ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

Inspirations >> Photos & People

หลงใหลไปกับแหล่งธรรมชาติเมืองไทย

2015-08-27
1
3.4 k
ในบทความนี้:

พบกับ ภัทรินทร์ คุ้มทุกทิศ ช่างภาพไทยสมัครเล่นในด้านการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ ในวันทำงานปกติชายคนนี้ใช้เวลาทำงานในบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง แต่เมื่อถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ เขาจะยุ่งอยู่กับการถ่ายทอดผลงานผ่านวิธีโปรดของเขา ภัทรินทร์จึงเป็นช่างภาพที่มีแบ็คกราวด์แตกต่างจากคนอื่น เราจะมาพูดคุยและเจาะลึกถึงเรื่องราวความหลงใหลในการถ่ายภาพนกในธรรมชาติของชายผู้นี้ (บรรณาธิการโดย: SNAPSHOT, ขอขอบคุณ Obayashi Corporation)

ผมเชื่อว่าเราพบความสุขได้แม้ในวิถีชีวิตที่เรียบง่าย

Q1: ทำไมถึงเลือกที่จะถ่ายภาพนก ทั้งๆ ที่ในเมืองไทยมีสิ่งอื่นๆ มากมายที่น่าสนใจ

มีอยู่วันหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว ผมเปิดดูภาพในกล้องถ่ายรูปของเพื่อนแล้วไปเจอภาพถ่ายนกเข้า ผมรู้สึกทึ่งกับสีสันของมัน สิ่งแรกที่ผมคิดคือสีของมันสวยมาก ก่อนหน้านั้น นกที่ผมเคยเห็นบินๆ อยู่ก็มีแต่สีเทากับสีดำ ตั้งแต่นั้นมา ผมก็หันมาสนใจถ่ายภาพนกในธรรมชาติเป็นหลัก

ชื่อนก

นกเงือกหัวแรด

สถานที่ถ่ายภาพ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา สุราษฎร์ธานี

EOS 70D/ EF800mm f/5.6L IS USM/ (f/7.1, 1/800 วินาที, EV+1.3)/ AF

Q2: คาดหวังอะไรจากภาพนกที่เราถ่ายเอง

ผมไม่คาดหวังว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการถ่ายภาพพวกนี้ และไม่ได้ตั้งใจจะไปแข่งกับช่างภาพคนอื่นๆ สิ่งที่ผมคาดหวังจากภาพที่ถ่ายคือ คนดูแล้วมองเห็นว่าธรรมชาติเมืองไทยสวยงามแค่ไหน และหวังว่าจะทำให้เกิดการอนุรักษ์นกในประเทศนี้

ชื่อนก

นกจาบคาเคราสีฟ้า

สถานที่ถ่ายภาพ

อุทยานแห่งชาติหาดวนกร ประจวบคีรีขันธ์

EOS 5D Mark III/ EF800mm f/5.6L IS USM/ (f/7.1, 1/200 วินาที, EV-0.7)/ Manual Focus/ WB: อัตโนมัติ/ ISO 200

Q3: ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพนกทั้งหมด ชอบอะไรมากที่สุด

ผมชอบการแคมปิ้งในป่ามากที่สุด ชอบมาก ผมอยากจะทิ้งโลกที่ทันสมัยแล้วมาใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติจริงๆ เวลาที่ผมแคมปิ้ง ผมอยู่คนเดียวแต่กลับไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เพราะผมมีธรรมชาติเป็นเพื่อน ผมสัมผัสได้ถึงความสุขสงบและได้พักใจ และผมเชื่อว่าเราพบความสุขได้แม้ในวิถีชีวิตที่เรียบง่าย อันที่จริง ถ้าเราดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เราจะมีชีวิตที่มีความสุขไม่ว่าจะรวยหรือจน

Q4: คุณคงเคยมีประสบการณ์ท้าทายระหว่างการถ่ายภาพในป่ามาเยอะ เล่าให้เราฟังสักเรื่องได้ไหมครับ

มีครั้งหนึ่ง ตอนที่ผมตั้งเต้นท์บังไพรในป่าแล้วรอนกปรากฏตัวเพื่อจะได้ถ่ายภาพ ทากเข้าไปในรูจมูกโดยที่ผมไม่รู้ตัวแล้วมันแล้วก็เริ่มดูดเลือด ผมจำเป็นต้องอยู่นิ่งๆ นานกว่า 10 นาที รอจนมันดูดเลือดจนอิ่ม ต้องสั่งน้ำมูกแรงๆ หลายครั้ง ทากจึงหลุดออกมา แต่ตลอดช่วงเวลานั้น ผมก็ยังถ่ายภาพต่อไปด้วย

ชื่อนก

นกอ้ายงั่ว

สถานที่ถ่ายภาพ

จังหวัดสระแก้ว

EOS 7D/ EF800mm f/5.6L IS USM/ (f/5.6, 1/200 วินาที, EV+2.7)/ โหมด AF: One-Shot/ WB:อัตโนมัติ/ ISO 250

Q5: ผู้อ่านของ SNAPSHOT หลายคนเป็นช่างภาพที่ถ่ายภาพนกในธรรมชาติด้วยเหมือนกัน คุณภัทรินทร์มีเทคนิคการถ่ายภาพที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีที่พอจะแชร์ให้เพื่อนๆ ช่างภาพไหมครับ

สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณต้องถือกล้องค้างไว้ให้นิ่งไม่ขยับไปมาขณะถ่ายภาพ เพื่อจะไม่ทำให้นกตื่นตัวหรือตกใจ และผมแนะนำให้ใช้โหมดการถ่ายภาพแบบ Live View เพื่อตรวจสอบว่าจุดโฟกัสอยู่ในตำแหน่งที่คุณต้องการหรือไม่

Q6: เนื่องจากเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเจอนกที่ไหนเมื่อไหร่ โอกาสในการถ่ายภาพจึงเกิดขึ้นได้ยากมาก คุณมีเทคนิคอะไรในการหาโอกาสในการถ่ายภาพไหมครับ

การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในกลุ่มช่างภาพแนวเดียวกันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการถ่ายภาพ เนื่องจากเราจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ เช่น วงจรชีวิตของนก เส้นทางการอพยพ ฤดูผสมพันธุ์ และลักษณะเฉพาะของนกแต่ละสายพันธุ์

ชื่อนก

นกขุนแผน (สาลิกาดง)

สถานที่ถ่ายภาพ

ภูแก้ว ชัยภูมิ

EOS 7D/ EF800mm f/5.6L IS USM/ (f/5.6, 1/125 วินาที, EV+0.7)/ โหมด AF: One-Shot / WB: อัตโนมัติ/ ISO 400

Q7: อุปกรณ์ถ่ายภาพที่ใช้มีอะไรบ้างครับ

ตัวกล้อง DSLR ที่ผมใช้คือ EOS 5D Mark III และ EOS7 7D Mark II สำหรับกล้องคอมแพค ผมใช้ PowerShot G1 X ส่วนเลนส์นั้น ผมใช้ EF15mm f/2.8 Fisheye, EF17-40mm f/4L USM, EF24-105mm f/4L IS USM, EF70-200mm f/4L USM, EF400mm f/5.6L USM, EF300mm f/2.8L IS USM, EF100mm f/2.8 Macro USM และ EF800mm f/5.6L IS USM และอุปกรณ์เสริม ผมใช้ Speedlite 270EX II และ Speedlite 580EX

Q8: ฟังก์ชั่นไหนของกล้องที่ใช้บ่อยที่สุด เพราะอะไร

ฟังก์ชั่นและการตั้งค่ากล้องที่ผมใช้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ครับ หากนกที่เป็นตัวแบบตอนนั้นกำลังเคลื่อนไหว เช่น บินอยู่หรือล่าเหยื่ออยู่ ผมจะใช้โฟกัสอัตโนมัติ (AI-Servo Focus ร่วมกับ Continuous shooting mode) แต่หากนกไม่เคลื่อนไหว เช่น ตอนที่มันกำลังเกาะกิ่งไม้ ผมจะใช้แมนนวลโฟกัสและเปิดฟังก์ชั่นการขยายบนหน้าจอในโหมด Live View เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลกระทบกับคุณภาพของภาพถ่าย ผมจะไม่ค่อยใช้ ISO ที่สูงกว่า 400 ถ้าแสงดีๆ ผมจะใช้ ISO ที่ไม่เกิน 200 สำหรับสมดุลแสงขาว ผมตั้งค่าไว้เป็นโหมดอัตโนมัติ และผมใช้รูปแบบภาพ [มาตรฐาน] เพื่อให้สีของนกออกมาสมจริง สำหรับรูปแบบการบันทึก ผมถ่ายเป็นฟอร์แมต RAW เพื่อที่จะสามารถปรับแต่งด้วยโปรแกรม Digital Photo Professional ได้

ชื่อนก

เหยี่ยวขาว

สถานที่ถ่ายภาพ

ทุ่งนาแห่งหนึ่งในเพชรบุรี

EOS 70D/ EF800mm f/5.6L IS USM/ (f/5.6, 1/1600 วินาที, EV+1.3)/ โหมด AF: AI Servo/ WB:อัตโนมัติ/ ISO 400

Q9: วันธรรมดาทำงานออฟฟิศ สุดสัปดาห์เป็นช่างภาพ ประสบการณ์ในการถ่ายภาพช่วยเสริมการทำงานประจำบ้างไหมครับ ช่วยยังไงบ้าง

เวลาที่เราดูนก เราจะต้องอดทนรอโดยไม่ส่งเสียง แต่เรายังจำเป็นต้องเตรียมพร้อมกดชัตเตอร์โดยไม่ทำให้กล้องกระตุกหรือทำให้ภาพเสีย ยิ่งไวยิ่งได้ภาพที่ต้องการ เป็นช่วงเวลาที่ดีมากเพราะจะได้ฝึกสมาธิ นี่คือประโยชน์ของการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ เป็นการฝึกฝนเรื่องสมาธิ การมีใจจดจ่อ ความมั่นใจในตัวเอง และการตระหนักรู้ตัว และยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พลังการจินตนาการ ความสงบในจิตใจ และสร้างสมดุลทางอารมณ์ด้วย ที่สำคัญ ช่วยจัดการกับอารมณ์ที่ไม่ดีและลดความเครียด ประโยชน์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตอนถ่ายภาพ แต่มีผลกับชีวิตการทำงานในวันปกติด้วยครับ

Q10: มีช็อตในฝันไหมครับ สักวันหนึ่งอยากจะถ่ายภาพแบบไหน

ผมมองทุกภาพที่ผมถ่ายเป็นช็อตในฝัน ผมจะได้ถ่ายทุกๆ ภาพให้ดีที่สุด

ภัทรินทร์ คุ้มทุกทิศ

เกิดเมื่อปี 1953 ปัจจุบันภัทรินทร์ทำงานเป็นผู้จัดการทั่วไปประจำแผนกจัดซื้อให้กับบริษัทไทย โอบายาชิหรือบริษัท นันทวัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสาขาของ Obayashi Corporation นอกจากนี้ เขายังเป็นช่างภาพ ซึ่งผลงานหลักๆ คือการถ่ายภาพนกระหว่างการไปแคมปิ้งท่ามกลางธรรมชาติตอนสุดสัปดาห์ ภาพนกที่เขาถ่ายทอดออกมานั้นยังเป็นการแบ่งปันความงดงามของผืนป่าธรรมชาติในประเทศไทยให้โลกได้รับรู้ไปด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา