[ตอนที่ 1] การปฏิวัติแบบก้าวกระโดดในการถ่ายภาพ Live View ด้วย Dual Pixel CMOS AF จากกล้อง EOS 70D
ในช่วงฤดูร้อนปี 2013 กล้อง DSLR รุ่นใหม่เผยโฉมซึ่งบ่งบอกนิยามใหม่แห่งการโฟกัสอัตโนมัติผ่าน Live View เนื้อหาด้านล่างนี้เป็นข้อมูลแนะนำกล้อง EOS 70D ใหม่ รุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยีระบบโฟกัสอัตโนมัติอันล้ำสมัย ใน [ตอนที่ 1] เราจะมาดูกลไกของ Dual Pixel CMOS AF และประโยชน์ของระบบนี้กัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
หน้า: 1 2
การปรากฏตัวของกล้อง EOS 70D ที่สร้างเซอร์ไพรซ์
กล้อง EOS 70D พัฒนาใหม่ล่าสุดเผยโฉมสู่ตลาดด้วยระยะเวลาประมาณ 3 ปีเศษหลังการเปิดตัวกล้อง EOS 60D ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ใช้หลากหลายกลุ่มตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงมือโปร กล้อง EOS รุ่นเลขสองหลักซึ่งมี EOS 70D เป็นตัวแทนจึงจัดว่าอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและสร้างประวัติศาสตร์แก่วงการกล้อง Digital SLR ของ Canon นับตั้งแต่เปิดตัวกล้อง EOS D30 เมื่อปี 2000 กล้องระดับนี้ได้นำเอานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้อย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม ในเวลาไม่กี่ปีมานี้ กล้อง EOS รุ่นเลขสามหลักก็มีการพัฒนาต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพ จึงได้รับความนิยมสูงขึ้นไล่ตามรุ่นเลขสองหลักมาติดๆ เพื่อเร่งแซงเงาความนิยมที่กำลังตามมาใกล้นี้ จึงมิการริเริ่มพัฒนา EOS 70D ขึ้นด้วยความมุ่งหมายที่จะพลิกชื่อเสียงของกล้อง EOS รุ่นเลขสองหลักที่โดดเด่นในเรื่องความคล่องตัวและคุณภาพระดับมืออาชีพให้กลับมาอีกครั้ง
นอกเหนือจากประสิทธิภาพการถ่ายภาพที่เพิ่มขึ้นจากการผสานคุณสมบัติเหนือระดับของกล้องรุ่นสูงๆ เอาไว้แล้ว กล้อง EOS 70D ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่นการโฟกัสอัตโนมัติขั้นสูงอีกด้วย การนำ "Dual Pixel CMOS AF" มาใช้จะเปลี่ยนแนวความคิดของคนทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพโฟกัสอัตโนมัติโดยใช้ฟังก์ชั่น Live View เช่นเดียวกับผลตอบรับที่เกิดขึ้นเมื่อ Canon เปิดตัวเซนเซอร์ CMOS ในกล้อง DSLR เป็นครั้งแรก เทคโนโลยี Dual Pixel CMOS AF ก็จะดึงดูดความสนใจได้อย่างมาก ไม่เฉพาะผู้สนใจงานถ่ายภาพ แต่รวมไปถึงผู้ที่ชื่นชอบกล้องด้วย การพัฒนาฟังก์ชั่น Live View AF นับเป็นความก้าวหน้าครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้การใช้งานฟังก์ชั่นการถ่ายภาพต่างๆ บนกล้อง EOS 70D สะดวกง่ายดายขึ้น
EOS 70D |
EOS 60D |
|
จำนวนพิกเซล | ประมาณ 20.2 ล้านพิกเซล | ประมาณ 18.0 ล้านพิกเซล |
ระบบประมวลผลภาพ | DIGIC 5+ | DIGIC 4 |
พื้นที่ครอบคลุมของช่องมองภาพ | ประมาณ 98% | ประมาณ 96% |
กำลังขยายของช่องมองภาพ | ประมาณ 0.95 เท่า | ประมาณ 0.95 เท่า |
จำนวนจุด AF ในช่องมองภาพ | 19 (แบบบวกทั้งหมด) | 9 (แบบบวกทั้งหมด) |
โหมดเลือกพื้นที่ AF | AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง), AF บางโซน (เลือกโซนด้วยตนเอง), AF แบบเลือก 19 จุดอัตโนมัติ | AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง), AF แบบเลือก 9 จุดอัตโนมัติ |
Live View AF | ระบบ Dual Pixel CMOS AF, ระบบ Contrast-detection AF (ฟังก์ชั่นตรวจจับและติดตามใบหน้า, Flexi Zone- หลายจุด, FlexiZone-จุดเดียว), ฟังก์ชั่นตรวจจับแบบ Phase-difference ด้วยเซนเซอร์ AF เฉพาะ (โหมดทันใจ), แมนนวลโฟกัส | โหมดมองสด, ตรวจจับใบหน้า โหมดมองสด , โหมดทันใจ, แมนนวลโฟกัส |
ความไวแสง ISO | ISO 100 ถึง 12800 (ขยายได้ถึง ISO 25600) | ISO 100 ถึง 6400 (ขยายได้ถึง ISO 12800) |
ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง | สูงถึงประมาณ 7 ภาพต่อวินาที | สูงถึงประมาณ 5.3 ภาพต่อวินาที |
ขนาด (กว้าง x สูง x ลึก) | ประมาณ 139 x 104.3 x 78.5 มม. | ประมาณ 144.5 x 105.8 x 78.6 มม. |
น้ำหนัก (ตามแนวทางของ CIPA) | ประมาณ 755 กรัม | ประมาณ 755 กรัม |
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดสเปคกล้อง | คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดสเปคกล้อง |
ก้าวสู่ยุคใหม่ของการถ่ายภาพ Live View ด้วย Dual Pixel CMOS AF
แทบไม่ต่างจากการถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพ ในการถ่ายแบบ Dual Pixel CMOS AF กล้องสามารถทำการโฟกัสด้วยระบบ Phase-difference AF ระหว่างที่ถ่ายภาพ Live View ได้ ความแตกต่างที่สำคัญเมื่อเทียบกับการโฟกัสอัตโนมัติที่ใช้ความเปรียบต่าง ซึ่งเป็นวิธีการโฟกัสอัตโนมัติสำหรับการถ่ายภาพ Live View ที่มีอยู่ในกล้องมากมายหลายรุ่น นั่นคือ Dual Pixel CMOS AF สามารถจับตำแหน่งของวัตถุตัวแบบได้อย่างแม่นยำตั้งแต่เริ่มโฟกัส
กลไกการทำงานของ Dual Pixel CMOS AF ระหว่างการโฟกัสอัตโนมัติ
1. มีการคำนวณความแตกต่างระหว่างสัญญาณต่างๆ (ปริมาณความเบลอของภาพ) ภายในจุด AF เพื่อใช้ขับเคลื่อนเลนส์โดยใช้ปริมาณที่เหมาะสม
เส้นสีน้ำเงิน และ เส้นสีแดง: สัญญาณโฟโตไดโอด
โฟโตไดโอดหนึ่งในสองตัวซึ่งอยู่ในทุกๆ พิกเซลของเซนเซอร์ภาพจะทำการเก็บข้อมูลจากตัวแบบ โดยจะคำนวณระยะห่างจากวัตถุตัวแบบและกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเลนส์ ตามความแตกต่างของสัญญาณที่รับจากโฟโตไอโอดทั้งสอง หรือกล่าวได้ว่า เป้าหมายของภาพถูกกำหนดอย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มทำการโฟกัส
2. การขับเคลื่อนเลนส์
เลนส์โฟกัสจะถูกขับเคลื่อนให้ทำการโฟกัสโดยใช้ข้อมูลที่ตรวจจับได้ จากนั้น กล้องจะเลื่อนเลนส์โฟกัสไปยังจุดโฟกัสโดยไม่ต้องค้นหาเมื่อเริ่มโฟกัส ทำให้จับโฟกัสได้รวดเร็วขึ้น เหมือนกับการโฟกัสอัตโนมัติโดยใช้ความเปรียบต่าง (Contrast AF)
3. การถ่ายภาพด้วยระบบนี้ทำให้ได้โฟกัสที่คมชัดทันที ต่างจากการใช้ Contrast AF แบบเดิม
ขณะที่การโฟกัสแบบ Hybrid CMOS AF เปลี่ยนเป็น Contrast AF โดยอัตโนมัติเมื่อเข้าใกล้ระนาบโฟกัส แต่สำหรับ Dual Pixel CMOS AF นั้นจะทำการโฟกัสเสร็จสมบูรณ์ด้วยระบบ Phase-difference AF เพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้ถ่ายภาพ Live View AF ได้ด้วยวิธีเดียวกันกับการถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพ
เนื่องจาก Contrast AF จะจับโฟกัสโดยการค้นหาจุดที่มีความเปรียบต่างมากที่สุดบนพื้นที่สร้างภาพ ความเร็วในการโฟกัสจึงมีแนวโน้มที่จะลดลงพอสมควรในช่วงการโฟกัสสุดท้าย ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีฉากหลายรูปแบบที่ระบบนี้ไม่สามารถจับโฟกัสได้ ตรงกันข้าม ระบบ Phase-difference AF จะกำหนดตำแหน่งหยุดกลุ่มเลนส์โฟกัสตั้งแต่เริ่มทำการโฟกัส ดังนั้นความเร็วในการโฟกัสจึงไม่ลดลงเมื่อเข้าใกล้ระนาบโฟกัส
การเปรียบเทียบความเร็วในการโฟกัสอัตโนมัติ (แผนภูมิจำลอง)
Phase-difference AF ขณะถ่ายผ่านช่องมองภาพ (สีแดง)
Dual Pixel CMOS AF (สีน้ำเงิน)
สามารถทำการโฟกัสได้โดยใช้เพียงระบบ Phase-difference AF บนพื้นที่สร้างภาพ
Hybrid CMOS AF (สีเขียว)
ระบบ Phase-difference AF บนพื้นที่สร้างภาพ + Contrast AF
ขณะที่ Dual Pixel CMOS AF จะไม่สลับไปยัง Contrast AF เมื่อเข้าใกล้ระนาบโฟกัส จึงทำการโฟกัสได้รวดเร็วกว่าถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับระบบ Hybrid CMOS AF (ตามข้อมูลของ Canon) จากกราฟข้างต้น เลนส์โฟกัสเลื่อนไปยังเป้าหมายในทิศทางที่แทบจะเป็นเส้นตรง
โฟโตไดโอดสองตัววางอยู่ในพิกเซลแต่ละพิกเซลในเซนเซอร์ระบบ Dual Pixel CMOS AF หรือกล่าวได้ว่า ระบบ Phase-difference AF สามารถทำการโฟกัสได้ด้วยทุกๆ พิกเซลในช่วงการโฟกัสอัตโนมัติ ซึ่งทำหน้าที่เสมือน ‘ดวงตา’ ในขณะเดียวกัน โฟโตไดโอดทั้งสองก็ทำหน้าที่ของเซนเซอร์ภาพไปด้วย ระหว่างที่สร้างภาพถ่าย โฟโตไดโอดสองตัวจะทำงานร่วมกันในการถอดสัญญาณภาพเพื่อให้โปรเซสเซอร์ภาพผลิตข้อมูลภาพ Dual Pixel CMOS AF เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการทำงานที่ยอดเยี่ยม อาทิ เรื่องความเร็วในการโฟกัสอัตโนมัติ กุญแจสำคัญของระบบนี้อยู่ที่โครงสร้างของเซนเซอร์ภาพ ซึ่งเป็นจุดที่โฟโตไดโอดสามารถทำได้ทั้งการโฟกัสและสร้างภาพถ่าย สิ่งนี้ทำให้ทุกๆ พิกเซลบนเซนเซอร์ภาพมีคุณสมบัติในการโฟกัสอัตโนมัติได้
เซนเซอร์ CMOS ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่
พื้นที่สร้างภาพถ่าย (สีแดง)
พิกเซลต่างๆ ประกอบด้วยฟังก์ชั่นของ Phase-diference AF และการสร้างภาพถ่ายในเซนเซอร์ CMOS ทั้งหมด
พื้นที่ที่ใช้งานได้ของ Dual Pixel CMOS AF (สีน้ำเงิน)
ระบบ Phase-difference AF ทำการโฟกัสได้ในพื้นที่ประมาณ 80% (แนวนอน) x 80% (แนวตั้ง) ของพื้นที่สำหรับสร้างภาพถ่าย
แต่ละพิกเซลบนเซนเซอร์ CMOS ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ประกอบด้วยโฟโตไดโอดสองตัว มีความละเอียดประมาณ 20.2 ล้านพิกเซล สามารถทำการโฟกัสแบบ Phase-difference ในพื้นที่สร้างภาพถ่ายประมาณ 80% (ทั้งแนวตั้งและแนวนอน) ต่างจาก Hybrid CMOS AF เพราะโฟโตไดโอดวางอยู่ใกล้กัน ทำให้โฟกัสได้แม่นยำขึ้น
เนื่องจาก Dual Pixel CMOS AF ทำงานตามหลักการเดียวกันกับระบบ Phase-difference AF จึงรองรับการถ่ายภาพโฟกัสอัตโนมัติจากเลนส์ทั้งหมด 103 รุ่น* ในซีรีย์ EF ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ยังทำงานร่วมกันได้กับชุดสั่งงานระบบขับเคลื่อนเลนส์โฟกัส รวมถึง STM (Stepping Motor), DC Motor, Ring USM และ Micro USM โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับเลนส์ที่ต้องขับเคลื่อนชิ้นส่วนเลนส์ที่ใหญ่และหนักเพื่อทำการโฟกัส อย่างเช่น เลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะกับ Contrast AF เพราะวิธีโฟกัสแบบนี้จะต้องเลื่อนชิ้นเลนส์เข้าและออกในช่วงสุดท้ายของการโฟกัส เนื่องจากเลนส์ในซีรีย์ EF ทั้งหมดออกแบบมาสำหรับการโฟกัสแบบ Phase-difference AF จึงควรขับเคลื่อนชิ้นเลนส์ด้วยวิธีการเดียวกันเท่านั้น โดยสรุป Dual Pixel CMOS AF อาจเทียบได้กับถนนไฮเวย์ที่ช่วยให้การเคลื่อนที่ของเลนส์ EF ขณะถ่ายภาพแบบ Live View เป็นไปได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น
* ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2013 จำนวนดังกล่าวนับรวมเลนส์รุ่นก่อนหน้าทั้งหมดรวมถึงเลนส์ที่มีจำหน่ายเฉพาะในบางพื้นที่
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก