ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 3: โปรไฟล์สีและการปรับค่าสี

2017-06-22
0
4.14 k
ในบทความนี้:

ในตอนที่ 2 ของบทความชุดนี้ เราได้กล่าวถึงปริภูมิสี อาทิ sRGB, Adobe RGB ฯลฯ และความสำคัญของการเลือกปริภูมิสีที่ถูกต้องสำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์กันไปแล้ว ในบทความนี้ เราจะลองมาศึกษาหัวข้อเกี่ยวกับโปรไฟล์สีและการปรับค่าสีกัน

โปรไฟล์สีและการปรับค่าสี

 

โปรไฟล์สีจริงๆ แล้วคืออะไร

โปรไฟล์สี คือ ตารางทางคณิตศาสตร์ที่กำหนดสีต่างๆ สำหรับอุปกรณ์ของคุณ กล้อง จอแสดงผล และเครื่องพิมพ์ทุกรุ่นจะมีโปรไฟล์สีเฉพาะของตัวเอง และโปรไฟล์สีของอุปกรณ์เหล่านั้นจะไม่เข้ากันเสมอไป ซึ่งความแตกต่างของสีนี้เรียกว่า ความไม่เข้ากันของขอบเขตสี (Gamut Mismatch) ที่เกิดขึ้นจากระบบสีและเทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดและแสดงสีแตกต่างกัน

ดังนั้น ภาพที่เหลืออยู่ในกล้องจึงมีโปรไฟล์สีที่ฝังตัวอยู่ (เช่น Adobe RGB หรือ sRGB) ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณสามารถหาสีที่ใกล้เคียงที่สุดเพื่อใช้ในการแสดงหรือพิมพ์ภาพถ่าย โปรไฟล์สีที่ฝังตัวนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแก้ไขสีและการจัดการสีทำงานอย่างเหมาะสม

สำหรับการจัดการความไม่เข้ากันของขอบเขตสี ระบบจัดการสีของ Adobe Photoshop และ Adobe Lightroom จะเปรียบเทียบโปรไฟล์สีของภาพ หน้าจอ และเครื่องพิมพ์ และให้คุณควบคุมวิธีการจัดการผลลัพธ์อย่างดีที่สุดผ่านตัวเลือกการปรับค่าสีในกล่องข้อความแสดงการพิมพ์ เมื่อภาพถูกส่งไปเพื่อทำการพิมพ์ 

 

โปรไฟล์สี

 

ตัวเลือกการปรับค่าสีทั้งสี่ตัวเลือกได้แก่:

Perceptual
อัลกอริทึม Perceptual RI (การปรับค่าสีซึ่งรับรู้ได้) จะถ่ายทอดสีทั้งหมดของฉากในภาพถ่ายใหม่โดยใช้การบีบขอบเขตสี โดยทั่วไป อัลกอริทึมจะแมปสีของภาพถ่ายใหม่เพื่อให้เข้ากับความสามารถในการพิมพ์สีของเครื่องพิมพ์ พึงระลึกว่าเมื่อใช้การบีบขอบเขตสี แม้ว่าสีที่อยู่นอกขอบเขตสีจะได้รับการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด แต่สีที่อยู่ในขอบเขตสีก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่วิธีนี้จะทำให้แน่ใจว่าความสัมพันธ์ของสีและการเปลี่ยนผ่านระหว่างสีต่างๆ (เช่น การขับเน้นสีของท้องฟ้าในช่วงฤดูใบไม้ร่วงให้เข้มขึ้นเรื่อยๆ) จะเป็นไปอย่างนุ่มนวลกลมกลืน ดังนั้น โหมด Perceptual จึงเหมาะสำหรับการพิมพ์ภาพถ่ายที่สวยงามน่ามอง เนื่องจากภาพจะมีการเกลี่ยโทนสีผิวและฉากได้อย่างดีเยี่ยม ผลลัพธ์คือภาพถ่ายที่สวยงามน่าประทับใจและนุ่มนวลมากขึ้นกว่าเดิม และไม่เกิดลายแถบสี (Colour Banding) อย่างไรก็ดี โหมดนี้มีแนวโน้มที่จะปรับสีในภาพถ่ายให้จางลง เนื่องจากพยายามปรับสมดุลของสีในภาพถ่ายใหม่

Absolute
ในทางกลับกัน อัลกอริทึม Absolute RI (การปรับค่าสีแบบสัมบูรณ์) จะใช้ Gamut Clipping ในการจัดการความแตกต่างของสีระหว่างอุปกรณ์ Gamut Clipping เพียงขจัดสีที่อยู่นอกขอบเขตสีและเหลือเฉพาะสีที่อยู่ขอบเขตสีไว้เท่านั้น ดังนั้น เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องพิมพ์ 4 สีทั่วไป โหมดนี้มีแนวโน้มที่จะให้การเกลี่ยสีที่ "ไม่แน่นอน" ซึ่งส่งผลให้เกิดลายแถบสีที่มองเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดี สำหรับเครื่องพิมพ์ระบบหมึก 11 สี เช่น Canon imagePROGRAF PRO-500 อาจไม่ปรากฏเอฟเฟ็กต์แถบสี เนื่องจากเครื่องพิมพ์มีขอบเขตสีที่กว้างมาก ช่างภาพอาจพบว่าอัลกอริทึมการปรับค่าสีแบบสัมบูรณ์ให้ภาพที่มีความแม่นยำของสีมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาพถ่ายและเครื่องพิมพ์ด้วย

 

การปรับค่าสี – Perceptual RI กับ Absolute RI

การปรับค่าสีซึ่งรับรู้ได้กับการปรับค่าสีแบบสัมบูรณ์

 

Saturation
อัลกอริทึม Saturation RI (การปรับค่าสีแบบความอิ่มตัว) เหมือนกับ Perceptual RI ตรงที่จะถ่ายทอดสีทั้งหมดของฉากในภาพถ่ายใหม่ แต่พยายามที่จะรักษาความเข้มของสีมากกว่าความถูกต้องของสี นั่นหมายความว่าตัวเลือกนี้สามารถเปลี่ยนสีของภาพถ่ายไปได้อย่างสิ้นเชิง เช่น เปลี่ยนโทนสีน้ำเงินเป็นสีเขียว เพื่อรักษาความอิ่มตัวของสีให้เข้มเช่นเดิม ดังนั้น โดยปกติช่างภาพจึงไม่นิยมใช้โหมดนี้ในการพิมพ์ภาพ

Relative Colorimetric
ตัวเลือกสุดท้ายคืออัลกอริทึม Relative Colorimetric RI (การปรับค่าสีแบบวัดสีเทียบเคียง) ใช้สำหรับตรวจสอบสีของภาพบนกระดาษสีขาวนวล เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถระบุจุดสีขาวในโปรไฟล์ ICC ได้ ดังนั้น โหมดนี้จึงไม่เหมาะสำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์

 

การปรับค่าสี – การวัดสีเทียบเคียง

การปรับค่าสี – การวัดสีเทียบเคียง

 

สิ่งสำคัญคือ ควรเข้าใจวิธีการทำงานของการปรับค่าสีเหล่านี้ เพื่อช่วยให้คุณควบคุมการเปลี่ยนแปลงของสีที่เกิดขึ้นเมื่อส่งไฟล์ภาพไปทำการพิมพ์

โดยทั่วไป อัลกอริทึมการปรับค่าสี (RI) จะ
- ถ่ายทอดสีทั้งหมดของฉากในภาพถ่ายใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนของสีแบบฉับพลัน
- หรือตัดสีที่ไม่เข้ากันกับภาพ และพิมพ์ภาพโดยไม่เปลี่ยนสีที่ได้รับผลกระทบ

โดยสรุป ช่างภาพที่ต้องการพิมพ์ภาพวิจิตรศิลป์ควรเข้าใจความต้องการของตนเองในการแสดงสีสัน หากความถูกต้องของสีคือสิ่งสำคัญ ควรลงทุนใช้เครื่องพิมพ์ที่มีขอบเขตสีกว้างมากๆ อย่างเช่น Canon imagePROGRAF PRO-500 และพิมพ์ภาพในโหมด Absolute หากความถูกต้องของสีไม่ใช่สิ่งที่สำคัญมาก โหมด Perceptual จะให้ผลลัพธ์ที่สวยงามน่ามองอย่างมากเมื่อนำมาใช้กับเครื่องพิมพ์ภาพที่มีประสิทธิภาพ

 

ในบทความต่อไป เราจะมาดูพื้นฐานของการจัดเตรียมขั้นตอนการทำงานสำหรับการแก้ไขสีกัน


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา