ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพทิวทัศน์ – การจัดองค์ประกอบภาพและคุณสมบัติกล้องเพื่อการถ่ายทอดภาพที่ดีที่สุด

2014-04-10
4
3.64 k
ในบทความนี้:

กล้อง EOS 5D Mark III ประกอบด้วยฟังก์ชั่น AF สุดล้ำสมัยพร้อมกับฟังก์ชั่นการถ่ายภาพมากมาย ช่างภาพทิวทัศน์มืออาชีพใช้กล้องรุ่นนี้เพื่อสร้างแนวคิดในการถ่ายภาพตัวแบบที่คุณต้องการถ่ายโดยใช้คุณสมบัติอันน่าทึ่งของกล้องตัวนี้ (เรื่องโดย: Michiko Yone)

EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 29 มม./ Manual exposure (4 วินาที, f/16)/ ISO 800/ WB: แสงแดด/ ฟิลเตอร์ PL/ ขาตั้งกล้อง/ Yakushima, Kagoshima Prefecture

แม้ตอนนั้นจะเป็นช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิบนเกาะยาคุชิมะ แต่ผืนป่าก็ปกคลุมไปด้วยสีเขียวชะอุ่มเรียบร้อยแล้ว จึงเกิดเป็นภาพอันงดงามหลังฝนตก ณ จุดนี้ฉันใช้เลนส์ 16-35mm เพื่อให้เห็นถึงบรรยากาศของป่าโดยมีก้อนหินขนาดใหญ่เป็นตัวแบบหลัก

 

3 วิธีการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้น่าประทับใจ

การจัดองค์ประกอบภาพ: ใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเน้นความลึก

เซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรมของกล้องจะเป็นประโยชน์เวลาถ่ายภาพทิวทัศน์ สำหรับตัวแบบในภาพถ่ายที่ 1 และ 2 ในหน้าถัดไป เสน่ห์ของเซนเซอร์ฟูลเฟรมจะฉายแววอย่างเต็มที่ ซึ่งคุณมองเห็นได้จากความกว้างของภาพและความมีมิติ จึงขอแนะนำให้คุณจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อเพิ่มสัมผัสที่ให้ความลึกและบรรยากาศล้อมรอบในระดับปานกลาง ถ้าคุณกำลังพยายามถ่ายภาพต้นไม้ยักษ์อย่างในภาพที่ 2 หรืออะไรอย่างอื่นที่มีความพิเศษในตัว การซูมเข้ามากเกินไปอาจทำให้ผู้ดูไม่สามารถเข้าถึงขนาดหรือลักษณะที่แท้จริงของตัวแบบก็เป็นได้ ในกรณีเช่นนี้คุณควรให้มีบรรยากาศแวดล้อมเข้าไปอยู่ในองค์ประกอบด้วย

แสง: หลีกเลี่ยงการเกิดส่วนที่สว่างเกินไปโดยใช้แสงตอนเช้า/เย็น

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ อาจหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดส่วนที่สว่างเกินไปได้โดยใช้แสงแดดอันนุ่มนวลในตอนเช้าหรือตอนเย็น นอกจากนั้น แสงสีแดงในช่วงเช้าตรู่หรือช่วงพระอาทิตย์ตกยังช่วยให้ตัวแบบดูขึ้นกล้องกว่าเดิมด้วย ในภาพที่ 3 ฉันลองจับภาพแสงแดดยามบ่ายที่ลอดผ่านร่มไม้ลงมาเหมือนกับลำแสงของสปอตไลท์ อย่างไรก็ตาม เมื่อแสงนั้นสว่างเกินไป ฉันจึงใช้คุณสมบัติการถ่ายภาพซ้อนเพื่อลดความเข้มลงจนเหมือนกับการทำเอฟเฟ็กต์ซอฟต์โฟกัส ถ้าไปถ่ายภาพในป่าทึบ ลองตั้งใจหาช่วงเวลาที่แสงส่องทะลุกิ่งไม้ใบไม้แบบแปลกๆ ดู ซึ่งจะทำให้เกิดภาพความเปรียบต่างสูงโดยมีความแตกต่างของปริมาณการรับแสงมาก

การตั้งค่า: ล็อคกระจกเพื่อเลี่ยงการสั่นไหว

ในการโฟกัส ให้ขยายตัวแบบขึ้น 10 เท่าโดยใช้ฟังก์ชั่น Live View แล้วปรับโฟกัสด้วย MF นอกจากนั้นให้ตั้งค่า [เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง] ไปที่ [ใช้งาน] ด้วย โดยมากแล้วขาตั้งกล้องจะถูกนำมาใช้สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์แทบตลอดเวลา ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้ค่า ISO สูงๆ เมื่อมีโอกาส โดยทั่วไปแล้วให้ตั้งค่าคุณภาพการบันทึกภาพไปที่ [RAW+JPEG] สมดุลแสงขาวไปที่ [แสงแดด] และรูปแบบภาพไปที่ [ภาพวิว] สิ่งที่ควรทำเสมอคือการใช้รีโมทคอนโทรล การล็อคกระจกแม้แต่ตอนที่คุณใช้เลนส์ตัวอื่นที่ไม่ใช่เลนส์เทเลโฟโต้ และระมัดระวังให้มากในการป้องกันกล้องสั่นไหว ควรตั้งค่าโหมดการเปิดรับแสงไปที่ [ตั้งค่าเอง] แล้วปรับค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ทุกครั้ง

คุณสมบัติแนะนำของกล้อง EOS 5D Mark III

การถ่ายภาพซ้อน

 

วิธีการถ่ายภาพซ้อนไม่ใช่แค่ใช้ในการแสดงความนุ่มนวลของตัวแบบอย่างดอกไม้เท่านั้น มันยังมีประโยชน์เวลาถ่ายภาพฉากที่มีแสงสว่างแรงๆ อย่างในภาพที่ 3 อีกด้วย โดยปกติแล้วตัวเลือก [เติมแต่ง] จะใช้สำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ด้วยคุณสมบัติการถ่ายภาพซ้อน การตั้งค่ารูรับแสงและสมดุลแสงขาวจะปรับได้สำหรับภาพซ้อนแต่ละภาพตั้งแต่ 2-9 ภาพได้ทันที

 

เลนส์ที่แนะนำ

EF16-35mm f/2.8L II USM

 

การใช้เลนส์มุมกว้างที่กว้างมากๆ จะช่วยดึงเสน่ห์ของเซนเซอร์ฟูลเฟรมออกมาได้ คุณสามารถใช้ประโยชน์จากมุมมองเปอร์สเป็คทีฟและความบิดเบี้ยวได้ด้วยการเข้าไปใกล้ตัวแบบเพื่อสร้างงานที่ให้ผลทางความรู้สึกที่ชัดเจน

 
 

EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 28 มม./ Manual exposure (2.5 วินาที, f/16)/ ISO 400/ WB: แสงแดด/ ฟิลเตอร์ PL/ ขาตั้งกล้อง/ Yakushima, Kagoshima Prefecture

ฉันถ่ายภาพแนวตั้งของต้นไม้ที่บังเอิญไปเจอระหว่างทางบนภูเขา การตั้งค่าให้เปิดรับแสงโอเวอร์ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความหมายถึงป่าที่สว่างเจิดจ้าและเต็มไปด้วยม่านหมอก แสงที่สว่างจ้ามีให้เห็นไม่บ่อยนักในเวลาที่ป่าปกคลุมไปด้วยหมอก ช่วยให้คุณสื่อถึงบรรยากาศของฉากนี้ได้

 
 

EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Manual exposure (1/15 วินาที, f/4.5)/ ISO 400/ WB: แสงแดด/ การถ่ายภาพซ้อน: [เติมแต่ง]/ ฟิลเตอร์ PL/ ขาตั้งกล้อง/ Yakushima, Kagoshima Prefecture

แสงจากธรรมชาติส่องลงมายังใบไม้แห้งซึ่งค้างอยู่บนหินที่ปกคลุมด้วยมอสส์ ฉันใช้การถ่ายภาพซ้อนเมื่อพิจารณาถึงแสงสว่างแล้ว โดยโฟกัสที่ใบไม้ในภาพซ้อนภาพแรก และสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ในภาพที่สอง

Michiko Yone

 

เกิดเมื่อปี 1967 Yone เริ่มต้นการทำงานในฐานะช่างภาพอิสระตั้งแต่ปี 2004 นับตั้งแต่นั้นมาเธอก็ถ่ายภาพป่าไม้และความงดงามหลากสีสันของญี่ปุ่นโดยอิงแนวคิด “งานที่ถ่ายทอดอารมณ์และสร้างแรงบันดาลใจ” เธอเป็นสมาชิกของสมาคมช่างภาพอาชีพญี่ปุ่น (Japan Professional Photographers Society) และสมาคมถ่ายภาพญี่ปุ่น (Photographic Society of Japan)

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา