ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เรียนรู้คุณสมบัติของเลนส์ซูมมุมกว้างรุ่นนี้แบบเจาะลึก

2014-09-25
0
4.48 k
ในบทความนี้:

เลนส์ L ใหม่ที่มีทางยาวโฟกัส 16 - 35 มม. และรูรับแสงกว้างสุด f/4 เข้ามาเป็นหนึ่งในกลุ่มเลนส์ EF และยังเป็นเลนส์มุมกว้างตัวแรกสำหรับกล้องฟูลเฟรมที่มีคุณสมบัติ IS คุณจึงบอกได้จากสเปคกล้องว่าเลนส์นี้ทรงพลังแค่ไหน บทความต่อไปนี้เป็นรายงานจากประสบการณ์ของผมในการใช้เลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM ระหว่างทริปถ่ายภาพทิวทัศน์ครั้งล่าสุด (เรื่องโดย: Shirou Hagihara)

หน้า: 1 2

 

เลนส์ซูม IS มุมกว้างสำหรับกล้องฟูลเฟรมตัวแรก

ในกลุ่มเลนส์ซูมมุมกว้างสำหรับกล้องฟูลเฟรมของ Canon มีเลนส์อยู่ด้วยกัน 2 รุ่น รุ่นหนึ่งคือเลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งมีรูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 และอีกรุ่นที่มีรูรับแสงกว้างสุดที่ f/4 รุ่น f/4 ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักเบา และราคาสมเหตุสมผลกว่ารุ่นขนาด f/2.8 จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับช่างภาพทิวทัศน์อย่างผม ที่จริงแล้ว ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้เลนส์ EF17-40mm f/4L USM ซึ่งมีมาก่อน
แต่ตอนนี้ เลนส์แบบ f/4 ใหม่ รุ่น EF16-35mm f/4L IS USM ได้เข้ามาร่วมในครอบครัวเลนส์กลุ่มนี้แล้ว เลนส์นี้มีทางยาวโฟกัสเท่ากันกับแบบ f/2.8 (EF16-35mm f/2.8L II USM) ซึ่งมีช่วงทางยาวตั้งแต่ 16 มม. ที่ระยะมุมกว้าง จนถึง 35 มม. ที่ระยะเทเลโฟโต้ มีการปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในฝั่งมุมกว้างหากดูเทียบกับเลนส์ EF17-40mm f/4L USM ในการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้น ยิ่งมุมกว้างก็ยิ่งได้เปรียบ บางคนอาจคิดว่า 1 มม. ไม่สลักสำคัญอะไร แต่แท้จริงแล้ว ระยะเพียงเสี้ยวนี้สร้างความแตกต่างอย่างมาก สำหรับผม มุมรับภาพที่กว้างขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงที่น่าอ้าแขนรับเป็นที่สุด
และอีกคุณสมบัติพิเศษของเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM คือ การเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างสำหรับกล้องฟูลเฟรมตัวแรกที่มีระบบ Image Stabilizer (IS) ในตัว แม้ว่าการถ่ายภาพมุมกว้างไม่ต้องการการแก้ไขด้วยระบบ IS มากเท่าการถ่ายภาพเทเลโฟโต้ แต่ยืนยันได้เลยว่า คุณสมบัตินี้จะเป็นประโยชน์เมื่อคุณถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย เช่น ในป่า ก่อนดวงอาทิตย์ตก หรือหลังดวงอาทิตย์ขึ้น

EF16-35mm f/4L IS USM

โครงสร้างเลนส์: 16 ชิ้นเลนส์ใน 12 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด: ประมาณ 0.28 เมตร
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.23 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์: φ77 มม.
ขนาด: ประมาณ φ82.6×112.8 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 615 กรัม

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM

 
 

เลนส์นี้ใช้การออกแบบออพติคอลที่รวมเอาชิ้นเลนส์ UD สองชิ้นและชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมสามชิ้นไว้ด้วยกัน โดยมีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมหล่อแก้วสองด้านเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่เป็นชิ้นแรก ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยลดความบิดเบี้ยวและความคลาดเคลื่อนต่างๆ ของภาพ พื้นผิวของชิ้นเลนส์แรกสุดและท้ายสุดมีการเคลือบฟลูออไรต์หนึ่งชั้นเพื่อให้ขจัดฝุ่นผงออกได้ง่าย ทุกความพยายามเหล่านี้ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพภาพถ่ายระดับสูง เลนส์รุ่นนี้ได้ทำให้ความคาดหวังของช่างภาพที่มีต่อการถ่ายภาพทิวทัศน์สูงขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่และแสง ในบทความนี้ ผมถ่ายภาพโดยใช้เลนส์รุ่นนี้เอง
แม้ว่าเลนส์ที่ผมเคยใช้ถ่ายภาพเป็นรุ่นทดลอง ถึงอย่างนั้นศักยภาพก็ยังเกินความคาดหมายของผม ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายวัตถุที่มีรายละเอียดประณีตหรือจะมีดวงอาทิตย์อยู่ในภาพ ผลที่ออกมาล้วนแต่น่าพอใจทั้งสิ้น ฟิลเตอร์ขนาด φ77 มม. ทำให้การจับคู่กับเส้นผ่าศูนย์กลางของเลนส์อื่นทำได้ง่าย หากความสว่างและเอฟเฟ็กต์โบเก้ของรูรับแสงขนาด f/2.8 ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการโดยเฉพาะ ผมรู้สึกว่าเลนส์นี้มีข้อได้เปรียบที่ดีกว่าสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์

เลนส์ซูม IS มุมกว้างตัวแรกสำหรับกล้องฟูลเฟรม

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (1/8 วินาที, f/11, ±0EV)/ ISO 800/ WB: แสงแดด

ดอกแอรัมสีขาว (White arum) ที่เริ่มผลิดอกในพื้นดินชุ่มชื้น สภาพการถ่ายไม่อำนวย เนื่องจากไม่สามารถติดตั้งขาตั้งกล้องให้มั่นคงได้ และเราเริ่มต้นถ่ายในช่วงเย็น แต่ฟังก์ชั่น IS ที่ทรงพลังนี้ทำให้ผมถ่ายภาพได้โดยไม่เบลอแม้จะถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้าถึง 1/8 วินาที

 

การออกแบบใหม่สำหรับคุณภาพภาพถ่ายที่ยกระดับสูงขึ้น

เลนส์นี้ออกแบบโดยมีชิ้นเลนส์ 16 เลนส์ใน 12 กลุ่มซึ่งมากมายเกินพอ เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมหล่อแก้วสองด้านถูกนำมาใช้ในกลุ่มเลนส์แรก ซึ่งเลนส์ชิ้นแรกมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่สำหรับการแก้ไขความบิดเบี้ยวที่ฝั่งมุมกว้างอย่างได้ผลดียิ่ง นอกจากนี้ ยังมีชิ้นเลนส์ UD สองชิ้นอยู่ในกลุ่มเลนส์กลุ่มที่ 4 เพื่อแก้ไขความคลาดสีจากการขยายภาพ ซึ่งทำให้คงคุณภาพภาพถ่ายให้สูงทั่วทั้งภาพ ไม่เพียงเท่านั้น ชื้นเลนส์แรกสุดและท้ายสุดยังมีการเคลือบฟลูออไรต์เพื่อป้องกันฝุ่นและสิ่งสกปรกไม่ให้เกาะติดผิวเลนส์ นี่เป็นคุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการเพื่อให้สามารถถ่ายภาพด้วยเลนส์ที่คงความสะอาดอยู่เสมอ

โครงสร้างเลนส์

สีน้ำเงิน: เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม
สีม่วง: เลนส์ UD
สีแดง: ชุดทำงานระบบ IS

 
 

เส้นกราฟ MTF

 

16 มม.

ระยะห่างจากกึ่งกลางภาพ (มม.)

35 มม.

ระยะห่างจากกึ่งกลางภาพ (มม.)

 
 

S: แนวเส้น Saggittal
M: แนวเส้น Meridional

 
 

การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและแม่นยำของ Ring USM

เลนส์นี้ติดตั้ง Ring USM ที่ช่วยให้สามารถโฟกัสด้วยความเร็วสูง ซึ่งทำงานควบคู่กับคุณสมบัติ IS เพื่อให้การถ่ายภาพแบบถือด้วยมือทำได้ง่ายขึ้น ยิ่งกว่านั้น ความถูกต้องในการโฟกัสก็ยังยอดเยี่ยมอย่างที่ไม่มีภาพใดเลยที่ถ่ายโดยใช้โฟกัสอัตโนมัติจะหลุดโฟกัส ด้วยเลนส์นี้ คุณจะสามารถถ่ายภาพมาโครมุมกว้างที่น่าพึงพอใจได้เช่นกัน

 
 

เบากว่าเลนส์ f/2.8 ที่มีอยู่ 25 กรัม

เรามาดูขนาดภายนอกและน้ำหนักด้วยกันผ่านการเปรียบเทียบเลนส์ซูมมุมกว้างสำหรับกล้องฟูลเฟรมของ Canon ทั้ง 3 รุ่นในแต่ละด้าน เลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM (ซ้ายสุด) ซึ่งเป็นเลนส์รุ่นใหม่ในกลุ่มนี้ ดูจะหนากว่าแบบ f/2.8 แต่กลับเบากว่า 25 กรัม เลนส์ทั้งหมดนี้ใช้ระบบการโฟกัสภายใน ดังนั้น ความยาวของกระบอกเลนส์จึงไม่เปลี่ยนขณะซูม

เอฟเฟ็กต์โบเก้และการถ่ายทอดที่คมชัดด้วยรูรับแสงขนาด f/4

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (1/30 วินาที f/4, +2EV)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

เราพบเฟิร์นขึ้นบนหินข้างลำธาร ผมจึงถ่ายภาพให้เห็นถึงความสว่างสดใสของป่าที่อยู่เบื้องหลังโดยการหมอบราบลงกับพื้น เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศของป่าให้สว่างขึ้น ผมใช้รูรับแสงกว้างสุดที่ f/4 เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่สร้างความน่าสนใจให้กับภาพถ่าย ขณะเดียวกัน ความคมชัดของส่วนที่โฟกัสก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ

ภาพมาโครมุมกว้างจากระยะใกล้ประมาณ 28 ซม.

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/4L IS USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (1/1,600 วินาที, f/4.5, ±0EV)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ต้นอ่อนของต้นบัตเทอร์เบอร์ (Butterbur) ที่กำลังแย้มบาน เพื่อรักษาสัดส่วนภาพเอาไว้ ผมปรับเลนส์ไปที่ฝั่งมุมกว้างและเลื่อนไปยังระยะโฟกัสใกล้สุดเพื่อสร้างภาพถ่ายที่เข้ากับเอฟเฟ็กต์โคลสอัพเป็นอย่างดีที่ประมาณ 28 ซม. และมุมรับภาพกว้างที่ทางยาวโฟกัส 16 มม.

* บทความนี้เขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากผลิตภัณฑ์รุ่นทดลอง ข้อมูลบางอย่างเช่นลักษณะของผลิตภัณฑ์และคุณภาพของภาพอาจแตกต่างจากผลิตภัณฑ์จริงบ้างเล็กน้อย

Shirou Hagihara

เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ “fukei shashin” ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)

 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา