ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

กล้อง DSLR ถ่ายภาพประเภทไหนได้ดีที่สุด

2016-01-07
7
30.01 k
ในบทความนี้:

ภายใต้บอดี้กล้องที่ใหญ่โตของกล้อง DSLR ซ่อนไว้ซึ่งคุณสมบัติมากมายสำหรับการถ่ายภาพสวยๆ ที่รอให้คุณมาค้นพบ เรามาดูภาพที่ถ่ายได้ดีที่สุดด้วยกล้อง DSLR กัน! (บรรณาธิการโดย: studio9)

 

1. ภาพถ่ายที่ใช้ประโยชน์จากข้อดีของโครงสร้างกล้อง

เมื่อเทียบกับกล้องคอมแพคแล้ว กล้อง DSLR มีข้อได้เปรียบอยู่มาก ด้านล่างคือตัวอย่างภาพถ่ายดังกล่าว

  • ภาพถ่ายที่ใช้เอฟเฟ็กต์โบเก้
  • ภาพที่ถ่ายในที่มืดมาก
  • ภาพที่มีรายละเอียดมาก

กล้องคอมแพคโดยทั่วไปจะถ่ายภาพประเภทนี้ได้ยาก แต่จะถ่ายได้ดีที่สุดด้วยกล้องขนาดใหญ่ที่มีเซนเซอร์ภาพใหญ่

ภาพถ่ายที่ใช้เอฟเฟ็กต์โบเก้

 

ภาพนี้เน้นที่หยดน้ำโดยให้แบ็คกราวด์เบลอมากๆ ภาพที่ติดมาด้านหลังสุดคือป้ายของร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง

ภาพที่ถ่ายโดยใช้เลนส์มาโคร แบ็คกราวด์ให้บรรยากาศภาพที่มีเสน่ห์ ใช่ไหม

ภาพที่ถ่ายในที่มืดมาก

 

เรามักจะคิดถึงภาพทิวทัศน์กลางคืนเมื่อพูดถึงที่มืด ภาพนี้ถ่ายโดยมีเส้นขอบฟ้าสีส้มอ่อนๆ และแสงไฟตามถนนที่มีรายละเอียดเด่นชัดในแต่ละดวง!

ภาพที่มีรายละเอียดมาก

 

ภาพถ่ายทิวทัศน์กลางคืนในโรงงานเป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยมากจะยากสำหรับกล้องคอมแพคที่จะถ่ายภาพให้เก็บรายละเอียดได้มากอย่างนั้นในเวลากลางคืนและมีแสงน้อย

 

2. ภาพถ่ายที่ใช้ประโยชน์จากการตั้งค่ากล้องที่หลากหลาย

นอกจากข้อดีแล้ว กล้องดิจิตอล DSLR มีการตั้งค่ามากมายให้คุณเลือกใช้งาน ต่อไปนี้เป็นภาพถ่ายที่คุณสามารถถ่ายโดยใช้การตั้งค่าเหล่านี้

  • ภาพที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง
  • ภาพที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า
  • ภาพถ่ายตัวแบบที่เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว

เนื่องจากภาพเหล่านี้ต้องอาศัยการตั้งค่ากล้องในการถ่าย จึงถ่ายด้วยกล้องคอมแพคระดับไฮเอนด์ได้ อย่างไรก็ตาม กล้อง DSLR ซึ่งมีการตั้งค่าที่ปรับง่ายกว่าก็ถ่ายภาพเหล่านี้ได้ง่ายกว่าด้วย ยิ่งกว่านั้น กล้อง DSLR และกล้องมิเรอร์เลสมีประสิทธิภาพในการโฟกัสด้วยโฟกัสอัตโนมัติ (AF) จึงถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวได้ดีเยี่ยม

ภาพที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง

 

ภาพนี้ถ่ายในจังหวะที่คลื่นกระทบฝั่งที่ชายหาดธรรมดาๆ แห่งหนึ่ง เป็นการยากมากที่จะรับรู้ช่วงเวลาพริบตาอย่างนี้ได้ด้วยตาเปล่า
ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้คือ 1/2500 วินาที!

ภาพที่ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ช้า

 
 

ความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้คือ 0.8 วินาที แม้ว่าตัวแบบหลักของภาพนี้จะเป็นน้ำ แต่กลับถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง ทำให้สายน้ำดูอ่อนโยนเหมือนแพรไหม

ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า ผมจึงถ่ายภาพเส้นแสงไฟท้ายรถหลายๆ ภาพ แล้วนำภาพมาผสานกันตามที่เห็นด้านบน

ภาพถ่ายตัวแบบที่เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว

 

เนื่องจากกล้อง DSLR มีฟังก์ชั่นการโฟกัสอัตโนมัติที่ติดตามตัวแบบซึ่งเคลื่อนไหวต่อเนื่องและมีเวลาหน่วงชัตเตอร์สั้นกว่า เมื่อเทียบกับกล้องคอมแพค จึงสามารถเก็บภาพตัวแบบที่ดูสดใสมีพลังด้วยกล้อง DSLR ได้อย่างง่ายดาย

3. ภาพถ่ายที่ใช้การเสริมอุปกรณ์ของกล้องให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ไม่เพียงแค่กล้องจะเป็นแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้เท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่คุณสามารถใช้ประกอบกับกล้อง DSLR

  • ภาพที่ใช้แฟลชเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณอาจพบว่าการเสริมอุปกรณ์นี้เป็นหนึ่งจุดเด่นที่มาพร้อมกล้อง DSLR อยู่แล้ว กล้องคอมแพคจะมีฟังก์ชั่นแฟลช แต่สามารถส่งแฟลชได้เฉพาะทางตรงเท่านั้น ด้วยแฟลชเสริม เราสามารถปรับทิศทางมุมแสงที่ปล่อยออกไปได้ จึงเป็นไปได้ที่จะถ่ายภาพหลายๆ แบบให้เหมาะกับฉาก

ภาพที่ใช้แฟลชเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ในแวบแรก คุณอาจสงสัยว่าภาพนี้ใช้แฟลชด้วยหรือ เพราะภาพดูเป็นธรรมชาติมาก แต่แท้จริงแล้วมีการปรับทิศทางแฟลชไปที่เพดานขาวเพื่อสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลด้วยแสงสะท้อน เมื่อเทียบกับการปล่อยแสงแฟลชทางตรง ตอนนี้ อาหารดูน่าทานขึ้นมาก

เช่นเดียวกัน ในภาพนี้ นางแบบจะดูทึมๆ หากไม่ใช้แฟลชเสริม หากคุณดูที่เงา คุณจะสังเกตเห็นว่ามีการใช้แสงแฟลชค่อนข้างไกลจากกล้อง

คุณควรเริ่มจากภาพประเภทไหน

เมื่อดูภาพที่ผมถ่ายทั้งหมด ผมสะดุดตากับภาพที่ถ่ายได้ด้วยกล้อง DSLR ล้วนๆ ภาพเหล่านี้ยังสามารถถ่ายด้วยรุ่นกล้องระดับเริ่มต้นได้ เช่น Canon EOS 750D และ 760D (แม้ว่าคุณอาจต้องการเลนส์และแฟลชเสริมรุ่นอื่นที่ไม่ได้รวมอยู่ในเลนส์คิทก็ตาม)
แสดงให้เห็นว่ากล้อง DSLR ที่ขายทุกวันนี้พัฒนาไปมากแค่ไหน คุณใช้ประโยชน์จากฟังก์ชั่นกล้องอย่างเต็มที่หรือไม่
อาจมากไปถ้าจะข้ามช็อตไปใช้แฟลชเสริมเลยเพื่อถ่ายภาพ แต่ใครๆ ก็ถ่ายภาพให้มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ได้ด้วยกล้อง DSLR นอกจากนี้ การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ระดับต่างๆ ยังเรียบง่าย แม้ว่าคุณอาจจำเป็นต้องใช้เมาท์ต่อขาตั้งกล้องเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าก็ตาม
คุณสามารถเริ่มต้นโดยการทดสอบระดับของโบเก้ และความเร็วชัตเตอร์เพราะคุณจะได้รับประสบการณ์ในการสร้างสรรค์เอฟเฟ็กต์ต่างๆ ด้วยเลนส์คิทด้วยเหมือนกัน ในฐานะผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ ผมคงจะดีใจหากว่ามีคนได้สัมผัสถึงความสนุกในการถ่ายภาพด้วยความรู้สึกที่แตกต่างกันมากขึ้น

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา