับการชดเชยแสงทำได้ง่ายๆ เพียงแค่หมุนวงแหวนเท่านั้น

ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกอยู่เสมอก็คือ หากคุณต้องการบรรยากาศที่นุ่มนวล ให้ใช้การชดเชยแสงเป็นบวก และหากต้องการบรรยากาศที่มืดครึ้มให้ใช้การชดเชยแสงเป็นลบ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้ได้ภาพที่ดู "นุ่มนวล" การตั้งค่าการชดเชยแสงเป็นบวกมากๆ จาก EV+1 เป็น 2 ย่อมมีประสิทธิภาพในการขับเน้นบรรยากาศได้มากกว่า ดังนั้น จึงควรลองใช้การชดเชยแสงเป็นบวกอย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าภาพจะออกมาสว่างจ้าจนเกินไป

สำหรับการสร้างบรรยากาศที่มืดครึ้ม วิธีขับเน้นบรรยากาศที่ได้ผลมากกว่าคือการลดการเปิดรับแสง ดังนั้น ผมจึงแนะนำว่าควรลดการเปิดรับแสงจาก EV0 เป็น -1 และเนื่องจากความสว่างจะแตกต่างกันไปตามตัวแบบ ดังนั้น ควรลองถ่ายภาพสักสองสามภาพเพื่อหาความสว่างที่เหมาะกับความต้องการของคุณ

เคล็ดลับคือ เริ่มต้นด้วยการใช้การชดเชยแสงเป็นบวกมากๆ จนกระทั่งคุณเริ่มคิดว่าคุณตั้งค่าชดเชยแสงมากจนเกินไป จากนั้นจึงค่อยๆ ลดลงมาทีละน้อย วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้ความสว่างที่เหมาะสมได้รวดเร็วกว่าตั้งค่าน้อยๆ ไว้ตั้งแต่แรก

หากคุณต้องการทราบวิธีใช้คุณสมบัติการชดเชยแสง โปรดคลิกที่ลิงก์ด้านล่างเพื่อดูบทความ
[บทที่ 9] การใช้ประโยชน์จากการชดเชยแสง

 

สรุป

เนื้อหาหลักของบทความนี้คือ การสร้างภาพที่ให้บรรยากาศตามที่ต้องการได้ใน 3 ขั้นตอนง่ายๆ

1. เลือกโหมดรูปแบบภาพ
2. ปรับความเปรียบต่าง
3. ใช้การชดเชยแสง

เมื่อคุณใช้ 3 ขั้นตอนนี้จนเกิดความชำนาญแล้ว คุณจะได้ภาพถ่ายที่มีบรรยากาศเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงควรลองนำไปใช้งานกันดูนะครับ

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา