ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

EF85mm f/1.4L IS USM: บทสัมภาษณ์นักพัฒนา (2)

2017-09-28
1
1.7 k
ในบทความนี้:

ในตอนที่ 2 ของบทสัมภาษณ์นักพัฒนาเลนส์ EF85mm f/1.4L IS USM (ตอนที่ 1 อ่านที่นี่) เราจะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ในการออกแบบทางออพติคอลและกลไกของเลนส์ซีรีย์ L

 

การจัดเรียงแบบออพติคอลใช้ประโยชน์จากเมาท์ EF ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่

ภาพพอร์ตเทรตงานแต่งงาน ถ่ายด้วย EF85mm f/1.4L IS USM

EOS 5D Mark IV/ EF85mm f/1.4L IS USM/ FL: 85 มม./ Manual exposure (f/1.4, 1/2500 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ภาพไม่เพียงมีโฟกัสคมชัด แต่ยังให้โบเก้ที่งดงามในส่วนแบ็คกราวด์ เพราะเมาท์ EF มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งให้รูรับแสงกว้างสุดถึง f/1.4

 

Iwamoto: ด้วยลักษณะโดยธรรมชาติการออกแบบทางออพติคอล ยิ่งไดอะแฟรม (ชุด EMD) อยู่ห่างจากด้านหลังของระบบออพติคอล (เช่น ด้านเมาท์) มากเท่าใด เลนส์ด้านหลังก็จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกัน อย่างที่ผมพูดถึงไปแล้วในตอนต้น [ดูตอนที่ 1] เนื่องจากเราวางระบบป้องกันภาพสั่นไหวไว้ที่ด้านเมาท์เช่นกัน เราจึงต้องจัดเรียงชิ้นส่วนตามลำดับดังนี้
(เลนส์ด้านหน้า) ไดอะแฟรม - ระบบป้องกันภาพสั่นไหว - กลุ่มเลนส์ด้านหลัง (กล้อง)

เนื่องจากไดอะแฟรมอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างห่างจากเมาท์ เส้นผ่านศูนย์กลางของกลุ่มเลนส์ด้านหลังจึงต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น เลนส์ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่อยู่แล้ว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขนาดขึ้นไปอีกเมื่อติดตั้งระบบป้องกันภาพสั่นไหว ดังนั้น การวางตำแหน่งของไดอะแฟรมทางด้านหลังจึงมีความสำคัญ นอกจากนี้ ถือเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดค่าระบบออพติคอลที่ช่วยลดการสั่นไหวและกลุ่มเลนส์ด้านหลังโดยให้มีเลนส์น้อยชิ้นที่สุด พร้อมกับรักษาประสิทธิภาพด้านออพติคอลไว้

โปรไฟล์และเมาท์ของเลนส์ EF85mm f/1.4L IS USM
โปรไฟล์และเมาท์ของเลนส์ EF85mm f/1.4L IS USM
 

EF85mm f/1.4L IS USM (ซ้าย) ได้รับการออกแบบให้ใช้ประโยชน์จากเมาท์ EF ขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 54 มม. (ขวา) ให้ได้มากที่สุด

 

ด้วยเหตุนี้ เส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์จึงแทบไม่พอดีกับเมาท์ EF หากคุณถือเลนส์และมองดูเลนส์ผ่านด้านของเมาท์ คุณจะเห็นว่าจริงๆ แล้วเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์นั้นมีขนาดใหญ่มากแค่ไหน เมาท์ EF ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่จึงช่วยเราในการกำหนดค่า และเป็นวิธีที่ใช้ในการติดตั้งระบบป้องกันภาพสั่นไหวให้กับเลนส์

 

รูปที่ 1 การจัดเรียงแบบออพติคอลของ EF85mm f/1.2L II USM

 

เมื่อเราได้วิธีกำหนดค่าสำหรับระบบป้องกันภาพสั่นไหวแล้ว เราก็เดินหน้าหาวิธีกำหนดค่าที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มเลนส์โฟกัส และเลนส์ทั้งหมดกันต่อ เพื่อลดขนาดของเลนส์ทั้งหมด ทั้งกลุ่มเลนส์โฟกัสและออปติกที่ป้องกันภาพสั่นไหวจะต้องมีน้ำหนักเบาและเคลื่อนที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับเลนส์นี้ เราใช้การจัดเรียงแบบออพติคอลแบบใหม่จากด้านหน้าเลนส์ ได้แก่ กลุ่มเลนส์ด้านหน้า ตามด้วยกลุ่มเลนส์โฟกัส ไดอะแฟรม กลุ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหว และต่อด้วยกลุ่มเลนส์ด้านหลัง 

การใช้กลุ่มเลนส์นูนหรือเลนส์เว้ามีผลทำให้คุณสมบัติของกลุ่มเลนส์โฟกัสและกลุ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหวเปลี่ยนไปได้มาก หากเราจัดกลุ่มเลนส์โฟกัสเป็นกลุ่มเลนส์เว้า และกลุ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหวเป็นกลุ่มเลนส์นูน จากนั้นนำไปวางไว้ใกล้กันเพื่อให้คุณสมบัติของเลนส์เว้าและเลนส์นูนลบล้างกัน เราจะสามารถกำหนดกำลังการรวมแสงได้อย่างเหมาะสม และนี่เป็นวิธีที่เราใช้เพื่อทำให้ตัวเลนส์ทั้งหมดรวมทั้งกลุ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหวมีขนาดกะทัดรัดมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การจัดกลุ่มเลนส์โฟกัสด้วยการจัดเรียงแบบเลนส์นูน-เลนส์เว้า-เลนส์นูน ยังช่วยลดน้ำหนักของเลนส์และได้ภาพถ่ายคุณภาพสูงอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อจัดกลุ่มเลนส์ด้านหลังด้วยเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม เราจะลดจำนวนเลนส์ในกลุ่มเลนส์ด้านหลังลงพร้อมๆ กับแก้ไขความคลาดทรงกลม ซึ่งช่วยให้วางไดอะแฟรมให้อยู่ไกลที่สุดทางด้านหลังได้ เมื่อเราวางแผนองค์ประกอบพื้นฐานของทั้งเลนส์และการจัดกลุ่มเลนส์แต่ละกลุ่มโดยใช้หลักการนี้แล้ว เราก็สามารถออกแบบเลนส์ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

 

การจัดเรียงแบบออพติคอลของ EF85mm f/1.2L II USM

รูปที่ 2 การจัดเรียงแบบออพติคอลของ EF85mm f/1.4L IS USM

 

เนื่องจากการเพิ่มกลุ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหวเข้ามาทำให้จำนวนของชิ้นเลนส์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น การลดการเกิดแสงหลอกจึงเป็นปัญหาด้านเทคนิคอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องแก้ไข สำหรับเลนส์ตัวนี้ เราใช้เลนส์ซีเมนต์สามชิ้นเป็นเลนส์ด้านหลัง แม้เป็นเรื่องยากที่จะจัดวางแกนของเลนส์ทั้งสามตัวในเลนส์ซีเมนต์สามชิ้นให้เป็นแนวเดียวกัน แต่เราก็ตัดสินใจใช้เลนส์ชนิดนี้เพื่อลดพื้นผิวที่สัมผัสกับอากาศ เนื่องจากผิวของเลนส์ที่เลนส์ด้านหลังมีแนวโน้มจะเกิดแสงหลอกได้มาก ดังนั้น การใช้ ASC (Air Sphere Coating) สำหรับเลนส์ตัวที่ 8 จึงช่วยลดการเกิดแสงหลอกได้ แม้จำนวนของชิ้นเลนส์จะเพิ่มขึ้นก็ตาม

 

เป้าหมายเพื่อลดขนาดของเลนส์

Okuda: มอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) ซึ่งเป็นแอคทูเอเตอร์สำหรับขับเคลื่อนโฟกัสอัตโนมัติ มีหลากหลายตัวเลือกซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานกับเส้นผ่านศูนย์กลางเลนส์ เพื่อให้เส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกมีขนาดเล็กพอสำหรับการถ่ายภาพแบบถือกล้องถ่ายเป็นระยะเวลานาน เราตัดสินใจใช้ USM ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ซึ่งใช้ในเลนส์ EF รุ่นอื่นๆ มากมาย รวมทั้ง EF35mm f/2 IS USM และ EF85mm f/1.8 USM เราทำงานร่วมกับหัวหน้าฝ่ายออกแบบออพติคอลเพื่อคิดค้นวิธีออกแบบที่ทำให้ชิ้นส่วนมีขนาดพอดีกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง USM ที่จำกัด โดยเริ่มต้นจากระบบออพติคอล

เพื่อไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง EF85mm f/1.2L II USM ใช้ USM ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ซึ่งพบได้ในเลนส์รุ่นต่างๆ อาทิ เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ EF400mm f/2.8L IS II USM

Ring USM

รูปที่ 3 Ring USM (USM ที่ EF85mm f/1.4L IS USM ทางด้านขวาใช้)

 

ดังที่ผมพูดถึงไปแล้วในตอนต้น (ดูตอนที่ 1) แม้กลุ่มระบบป้องกันภาพสั่นไหวของเลนส์ตัวนี้จะมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกับกลุ่มระบบของเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ก็ตาม แต่เราจำเป็นต้องมั่นใจว่าระบบป้องกันภาพสั่นไหวทั้งหมดรวมถึงระบบขับเคลื่อนจะมีขนาดที่พอเหมาะ ด้วยเหตุนี้ เราจึงลดโหลดการขับเคลื่อนด้วยการใช้กลไกการขับเคลื่อนที่มีแรงเสียดทานต่ำมาก ซึ่งใช้ตลับลูกปืนเซรามิกหลายตลับในการรองรับชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ได้ วิธีนี้จะลดแรงขับเคลื่อนที่จำเป็นและช่วยให้เราออกแบบระบบป้องกันภาพสั่นไหวให้มีขนาดกะทัดรัดและเบาได้

 

ชุดทำงานระบบ IS ของ EF85mm f/1.4L IS USM

รูปที่ 4 การเปรียบเทียบระบบป้องกันภาพสั่นไหว
ซ้าย: ชุดที่ใช้งานจริง ขวา: ชุดที่นำมาเปรียบเทียบ

 

กลไกการขับเคลื่อนโฟกัส (รูปที่ 5) ที่ด้านหน้าของระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้รับการคิดค้นขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเลนส์มีรูรับแสงกว้าง ระยะชัดลึกจึงตื้นมาก และการโฟกัสอัตโนมัติยังต้องใช้ความแม่นยำสูงมากอีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่กลุ่มเลนส์โฟกัสจะหนักอึ้ง และกลไกการขับเคลื่อนทั้งหมด เช่น มอเตอร์ที่ขับเคลื่อนกลุ่มและระบบควบคุมการเบรกที่หยุดการทำงานของมอเตอร์ จะต้องมีความทนทานมากกว่าในเลนส์ซีรีย์ L อื่นๆ การใช้ตลับลูกปืนกลมที่มีความทนทานสูงในกลไกการขับเคลื่อนสำหรับเลนส์นี้จึงช่วยลดการโหลด พร้อมกับเพิ่มความละเอียดคมชัดและความแม่นยำอีกด้วย นอกจากนี้ การใช้ตลับลูกปืนกลมยังช่วยให้โฟกัสอัตโนมัติมีความเร็วสูง เนื่องจากกลุ่มเลนส์โฟกัสที่หนักอึ้งต้องขับเคลื่อนโดยใช้กำลังที่จำกัดของมอเตอร์ แต่เลนส์โฟกัสสามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีตลับลูกปืนกลมช่วยในการลดการโหลดนั่นเอง

 

ชุดโฟกัสของ EF85mm f/1.4L IS USM

รูปที่ 5 ชุดโฟกัส (ตลับลูกปืนกลมในกรอบสี่เหลี่ยม)

 

เนื่องจากเรากำหนดรูปทรงของชิ้นส่วนเชิงกลไกของ Ring USM สอดคล้องกับขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกของกระจก เราจึงสามารถใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการลดขนาดและน้ำหนักของเลนส์

เพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรคในการเพิ่มกลไกระบบป้องกันภาพสั่นไหวให้กับเลนส์ 85mm f/1.4 พร้อมๆ กับรักษาขนาดและน้ำหนักให้พอเหมาะ เราจึงใช้เวลามากในการศึกษาการผสมผสานระหว่างกลศาสตร์กับออพติก หากเราลดขนาดของชิ้นส่วนเชิงกลไกครั้งละ 0.1 มิลลิเมตร ท้ายที่สุดเราจะได้การออกแบบเลนส์ที่เหมาะสำหรับการใช้งาน

เลนส์นี้มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ให้ประสิทธิภาพถึง 4 สต็อป (ทางยาวโฟกัส 85 มม., ใช้กล้อง EOS-1D X Mark II สอดคล้องตามมาตรฐาน CIPA) นี่คือเลนส์ตัวแรกของ Canon ที่มีรูรับแสงกว้าง f/1.4 และมาพร้อมระบบป้องกันภาพสั่นไหว และเราหวังว่าผู้ใช้งานจะได้สัมผัสกับความง่ายในการใช้งานด้วยตัวเอง อันเป็นผลจากความสำเร็จในการทำให้ขนาดของเลนส์สามารถใช้งานได้จริง พร้อมกับมีระบบ IS อีกด้วย

 

มุ่งเพิ่มความไว้วางใจ

Okuda: แม้ว่าเราจะคิดค้นวิธีแก้ปัญหาสำหรับการออกแบบเลนส์ให้มีน้ำหนักเบา แต่แรงกระแทก เช่นในกรณีที่ตกลงพื้นก็สำคัญมากเช่นกัน เนื่องจากเลนส์มีน้ำหนักเกือบ 1 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มความไว้วางใจในการใช้งาน เราจึงนำกลไกตัวลดการสั่นสะเทือนของเลนส์ด้านหน้าขึ้น ตัวล็อคฟิลเตอร์ออกแบบให้มีรูปทรงที่คลายออกเมื่อกดลง ซึ่งเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนเมื่อคุณถือเลนส์ไว้ในมือ ส่วนตัวลดการสั่นสะเทือนจะช่วยกระจายแรงกระแทกเมื่อบางสิ่งชนกับส่วนท้ายของเลนส์ โดยลักษณะแล้วการกระจายการสั่นสะเทือนนับเป็นเรื่องยาก หากความยาวของเลนส์เป็นแบบคงที่ เราจึงตัดสินใจใช้ตัวลดการสั่นสะเทือน เนื่องจากเลนส์นี้มีความยาวคงที่และรูัรับแสงกว้าง และวิธีนี้ไม่ได้นำมาใช้ในเลนส์ EF ทุกรุ่น แต่ใช้ตามโครงสร้างของเลนส์และการจำลองเท่านั้น นอกจากเลนส์นี้แล้ว ตัวลดการสั่นสะเทือนยังใช้ใน EF24-70mm f/4L IS USM, EF11-24mm f/4L USM, EF35mm f/1.4L II USM และ EF24-105mm f/4L IS II USM แม้ว่าอาจเห็นได้ไม่ชัดมากในเลนส์ซูม แต่คุณจะสามารถทราบได้เมื่อกดตัวล็อคฟิลเตอร์ในเลนส์เดี่ยว

EF85mm f/1.4L IS USM

มีการใช้การซีลเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและละอองน้ำ และใช้โครงสร้างเลนส์ที่ด้านในและรอบๆ เมาท์ สวิตช์ และวงแหวนโฟกัสของ EF85mm f/1.4L IS USM

 

สรุป

Yamaguchi: แม้ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าความต้องการจำนวนพิกเซลที่มากขึ้นจะเพิ่มสูงขึ้น แต่เลนส์ที่ใช้งานได้ดีเยี่ยมจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถถือกล้องถ่ายภาพด้วยความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยได้ เราจึงมั่นใจที่จะแนะนำเลนส์อันยอดเยี่ยมนี้ ในฐานะเลนส์สำหรับถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่เพียบพร้อมด้วยความละเอียดสูง ระบบป้องกันภาพสั่นไหว น้ำหนักและขนาดที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

ไม่ว่าจะถ่ายภาพในร่มหรือในแสงสลัว เลนส์จะช่วยให้คุณจับภาพได้อย่างคมชัด โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มการตั้งค่าความไวแสง ISO และคุณจะเพลิดเพลินกับการถือกล้องเพื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตโดยไม่เหนื่อยล้า เนื่องจากน้ำหนักที่เบาและระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว เราหวังว่าเลนส์รุ่นนี้จะมอบประสบการณ์ทางอารมณ์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นกว่าที่เคยมีมา

นักพัฒนา EF85mm f/1.4L IS USM

Yamaguchi หัวหน้าฝ่ายวางแผนผลิตภัณฑ์

นักพัฒนา EF85mm f/1.4L IS USM

Iwamoto หัวหน้าฝ่ายออกแบบออพติคอล

นักพัฒนา EF85mm f/1.4L IS USM

Okuda หัวหน้าแผนกการออกแบบเชิงกลไก

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา