วิธีการตั้งค่ากล้องมิลเลอร์เลสสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำ
เมื่อถ่ายภาพใต้น้ำด้วยกล้องมิลเลอร์เลส คุณมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณา ตั้งแต่การเลือกโหมดถ่ายภาพในอุดมคติไปจนถึงตัวเลือกการจัดแสงและการใช้แฟลช อินโฟกราฟิกนี้จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องมิลเลอร์เลสสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำ
เคสกันน้ำสำหรับกล้อง
ก่อนที่คุณจะเข้าไปดูรายละเอียดของการทำงานกับการปรับค่าความสัมพันธ์ 3 ปัจจัยในการรับแสง (รูรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ และ ISO) หรือสมดุลแสงสีขาว การใช้เคสกันน้ำก็ยังคงเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในทุกสิ่งทุกอย่าง จดบันทึกข้อมูลจำเพาะของกล้องคุณ และใช้ความระมัดระวังตามนั้น สำหรับกรณีนี้ กล้องมิลเลอร์เลสในซีรีส์นี้เป็นแบบไม่กันน้ำดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เคสสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำ
โหมดการถ่ายภาพ
ต่อไปนี้เป็นโหมดการถ่ายภาพที่แนะนำ ซึ่งคุณสามารถใช้สำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำได้:
โหมด S (Shutter Priority): มีประโยชน์ถ้าคุณเข้าใจความเร็วชัตเตอร์และรู้วิธีการหยุดภาพเคลื่อนไหว (ความเร็วชัตเตอร์สูง) หรือสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนที่ของวัตถุ (ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ) กล้องชดเชยระยะชัดลึกของภาพเพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ตั้งไว้
โหมดแมนนวล: โหมดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ด้านการถ่ายภาพใต้น้ำและต้องการควบคุมการตั้งค่ากล้องทั้งหมด โหมดนี้ยังให้ความยืดหยุ่นสูงสุดในการสร้างสไตล์ส่วนตัวของคุณเองในการถ่ายภาพ ทดลองทำฟองอากาศหรือนอนหลับบนพื้นมหาสมุทรเพื่อเพิ่มความลุ่มลึกหรือเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ให้กับภาพถ่าย
หมายเหตุ: อย่าลืมเตรียมตัวก่อนลงดำน้ำเสมอเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในขณะอยู่ใต้น้ำเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
สมดุลแสงขาว
การปรับสมดุลแสงขาวคือการแก้ไขอุณหภูมิสีเพื่อจำลองภาพถ่ายให้ออกมาใกล้เคียงกับที่ตามนุษย์มองเห็นมากที่สุด สมดุลแสงขาวอาจมีตัวเลือกต่าง ๆ ซึ่งประกอบรวมด้วย: อัตโนมัติ แสงกลางวัน แสงเงา ทังสเตน แฟลช กำหนดเอง อุณหภูมิสี และอื่น ๆ แต่ละอันมีลักษณะเฉพาะของตนเอง - แต่สำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำ เราขอแนะนำการตั้งค่าอัตโนมัติ กำหนดเอง หรือแสงกลางวัน โดยขึ้นอยู่กับความลึกของตำแหน่งใต้น้ำของคุณ
สำหรับน้ำตื้นหรือเมื่อใช้งานสโตรบ (แฟลชใต้น้ำ) ให้ใช้การตั้งค่าแบบแสงกลางวันหรืออัตโนมัติเพื่อให้กล้องจับภาพโดยไม่มีแสงอบอุ่น การตั้งค่าแบบแสงกลางวันหรืออัตโนมัติจะทำให้โทนสีอบอุ่นถูกปกคลุมด้วยโทนสีเย็นเพื่อปรับแต่งสีวัตถุให้เป็นสีแบบ 'ดั้งเดิม’ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้การตั้งค่าแบบกำหนดเองในน่านน้ำที่ลึกกว่า (หรือบริเวณที่แสงส่องผ่านลดลง) โดยนำกระดานชนวนดำน้ำสีขาว (หรือที่รู้จักกันในนาม แผ่นเทา) เป็นจุดอ้างอิงเพื่อปรับสมดุลแสงขาว ต่อไปนี้เป็นการตั้งค่า WB บางส่วนที่คุณสามารถใช้เป็นการอ้างอิงสำหรับความลึกในการดำน้ำของคุณ:
สำหรับน้ำตื้น (หรือใกล้พื้นผิว): การตั้งค่าโหมดแสงกลางวันหรือ 5200K
สำหรับความลึก 5 - 15 เมตร: การตั้งค่าโหมดมีเมฆมากหรือ 6000K
สำหรับความลึก 15 - 25 เมตร: การตั้งค่าโหมดแสงเงาหรือ 7000K
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างข้างต้นเหมาะสำหรับสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้นเนื่องจากสมดุลแสงขาวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ความแรงของแสงแดด และสีของมหาสมุทร หากทำให้ภาพของคุณออกเป็นโทนสีน้ำเงินอ่อน ให้ปรับสมดุลแสงขาวของคุณเป็น 7500K ด้วยตนเอง ตรวจสอบสมดุลแสงขาวของคุณทุกครั้งที่คุณย้ายไปยังตำแหน่งอื่นหรือระดับความลึกค่าอื่น
หมายเหตุ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณถ่ายภาพด้วยไฟล์ RAW เพราะจะทำให้การแก้ไขสมดุลแสงขาวเป็นเรื่องง่ายขึ้นในซอฟต์แวร์แก้ไขภาพหลังจากถ่าย นอกจากนี้ คุณควรใช้ประโยชน์จากโหมดหน้าจอถ่ายภาพ (live view) เพื่อระบุปัญหาการแก้ไขสีและทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นก่อนการถ่ายภาพทุกครั้ง
การจัดแสงและค่า ISO
โดยแสงจะอ่อนลงในขณะที่มันเดินทางผ่านน้ำ โดยปกติแล้วสโตรบค่อนข้างจะ “ไม่มีประโยชน์” เมื่อวัตถุของคุณอยู่ห่างออกไปมากกว่าสองเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทัศนวิสัยในการมองเห็นใต้น้ำด้วย เมื่อทัศนวิสัยไม่ดี การขยับเข้าใกล้วัตถุมากขึ้นจะช่วยลดแสงที่เกิดจากการกระจายแสงย้อนกลับ (สโตรบหรือแฟลชภายในที่ส่องแสงอนุภาคในน้ำระหว่างเลนส์และวัตถุ) เมื่อทัศนวิสัยดีเยี่ยม คุณจะประหลาดใจกับการที่สโตรบนำพาคุณไปยังวัตถุใต้น้ำได้แม้จะอยู่ไกลด้วยอานุภาพสูงสุดและการตั้งค่ารูรับแสงที่ถูกต้อง
เนื่องจาก ISO ไม่สำคัญเท่ากับความเร็วชัตเตอร์หรือรูรับแสงเมื่อทำการถ่ายภาพใต้น้ำ ดังนั้นให้ปรับการตั้งค่า ISO ของคุณตามปริมาณการกรองแสงที่ส่องไปยังฉากใต้น้ำของคุณระหว่างการถ่ายภาพ หากภาพมีแสงจ้ามากเกินไปให้ปรับ ISO ต่ำลงมาหรือเพิ่มขึ้นเมื่อภาพมืดเกินไป ISO จะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งของคุณ แฟลช และความเข้มของแสงแฟลช ดังนั้นให้ตรวจสอบการตั้งค่า ISO ของคุณเป็นระยะ ๆ จนเป็นนิสัย
มาตรวัดแสง
ก่อนที่จะเริ่มการผจญภัยในการถ่ายภาพจากการดำน้ำลึก ให้แน่ใจว่าคุณทำการทดสอบถ่ายภาพใต้น้ำสองถึงสามรูปเพื่อหาค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสม (ไม่สว่างเกินไปหรือมืดเกินไป) โดยการปรับมาตรวัดแสงให้เหมาะสม ทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นทุกครั้งเมื่อคุณไปยังตำแหน่งใหม่ (แนะนำ: ทุกๆ 5-10 ฟุต)
แฟลชกล้อง
แฟลชกล้องมีประโยชน์ในสถานการณ์ที่มีแสงไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำลึก ตรวจสอบโครงสร้างหินปะการังที่อาจยื่นออกมาอยู่ระหว่างสโตรบและวัตถุของคุณ แล้วให้ปรับตำแหน่งของลำแสงให้ดูเหมาะสมเพื่อให้แสงนั้นส่องไปยังสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายไม่ใช่ส่องไปที่แนวปะการัง
หมายเหตุ: อย่าทำให้สัตว์ทะเลที่ไวต่อแสงต้องสัมผัสกับแสงที่รุนแรงเกินกว่าระดับความเคยชินของพวกเขา
ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์กล้องของคุณใน ทำความเข้าใจกับเลนส์กล้องมิลเลอร์เลสของคุณ หรือเตรียมความพร้อมสำหรับการถ่ายภาพครั้งแรกของคุณด้วย สิ่งของ 10 ชนิดที่ต้องพกไปด้วยเมื่อออกไปถ่ายภาพ ลองดู สิ่งสำคัญ 4 ข้อที่ควรจดจำเมื่อถ่ายภาพใต้น้ำ และ 5 สิ่งที่ควรทราบเมื่อจัดองค์ประกอบภาพถ่ายใต้น้ำ ก่อนที่จะออกเดินทางครั้งต่อไป
รับสำเนาอินโฟกราฟิกของคุณเอง ที่นี่