ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 2] เทคโนโลยีเบื้องหลัง "ความละเอียดระดับสูงล้ำ"

2015-04-02
0
1.84 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS 5DS และ EOS 5DS R เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้ ผมจึงทำการสัมภาษณ์กับทีมพัฒนาเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้กับกล้องความละเอียดสูงสุด 50 ล้านพิกเซล รวมไปถึงความท้าทายในการพัฒนากล้องทั้งสองรุ่น (เรื่องโดย Ryosuke Takahashi / ภาพถ่ายนักพัฒนาโดย Takehiro Kato)

หน้า: 1 2 3 4

 

(แถวหลัง จากซ้ายมือ)
Kunihiro Shirai: ฝ่ายการออกแบบ ICP / Hiroyasu Morita: ฝ่ายการออกแบบ ICP
(แถวหน้า จากซ้ายมือ)
Mineo Uchida: ฝ่ายการออกแบบ ICP / Toshifumi Urakami: ฝ่ายการออกแบบ ICP / Kisyoshi Tachibana: ฝ่ายการวางแผนผลิตภัณฑ์ ICP 2

 
 

ระบบควบคุมแรงสั่นสะเทือนของกระจกสะท้อนภาพที่ปรับปรุงใหม่

- มีอะไรที่พัฒนาเพิ่มเติมในระบบ AF เพื่อสอดรับกับจำนวนพิกเซลที่มากขึ้นบ้าง?

Urakami ระบบ AF บนกล้อง EOS 5D Mark III ถูกนำไปใช้ในกล้องซีรีส์ EOS 5DS โดยตรง ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการติดตามตัวแบบด้วย EOS iTR AF มีการปรับให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้เซนเซอร์การวัดแสง RGB+IR ความละเอียด 150,000 พิกเซล

- เหตุผลที่ไม่เปลี่ยนเซนเซอร์ AF คืออะไรครับ เป็นเพราะประสิทธิภาพของระบบกล้อง EOS 5D Mark III ดีเพียงพอแล้วหรือเปล่า?

Urakami ใช่ครับ คุณพูดถูกแล้ว กล้อง EOS 5D Mark III และซีรีส์ EOS 5DS ใช้หลักการสร้างภาพบนระนาบโฟกัสที่เหมือนกันทุกกระเบียดนิ้ว ซึ่งสามารถรับมือได้ไม่ว่าจะมีจำนวนพิกเซลเท่าไหร่ ตราบเท่าที่ยังคงรักษาความแม่นยำไว้ได้ เซนเซอร์ AF เดิมนั้นสมบูรณ์แบบแล้ว เนื่องจากมีประสิทธิภาพการตรวจจับในระดับสูง

- ความละเอียดสูงสุดประมาณ 50 ล้านพิกเซลและความเร็วการถ่ายภาพต่อเนื่องประมาณ 5 เฟรมต่อวินาทีเป็นความสามารถของกล้องที่โดดเด่นมาก ทีมงานได้ทุ่มเทความพยายามกับสิ่งใดเป็นพิเศษที่ต้องพูดถึงบ้างครับ?

Morita แม้ว่าความสามารถนี้จะใช้กับกล้องอื่นๆ นอกเหนือจากซีรีส์ EOS 5DS ด้วย แต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องแน่ใจว่าเฟิร์มแวร์นี้ช่วยทำให้การทำงานต่างๆ ของระบบราบรื่นตั้งแต่การโหลดข้อมูลด้วยเซนเซอร์ภาพ ไปจนถึงการประมวลผลข้อมูลโดยระบบประมวลผลภาพ และการบันทึกข้อมูลหลังจากแปลงรูปแบบไฟล์ นี่เป็นครั้งแรกที่เฟิร์มแวร์นี้ทำหน้าที่จัดการกับขนาดข้อมูลที่ใหญ่ขนาด 50 ล้านพิกเซล และเราได้ทุ่มเทความพยายามในกระบวนการต่างๆ ของเฟิร์มแวร์ รวมถึงการโอนย้ายข้อมูลระหว่างระบบประมวลผลภาพ DIGIC 6 ทั้ง 2 หน่วย

- การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฟิร์มแวร์เดิมสำหรับการเพิ่มพิกเซลเป็น 50 ล้านพิกเซลคืออะไรบ้างครับ?

Morita ปริมาณข้อมูลขนาดใหญ่มีผลกระทบอย่างมากกับเฟิร์มแวร์ เพื่อสร้างความมั่นใจในการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็วและลื่นไหลภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการขั้นสูงและมีความซับซ้อน เช่น การประมวลผลแบบคู่ขนานพร้อมกับการสลับระหว่างพื้นที่หน่วยความจำ เนื่องจากพื้นที่หน่วยความจำในตัวกล้องมีจำกัด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาว่าวิธีใดที่จะทำให้ใช้พื้นที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด

- ระบบควบคุมแรงสั่นสะเทือนของกระจกสะท้อนภาพครั้งนี้แตกต่างจากที่เคยมีอย่างไร?

Urakami เป้าหมายหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนากล้องซีรีส์ EOS 5DS นี้คือการทำให้แรงสั่นสะเทือนภายในตัวกล้องลดลง การทำเช่นนี้ จำเป็นต้องลดทั้ง "แรงหนืดของส่วนประกอบต่างๆ สำหรับการเคลื่อนกระจก" และ "แรงกระแทกระหว่างการล็อคกระจกขึ้น" หลังจากทำการทดสอบหลายครั้ง ในที่สุด เราก็ได้ข้อมูลคร่าวๆ จากระบบควบคุมกระจกบนกล้อง EOS 7D Mark II ซึ่งขับเคลื่อนกระจกโดยตรงโดยใช้มอเตอร์ เพื่อให้ได้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องประมาณ 10 เฟรมต่อวินาทีโดยใช้กำลังไฟในปริมาณจำกัด ส่วนหนึ่งของกลไกนี้ได้นำมาใส่ไว้ในกล้องซีรีส์ EOS 5DS นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะรวมส่วนประกอบทั้งหมดในชุดกระจกกล้อง EOS 7D Mark II เพื่อให้ทำการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง สิ่งที่เราทำ คือ การปรับให้เหมาะสมและทำให้ระบบทั้งหมดของกล้องซีรีส์ EOS 5DS มีความเรียบง่าย หลักเดียวกันนี้ยังนำไปสู่การพัฒนาระบบใหม่ที่สั่งการทำงานของกระจกโดยใช้เพียงแค่ลูกเบี้ยวสำหรับการดีดกระจกขึ้นและลูกเบี้ยวเล็กสำหรับดีดกระจกลง การนำลูกเบี้ยวที่เล็กกว่ามาใช้จะทำให้น้ำหนักกล้องเบากว่าเดิม ซึ่งช่วยลดแรงหนืดที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของส่วนประกอบที่เป็นกระจก

- ระบบควบคุมแรงสั่นสะเทือนแบบเดิมและแบบใหม่ต่างใช้ลูกเบี้ยวเป็นกลไก แต่ต่างกันตรงวิธีการใช้ลูกเบี้ยว ถูกต้องไหมครับ?

Urakami ใช่ครับ วิธีการเรียบง่ายมาก ต่างกับการเคลื่อนในกล้อง EOS 7D Mark II แต่ถึงอย่างนั้น การเคลื่อนไหวของมอเตอร์ก็สะท้อนให้เห็นได้ในการเคลื่อนที่ของกระจก ซึ่งทำให้การควบคุมความเร็วสูงทำได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงกระแทกขณะกระจกดีดขึ้นและชนกับตัวหยุดถูกทำให้เบาลงในกล้องซีรีส์ EOS 5DS ทั้งสองรุ่นนี้ สำหรับระบบเดิมซึ่งดีดกระจกขึ้นโดยใช้แรงจากสปริง กระจกอาจกระแทกตัวหยุดแรง ด้วยระบบใหม่ จะสามารถลดแรงกระแทกให้ต่ำลงได้โดยการควบคุมความเร็วของกระจก

- อย่างนี้จะไม่กินพลังไฟจากแบตเตอรี่เยอะหรือ หากกระจกขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์เพียงอย่างเดียว?

Urakami ระบบที่ผสมผสานการใช้งานสปริงอาจจำเป็นต้องยึดกระจกไว้ขณะลดแรงสปริง ในระหว่างที่มีการบังคับโหลดปริมาณมากเอาไว้ เนื่องจากการทำงานเช่นนี้ไม่จำเป็นสำหรับระบบใหม่ จึงทำให้สามารถลดความสิ้นเปลืองพลังงานลงได้แม้ขณะที่มีการขับเคลื่อนกระจกด้วยมอเตอร์เพียงอย่างเดียว ด้วยการทำงานที่ไม่ขึ้นกับโหลดที่ไม่จำเป็น เราจึงใช้มอเตอร์แบบเดียวกับที่ใช้ในกล้อง EOS รุ่นเลข 3 หลักและ 4 หลัก

ระบบควบคุมแรงสั่นสะเทือนของกระจกสะท้อนภาพ

  1. เฟืองลูกเบี้ยวล่าง
  2. เฟืองลูกเบี้ยวบน
  3. มอเตอร์ขับเคลื่อนกระจก
  4. กลไกลดการเคลื่อนกระจกชิ้นรอง
  5. กระจกหลัก
  6. สปริงปรับลง
  7. เฟืองลูกเบี้ยวล่าง
  8. เฟืองลูกเบี้ยวบน
  9. ตัวปรับสมดุลกระจกหลัก
  10. มอเตอร์ขับเคลื่อนกระจก

แม้จะมีแนวคิดเบื้องต้นเหมือนกันกับกล้อง EOS 7D Mark II แต่มอเตอร์แนวตั้งสำหรับการขับเคลื่อนกระจกมีการลดขนาดลง นอกจากนี้ เฟืองลูกเบี้ยวที่ใช้สำหรับการดีดกระจกลงโดยเฉพาะยังถูกตัดออกไปด้วย ปัจจุบัน ทั้งการเคลื่อนกระจกขึ้นและลงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์โดยตรง

 

วิธีจัดการปัญหากล้องสั่นที่พิถีพิถัน

- ปกติแล้ว มักพูดกันว่าอาการกล้องสั่นมีแนวโน้มที่จะเกิดกับกล้องที่มีจำนวนพิกเซลสูงๆ มากกว่า เป็นไปได้ไหมครับว่าจะจัดการปัญหาการสั่นไหวทุกอย่างด้วยการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์เพียงอย่างเดียว?

Urakami จริงครับที่ว่าการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์จะช่วยแก้ปัญหานี้ แต่สำหรับการถ่ายภาพบางประเภทก็ไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ ได้ เช่น ในการถ่ายภาพทิวทัศน์กลางคืน ความเร็วชัตเตอร์จะลดลงเอง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราถึงนำวิธีการต่างๆ มาใช้ รวมถึงการพัฒนาระบบกระจกใหม่

- มีวิธีการง่ายๆ ในการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ตามทางยาวโฟกัสไหมครับ?

Urakami อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ แต่กฎที่อาจเป็นประโยชน์กว่าคือการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1 สต็อปจาก "1/ทางยาวโฟกัส" แต่ถึงอย่างนั้น การติดตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องก็ยังเป็นวิธีที่ดีกว่า เพราะไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาจากอาการกล้องสั่นได้ทั้งหมดหากคุณถ่ายภาพแบบถือกล้องถ่าย

- การตั้งค่าความไวในการตอบสนองของชัตเตอร์ที่ผู้ใช้เลือกเองได้มีข้อดีอย่างไรครับ?

Urakami ทีมออกแบบกลไกของเราเป็นผู้นำเสนอระบบนี้ เนื่องจากเราพยายามหาวิธีการหลากหลายวิธีเพื่อจะลดปัญหาจากอาการสั่นไหวของกล้องซีรีส์ EOS 5DS นี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบางอย่างที่เราไม่อาจกำหนดเองได้ เช่น ความแข็งแรงของขาตั้งกล้องที่ผู้ใช้ใช้งาน และทางยาวโฟกัสของเลนส์ ดังนั้น เราจึงเสนออีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาจากอาการกล้องสั่นระหว่างที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้า ซึ่งก็คือ การให้ผู้ใช้ตั้งค่าความไวในการตอบสนองของความเร็วชัตเตอร์ด้วยตัวเอง เมื่อเพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นจนกว่าจะมีการลั่นชัตเตอร์ คุณก็สามารถถ่ายภาพหลังจากกระจายแรงกระแทกจากการล็อกกระจกขึ้นแล้ว ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์เวลาที่ขาตั้งกล้องมีความแข็งแรงไม่เพียงพอหรือเมื่อใช้กับเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสระยะไกล

- แล้วโครงสร้างกับวัสดุบอดี้กล้องล่ะครับ มีการทำอะไรบ้างเพื่อช่วยจัดการกับปัญหากล้องสั่น?

Urakami เราใช้ใยแก้วเป็นวัสดุในการทำบอดี้กล้องครั้งนี้ และเพิ่มสัดส่วนให้มีความคงทนมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน เรายังนำวัสดุสเตนเลสสตีลชนิดหนามาใช้เป็นโครงพื้นฐาน และปรับโครงสร้างคอลลาร์สำหรับยึดขาตั้งกล้อง โดยเราเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอลลาร์สำหรับยึดขาตั้งกล้องโดยการออกแบบให้เป็นชิ้นส่วนแยกต่างหากด้วยวิธีการหล่อเป็นแท่งโลหะ

 

หน้า: 1 2 3 4

คุณสมบัติใหม่ที่น่าจับตามอง

- ผมพบว่ามีการเพิ่มรูปแบบภาพที่ชื่อ "Fine Detail" เข้ามาใหม่เมื่อได้ดูคุณสมบัติต่างๆ อย่างละเอียด แล้วรูปแบบภาพนี้ต่างจากเอฟเฟ็กต์รูปแบบภาพอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วอย่างไีร?

Shirai ตามที่ชื่อบอกครับ รูปแบบภาพนี้เน้นความสำคัญของรายละเอียด ความคมชัดจะยิ่งละเอียดขึ้นเมื่อเทียบกับระดับมาตรฐาน การตั้งค่าความคมชัดมาตรฐานจะให้เส้นขอบหนา ซึ่งดูเหมือนจะช่วยให้ภาพมีความละเอียดคมชัดสูงเมื่อมองแวบแรก แต่กลับทำให้ยากต่อการสร้างความคมชัดให้กับรายละเอียดของตัวแบบ ในทางกลับกัน รูปแบบภาพ "Fine Detail" ทำให้การสร้างความคมชัดในระดับรายละเอียดของตัวแบบเป็นเรื่องง่าย และยังเพิ่มความเข้มให้กับเส้นขอบในภาพพร้อมๆ กันไปด้วย ด้วยคุณสมบัติใหม่นี้ ปัจจุบันจึงสามารถสร้างพื้นผิวตัวแบบให้แสดงรายละเอียดอย่างพิถีพิถันยิ่งขึ้นได้ด้วย ความเปรียบต่างลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการตั้งค่ามาตรฐาน ดังนั้น จึงสามารถแสดงการไล่ระดับสีในส่วนสว่างได้ง่ายขึ้น แนวโน้มของสีใช้การตั้งค่ามาตรฐานเป็นตัวตั้งต้น ดังนั้น คุณจะได้รับข้อมูลสีตามจริงโดยไม่มีการปรับแต่งใดๆ

- อยากให้ช่วยอธิบายค่าพารามิเตอร์ [Fineness], [Strength] และ [Threshold] ในการตั้งค่าความคมชัดให้กับผู้ใช้ที่เพิ่งเริ่มใช้งานได้ไหมครับ?

Shirai ในแง่การประมวลผลภาพ [Strength] คือพารามิเตอร์สำหรับการปรับช่วงความคมชัด การเพิ่มระดับ [Strength] จะเ&

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา