EOS 5DS, เลนส์ EF100 มม. F/2.8L IS USM, f/4, 1/20 วินาที
การถ่ายภาพคือการบันทึกช่วงเวลาสำคัญเอาไว้ แต่สำหรับการถ่ายภาพแอบสแร็คนั้น จะเน้นที่รูปแบบ เนื้อสัมผัส รูปแบบ และสีสันแทน เป้าหมายหลักของการถ่ายภาพแอบสแตร็คก็คือ ทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ขึ้นมาด้วยความคลุมเครือของภาพถ่าย ทำให้ผู้ชมสามารถตีความสิ่งที่เห็นได้ในแบบของตัวเอง การใช้สีสันเป็นวิธีกระตุ้นการตอบสนองทางอารมณ์และสร้างผลงานศิลปะชิ้นเอกได้เป็นอย่างดี
EOS 5DS, เลนส์ EF100 มม. F/2.8L IS USM, f/8, 1/20 วินาที
สีสันจัดจ้าน
สีสันเป็นสิ่งแรกที่คุณสังเกตเห็นในภาพถ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพแอบสแตร็คที่สีจะเป็นองค์ประกอบที่โดดเด่นที่สุด สีสันอิ่มและจัดจ้านสามารถสร้างผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ชมได้อย่างมาก หากต้องการให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด เราแนะนำให้คุณใช้สีหลัก ๆ เพียงสองสามสี
EOS 6D, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L USM, f/8, 1/500 วินาที
เติมให้เต็มเฟรม
วิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ชมจดจ่อกับสีคือการเติมสีใดสีหนึ่งตลอดเฟรม สีนี้จะกลายเป็นโฟกัสหลักและสร้างพลังขึ้นมา ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้สีใด ตัวอย่างเช่น ถ้าผมอยากให้คนสนใจสีน้ำตาล ผมก็จะใส่เมล็ดกาแฟเข้าไปทั้งเฟรม เป็นต้น
EOS 6D, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L USM, f/22, 1/200 วินาที
สีสันและอารมณ์
หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการถ่ายภาพแอบสแตร็คคือการกระตุ้นอารมณ์ของผู้ชม สีสันก็มีคุณค่าทางอารมณ์เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่นสีฟ้า สีฟ้าเป็นสีเย็นซึ่งอาจจะทำให้นึกถึงวันหยุดในบาหลีและการสนุกกับคลื่น หรืออาจจะสื่อถึงความเหงาในหน้าหนาวก็ได้
ส่วนสีแดงเป็นสีโทนร้อนที่ทำให้นึกถึงพระอาทิตย์ตกหรืออันตราย ซึ่งสุดท้ายแล้วผู้ชมจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าจะตีความอย่างไร แต่การเข้าใจทฤษฎีสีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งหากคุณต้องการจะสื่อสารสิ่งต่าง ๆ
ภาพแอบสแตร็คเป็นโมเดลในจินตนาการเพราะสร้างความจริงที่มองเห็นได้ขึ้นมา แต่เรามองไม่เห็นหรืออธิบายได้ ได้แต่สันนิษฐานเท่านั้น - Gerhard Richter
ประวัติของช่างภาพ
Vanan M
Vanan M เป็นช่างภาพอาหารและไลฟ์สไตล์ที่ประจำอยู่ในสิงคโปร์และชอบกลางคืนมาก ดังนั้น ถ้าไม่ได้อยู่หลังกล้อง เขาก็จะประจำอยู่หลังบู๊ธดีเจในไนต์คลับ