หากว่ากล้องที่คุณใช้อยู่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพด้วยค่าความไวแสง ISO สูงๆ แล้วล่ะก็ คุณจะสามารถถ่ายภาพที่คมชัดแม้ในสถานที่ที่มีแสงน้อยได้ โดยไม่ประสบปัญหาจากอาการกล้องสั่นหรือภาพที่โฟกัสไม่ชัด ในบทความนี้ ฉันจะแนะนำเทคนิคบางประการสำหรับการถ่ายภาพสวนสัตว์ในเวลากลางคืน (เรื่องโดย: Toyofumi Fukuda)
หน้า: 1 2
ภาพโคลสอัพเจ้าป่าที่ได้รับแสงจากหลอดไอปรอท
ด้วยกล้องหลากหลายรุ่นที่รองรับการถ่ายภาพค่าความไวแสง ISO สูงซึ่งออกตัวสู่ตลาดในช่วงไม่กี่ปีนี้ ปัจจุบัน คุณจึงสามารถที่จะถ่ายภาพในสวนสัตว์ตอนกลางคืนได้ แม้เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ในอดีต สัตว์ต่างๆ ที่แสดงตัวให้เห็นในคืนที่มืดและมีแสงอันน้อยนิดจะมีลักษณะที่น่าเกรงขามแต่ก็น่าหลงใหลในขณะเดียวกัน ลักษณะอันเฉลียวฉลาดและสง่างาม คือสิ่งที่คุณจะรับรู้ได้เมื่อเห็นสัตว์เหล่านี้ในยามค่ำคืน ในช่วงฤดูร้อนที่ญี่ปุ่น โดยทั่วไปสวนสัตว์จะขยายเวลาเข้าชมให้นานขึ้นถึงประมาณ 2 หรือ 3 ทุ่ม เนื่องจากกว่าท้องฟ้าจะเริ่มมืดก็ประมาณ 1 ทุ่มแล้ว เวลาที่เหลือให้ถ่ายภาพเวลากลางคืนจึงสั้นนิดเดียว ถึงแม้จะมีตัวแบบน่าถ่ายมากมาย แต่การถ่ายภาพอาจจะกินเวลานานกว่าที่คาดคิด หากคุณมัวแต่รอจังหวะถ่ายภาพเหมาะๆ อยู่ ดังนั้น วิธีที่ชาญฉลาดในการถ่ายภาพก็คือ กำหนดตัวแบบเป้าหมายให้แคบลงมา และถ่ายภาพตัวแบบสักหนึ่งชนิดในแต่ละวันแล้วหมุนเวียนกันไป เช่น วันแรกถ่ายภาพหมาป่า และวันที่สองถ่ายภาพเสือ
ISO 12800
EOS-1D X/ EF300mm f/2.8L IS II USM/ FL: 300 มม./ Aperture-priority AE (1/160 วินาที, f/2.8, -1.7EV)/ ISO 12800/ WB: อัตโนมัติ
บรรยากาศโดยรอบสว่างขึ้นเมื่อใช้แสงจากหลอดไอปรอท ซึ่งจะทำให้เกิดสีเพี้ยนโทนสีเขียวในภาพถ่าย ในภาพนี้ ผมจึงปรับค่าสมดุลแสงขาวในขั้นตอนการตกแต่งภาพเพื่อให้ได้สีที่ใกล้เคียงกับสีขนของสิงโตมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้สำหรับภาพนี้คือ Click White Balance ที่มีในซอฟต์แวร์ Digital Photo Professional (DPP)
ISO 400
การใช้ค่าความไวแสง ISO ต่ำจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลง เมื่อตัวแบบเคลื่อนไหวแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ภาพเบลอได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อรักษาความเร็วชัตเตอร์ให้รวดเร็ว จึงจำเป็นต้องตั้งค่าความไวแสง ISO ให้สูงขึ้น
เทคนิค – ตั้งค่าปริมาณการเปิดรับแสงให้ต่ำลงเมื่อใช้ AE
±0EV
-1EV
-2EV
อย่างที่เห็นในภาพข้างต้น การถ่ายภาพโดยไม่ทำการชดเชยปริมาณการเปิดรับแสงส่งผลให้ภาพสว่างจนไม่สามารถถ่ายทอดบรรยากาศของภาพตอนกลางคืนได้ ในกรณีนี้ จึงตั้งค่าการเปิดรับแสงให้ต่ำลงเป็น -1 ถึง -2 EV ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศที่สมจริงขึ้นอย่างมาก
การเพิ่มมิติให้ภาพภูเขาลิงด้วยแสงจากด้านข้าง
ISO 10000
EOS-1D X/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (1/10 วินาที, f/3.5, -1.3EV)/ ISO 10000/ WB: อัตโนมัติ
ภูเขาลิงที่มนุษย์สร้างขึ้นให้กับลิงวอก (Rhesus monkey) ในเวลากลางคืน ฝูงลิงวอกพากันหลบซ่อนตัวในภูเขาต่างกับกลางวัน และบรรยากาศเงียบสงบจนแทบไม่รู้ว่ามีลิงอยู่บริเวณนั้น
การปรับค่าสมดุลแสงขาวเพื่อสร้างท้องฟ้าสีน้ำเงิน
ISO 10000
EOS-1D X/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/10 วินาที, -1.3EV)/ ISO 10000/ WB: หลอดไฟทังสเตน
นกฟลามิงโก้ในสวนสัตว์แห่งนี้สามารถเดินเหินได้ทั่วอย่างมีอิสระโดยไม่ถูกกักบริเวณด้วยรั้วตาข่าย ทำให้สามารถถ่ายภาพสวยเป็นพิเศษได้ในช่วงเวลาทองเช่นนี้
ISO 800
เมื่อตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น อัตโนมัติ สีท้องฟ้าที่ปรากฏจึงเป็นสีเทาเข้ม และแหล่งแสงในบริเวณนั้นก็สร้างความเพี้ยนสีแดงให้ภาพซึ่งไม่เข้ากันกับภาพฝูงนกฟลามิงโก้ การเปลี่ยนการตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น แสงหลอดทังสเตน ช่วยสร้างบรรยากาศที่เยี่ยมยอด
การถ่ายภาพด้วยแสงแฟลชเป็นสิ่งที่ห้ามทำเมื่อเข้าชมสวนสัตว์ในเวลากลางคืน เราจึงใช้ได้เพียงแหล่งแสงในบริเวณสถานที่ของสวนสัตว์เท่านั้น ค่าความไวแสง ISO สูงเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ในกรณีเช่นนี้ แต่ถึงอย่างนั้น คุณอาจไม่สามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ให้รวดเร็วเพียงพอได้ เราสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าได้หากใช้ขาตั้งกล้อง แต่การกางขาตั้งกล้องก็อาจไม่สะดวกกับผู้เข้าชมคนอื่นๆ และที่สำคัญที่สุด ความเร็วชัตเตอร์ช้านั้นทำให้ตัวแบบออกมาเบลอ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ว่ามานี้ คุณสามารถลองใช้ขาตั้งกล้องที่เป็นโมโนพอดแทน หรือป้องกันปัญหาการสั่นไหวของกล้องโดยวางกล้องบนราวลูกกรง
ช่างภาพสัตว์ เกิดที่ซากาเมื่อปี 1955 Fukuda ทุ่มเทความพยายามให้กับการถ่ายภาพหลากหลายประเภทตั้งแต่สัตว์เลี้ยงจนถึงสัตว์ป่า มีตำแหน่งเป็นประธาน UFP Photo Office และสมาชิก Japan Professional Photographers Society (JPS)