ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพสตรีทในย่านอาซากุสะ (1): เคล็ดลับในการถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

2017-07-06
0
1.93 k
ในบทความนี้:

กล้องคือเพื่อนร่วมทางที่ดี เพราะเป็นตัวช่วยในการเก็บบันทึกประสบการณ์อันแสนวิเศษของคุณ และที่น่าทึ่งกว่านั้น หากคุณได้เรียนรู้วิธีใช้งานกล้องแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะพบว่ากล้องยังสามารถบันทึกความรู้สึกของคุณ ณ สถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ ได้อีกด้วย ในบทความนี้ เราจะแนะนำเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการถ่ายภาพสตรีท โดยใช้ย่านอาซากุสะเป็นตัวอย่างสถานที่ซึ่งช่วยให้คุณสัมผัสบรรยากาศญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)

ภาพระยะใกล้ที่ประตูคามินาริ ถ่ายด้วย EOS 6D

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 1250/ WB: อัตโนมัติ

 

การถ่ายภาพวัดเซ็นโซจิที่มีผู้คนพลุกพล่าน

วัดเซ็นโซจิที่ถ่ายด้วย EOS 6D

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: วัดเซ็นโซจิ
ความพลุกพล่านภายในวัดและควันธูปถูกถ่ายทอดไว้ในภาพเดียวกัน เพื่อขับเน้นถึงความหนาแน่นของฝูงชน การใช้ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์จะง่ายกว่าการใช้ระยะมุมกว้าง

วัดเซ็นโซจิ (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดโคมแดง) คือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของโลกยุคเก่าที่ง่ายต่อการจินตนาการถึงภาพในอดีตจนถึงช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 เมื่อครั้งกรุงโตเกียวยังมีชื่อว่า "เอโดะ" และญี่ปุ่นยังอยู่ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลโชกุน ซึ่งตัดขาดจากโลกตะวันตก สถานที่ท่องเที่ยวหลักที่ควรแวะเก็บภาพคืออาคารเก่าแก่ของที่นี่ อย่างเช่นประตูคามินาริและวัดเซ็นโซจิ ซึ่งมีควันลอยขึ้นจากกระถางธูป และถนนช้อปปิ้งนากามิเสะที่พลุกพล่านไปด้วยผู้คน เนื่องจากคุณจะต้องอยู่ท่ามกลางฝูงชนที่เดินผ่านไปมาอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทางที่ดีควรแน่ใจว่าคุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็ว ผมขอแนะนำให้ถ่ายภาพในโหมดโปรแกรมระดับแสงอัตโนมัติ (P) หรือโหมดระบุค่ารูรับแสง AE (Av) เพราะใช้งานได้สะดวกและสามารถปรับตั้งค่าได้ง่าย

 

เคล็ดลับ: มองหาและเก็บภาพความสมมาตรในโครงสร้างวัด

เพื่อเก็บความรู้สึกที่งดงามตระการตาเต็มรูปแบบของโครงสร้างขนาดใหญ่อย่างเช่นประตูวัด ให้ลองถ่ายภาพพร้อมกับนึกถึงบริเวณด้านหน้าและจุดที่เส้นนำสายตาลากผ่านจากประตูทางเข้าไปจนถึงทางออก วัดต่างๆ สร้างขึ้นจากโครงสร้างที่สมมาตร ดังนั้น ให้ยืนหันหน้าไปด้านหน้าวัดโดยตรง และลองสังเกตระดับความเอียงของกล้องเพื่อให้แน่ใจว่าภาพของคุณจะได้ระดับในแนวนอน

ประตูคามินาริ ถ่ายด้วย EOS 6D

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 35 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/125 วินาที, EV+2)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: วัดเซ็นโซจิ
หากตัวแบบของคุณมีฝูงชนห้อมล้อม การถ่ายภาพอาจเป็นเรื่องยาก ผมจึงถือกล้องไว้เหนือระดับศีรษะ พร้อมกับตั้งค่ากล้องในโหมด Live View และใช้จอ LCD เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาพ

 

การถ่ายภาพประตูคามินาริจากตำแหน่งที่สูง

ประตูคามินาริเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของย่านอาซากุสะมาช้านาน ในปี 2012 มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยววัฒนธรรมอาซากุสะที่ด้านตรงข้ามกับประตูคามินาริ เพื่อคอยให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ที่บริเวณชั้น 8 ของตึกนี้มีจุดชมวิวให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขณะที่เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของกรุงโตเกียว รวมทั้งหอคอยสกายทรี คุณสามารถมองลงมาที่ประตูคามินาริที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งให้มุมมองที่แตกต่างจากสิ่งที่คุณเห็นเมื่อเดินผ่านประตูเข้ามา

ประตูคามินาริที่ถ่ายจากตำแหน่งที่สูง

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/50 วินาที, EV+0.7)/ ISO 320/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยววัฒนธรรมอาซากุสะ
ประตูคามินาริและถนนช้อปปิ้งนากามิเสะที่อยู่ด้านหลัง การมองดูประตูจากตำแหน่งที่สูงกว่านี้ให้ความรู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวา

 

โปรดดูบทความต่อเนื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมของเรา เพื่ออ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพอาคาร:

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #2: การใช้มุมกว้าง/ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน

 

การถ่ายภาพสวนสนุกฮานายาชิกิ

หากประตูคามินาริคือสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ที่ชวนให้นึกถึงสมัยเอโดะ ฮานายาชิกิคือสวนสนุกที่พาชมร่องรอยอดีตของกรุงโตเกียวในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และแม้ว่าสวนสนุกแห่งนี้จะมีขนาดเล็ก แต่จะทำให้คุณรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตได้เป็นอย่างดี เพราะที่นี่ไม่มีผู้คนพลุกพล่านมากนักเมื่อเทียบกับประตูคามินาริและถนนช้อปปิ้งนากามิเสะ คุณจึงใช้เวลาเตรียมกล้องได้ตามต้องการ และทำให้สามารถกลับไปใช้พื้นฐานการถ่ายภาพ เพื่อให้ความสำคัญกับการหาองค์ประกอบภาพที่เหมาะสม ลองค้นหาสไตล์การถ่ายภาพของตนเอง เช่น การใช้องค์ประกอบภาพที่สร้างสมดุลที่ดีให้กับตัวแบบของคุณ และค้นหามุมที่ดีที่สุดเพื่อถ่ายภาพ

บทความเกี่ยวกับพื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ:
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 1): กฎสามส่วนและกฎสี่ส่วน
การจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายแต่ขาดไม่ได้ (ตอนที่ 2): การจัดองค์ประกอบแบบกึ่งกลางและตามเส้นแนวทแยงมุม
"แพทเทิร์นและจังหวะการจัดวาง" และ "เส้นโค้งรูปตัว S"

เกี่ยวกับทฤษฎีการจัดองค์ประกอบภาพ:
ทฤษฎีเกสตัลท์ในการถ่ายภาพสตรีท (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

บ้านผีสิงขนาดจิ๋วที่สวนสนุกฮานายาชิกิ

EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 38 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/40 วินาที, EV+1.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: สวนสนุกฮานายาชิกิ
บ้านขนาดจิ๋วที่ทำจากขนมหวานแสนอร่อยนี้คือ "บ้านผีสิง (Bikkuri House)" จำลอง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของสวนสนุกฮานายาชิกิมาอย่างยาวนาน ผมจัดวางบ้านไว้ที่ด้านล่างขวาของเฟรม ทำให้ด้านซ้ายบนของภาพมีพื้นที่มากสำหรับสร้างความสมดุล

 

สะพานฮานายาชิกิ ถ่ายด้วย EOS 6D

EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
สภาพที่ถ่ายภาพ: สวนสนุกฮานายาชิกิ
คุณอาจพบตัวแบบในสถานที่ที่ไม่คาดคิดมากที่สุด ตัวอักษรของคำว่าฮานายาชิกิที่ปรากฏบนสะพานเป็นตัวอักษรแบบย้อนยุคที่คุณแทบไม่เคยพบเห็นในญี่ปุ่นทุกวันนี้ ผมหมอบลงเพื่อให้สามารถอ่านตัวอักษรได้ชัด จากนั้นจึงถ่ายภาพจากมุมต่ำ

 

เคล็ดลับ: ลองใช้วงกลมโบเก้ในการถ่ายภาพเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ

แม้ว่ารูปถ่ายส่วนใหญ่มักเป็นภาพทิวทัศน์ แต่การพิจารณาใช้รูปเพื่อเป็นภาพวาดหรืองานออกแบบก็น่าสนใจเช่นกัน สำหรับภาพด้านล่าง แทนที่จะสร้างวงกลมโบเก้จากโคมไฟ ผมตัดสินใจที่จะกล้าจัดให้ภาพทั้งภาพอยู่นอกโฟกัส วิธีนี้ทำให้ภาพทั้งดูลึกลับและน่าสนใจ ชวนให้ผู้ชมคาดเดาว่ามีอะไรในภาพ

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการสร้างวงกลมโบเก้:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก
ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม

 

นากามิเสะ (ไม่มีวงกลมโบเก้)

ก่อน
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/80 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ถ่ายในระยะโฟกัส แม้ว่าโคมไฟจะดูสวยงาม แต่ภาพถ่ายทอดตัวแบบที่ผมไม่ต้องการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น โครงตึกและสายไฟ

นากามิเสะ (มีวงกลมโบเก้)

หลัง
EOS 6D/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/80 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
การตั้งค่าจุดโฟกัสในระยะใกล้โดยใช้แมนนวลโฟกัส (MF) ทำให้ผมเบลอภาพทั้งหมดได้ เพื่อให้สิ่งที่โดดเด่นในภาพนี้มีเพียง "ดวงไฟกลมๆ"

 

 

กล้องและเลนส์ที่แนะนำสำหรับการถ่ายภาพสตรีท

หากคุณตั้งใจออกเดินทางท่องเที่ยว คุณควรนำกล้องฟูลเฟรมประสิทธิภาพสูงติดตัวไปด้วย EOS 6D ที่ผมใช้ถ่ายภาพนี้คือกล้องที่มีขนาดเล็กกว่ากล้องซีรีย์ EOS 5D หนึ่งระดับ เมื่อใช้คู่กับเลนส์ EF24-70mm f/4L IS USM จะให้ทั้งคุณภาพของภาพร่วมกับความสะดวกในการพกพาอย่างลงตัวที่สุดสำหรับช่างภาพมือฉมัง อย่างไรก็ดี หากความกะทัดรัดคล่องตัวคือสิ่งสำคัญสำหรับคุณ ผมขอแนะนำให้ใช้ EOS M5 ร่วมกับเลนส์ EF-M22mm f/2 STM

EOS 6D และ EF24-70mm f/4 IS USM

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Etica

บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง

https://etica.jp/

Takeshi Akaogi

ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย

http://www.flipphoto.org

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา