ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดแสงธรรมชาติ: ภาพพอร์ตเทรตแบบไฮคีย์พร้อมเงาที่มีลวดลาย

2020-05-25
1
1.1 k
ในบทความนี้:

การเรียนรู้วิธีอ่านสภาพแสงเป็นทักษะที่จำเป็นมากในการถ่ายภาพ! ในบทความต่อเนื่องชุด “การจัดแสงธรรมชาติ” นี้ เราจะมาดูวิธีการที่ช่างภาพใช้ในการวิเคราะห์แสงโดยรอบเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีแสงสวยงาม ในบทความนี้ Yuya Sugimoto จะมาแบ่งปันวิธีที่เขาทำให้ลวดลายของเงาที่ทอดลงบนตัวนางแบบข้างรั้วดูโดดเด่นในภาพไฮคีย์ (เรื่องโดย: Yuya Sugimoto, Digital Camera Magazine)

ภาพพอร์ตเทรตของหญิงสาวที่มีเงารั้วทอดลงบนร่างกาย

EOS 5D Mark IV/ EF135mm f/2L USM/ FL: 135 มม./ Manual exposure (f/2, 1/500 วินาที)/ ISO 100/ WB: 3,900K

 

เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้

เย็นวันหนึ่ง ผมออกไปเดินเล่นพร้อมถือกล้องไปด้วย และได้พบกับจุดที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงผ่านรั้วจากด้านข้าง แสงไม่แข็งกระด้างมากนัก แต่มีการกระจายตัวอย่างสวยงาม ผมจึงตัดสินใจถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่จุดเดียวกันนี้โดยมีภรรยาของผมเป็นนางแบบ 


แนวคิด: “เงาที่น่าสนใจ”
เพื่อให้เข้ากับธีมนี้ ผมตั้งใจทำให้สีหน้าของนางแบบดูคลุมเครือเพื่อให้ภาพถ่ายดูแอ็บสแทร็กต์มากขึ้น

การทำงานของเลนส์: โบเก้เพื่อให้ภาพดูเรียบง่าย
การใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางทำให้องค์ประกอบต่างๆ นอกจากแสงและเงานั้นหลุดโฟกัส ซึ่งทำให้ตัวแบบหลักดูโดดเด่น

การจัดองค์ประกอบภาพ: ทำให้เงาดูมีมิติมากขึ้น
เนื่องจากในฉากนี้ไม่มีสีสันมากนัก ผมจึงตัดสินใจใช้ลวดลายที่เกิดจากเงารั้วเพื่อสร้างความน่าสนใจ ผมกับนางแบบช่วยกันหาตำแหน่งในการยืนที่ทำให้ลวดลายของเงามีขนาดใหญ่และดูหลวมๆ ตรงศีรษะของเธอ แต่ค่อยๆ เบียดชิดกันมากขึ้นเมื่อลงมาทางด้านล่าง วิธีนี้ช่วยเพิ่มมิติให้กับลวดลายของเงา มิฉะนั้น ลวดลายจะดูธรรมดาซึ่งอาจทำให้เบื่อได้ง่าย

แม้แต่การเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เงาเปลี่ยนแปลงไป ควรสังเกตเงาอย่างระมัดระวังเมื่อคุณตัดสินใจเลือกตำแหน่งในการถ่ายภาพของคุณ

 

การวิเคราะห์แสงและการเปิดรับแสง

แผนภาพที่ทำเครื่องหมายแสดงทิศทางของแสง

ทิศทางของแสง: แสงด้านข้างในยามเย็น ตกกระทบโดยทำมุมทแยงถัดจากศีรษะของนางแบบ
(A) เสื้อเชิ้ตสีขาว แสงสว่างโพลนที่ผมรู้สึกว่ายอมรับได้
(B) ผมของนางแบบ ต้องให้มั่นใจว่าไม่มืดจนเกินไป
(C) ผิวของนางแบบ ต้องรักษาพื้นผิวให้ดูเรียบเนียน ผมจึงตัดสินใจปรับการเปิดรับแสงโดยการแก้ไขไฟล์ RAW


การอ่านฮิสโตแกรม: ต้องเพิ่มการเปิดรับแสงพร้อมกับหลีกเลี่ยงจุดรบกวนบนภาพ

ฮิสโตแกรมแสดงพิกเซลที่เพิ่มขึ้นไปทางด้านขวา

ถ้าผมเปิดรับแสงเพื่อลดแสงสว่างโพลนบนไหล่และหน้าอกของนางแบบใน (A) ภาพโดยรวมจะดูมืดเกินไป ผมจึงตัดสินใจเปิดรับแสงให้ค่อนข้างสว่าง โดยปล่อยให้มีแสงสว่างใน (A) ตามที่เป็นอยู่ พร้อมกับตรวจดูให้แน่ใจส่วนที่มืดในเส้นผมและแก้มของนางแบบ ซึ่งหมายถึง (B) นั้นไม่มีจุดรบกวนที่เห็นชัดบนภาพ

 

วิธีจัดการกับ (A), (B) และ (C)


สำหรับ (A): ทำไมแสงสว่างโพลนจึงเป็นที่ยอมรับได้

ขั้นตอนที่ 1: ประเมินภาพถ่าย

 เช่นเดียวกับทุกๆ ภาพ การถ่ายภาพตามจุดมุ่งหมายช่วยให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะคุณรู้ว่าต้องทำอะไรบ้างในระหว่างถ่ายภาพ และพิจารณาว่าคุณจะปรับแต่งภาพอย่างไร

เมื่อฉากมีความเปรียบต่างสูงๆ ซึ่งทั้งแสงสว่างและเงาไม่เข้ากับไดนามิกเรนจ์ของกล้อง คุณจะต้องเลือกระหว่างเงาที่มืดเกินไปกับแสงสว่างโพลน การตัดสินใจนี้ควรขึ้นอยู่กับภาพสุดท้ายที่คุณจินตนาการไว้

ภาพถ่ายด้านล่างถ่ายที่ f/2 ในโหมด Aperture-priority AE และใกล้เคียงมากกับความสว่างที่แท้จริงของฉาก การถ่ายภาพไฮคีย์ต้องอาศัยการปรับค่าการเปิดรับแสงด้วยตนเอง (ดูขั้นตอนที่ 2) ผมจึงให้ความสำคัญกับสามด้านสำคัญต่อไปนี้เมื่อตัดสินใจเลือกค่าที่ควรใช้

ภาพพอร์ตเทรตเดียวกันแต่ถ่ายด้วยการเปิดรับแสง “ถูกต้อง” ที่กล้องกำหนดไว้

1) เส้นผม: ต้องไม่มีส่วนที่มืดเกินไป ถ้าสูญเสียรายละเอียดในส่วนนี้จะทำให้พื้นผิวในภาพหายไป
2) เสื้อสีขาว: แสงสว่างโพลนเล็กน้อยเป็นที่ยอมรับได้
3) สีผิว: แสงสว่างโพลนไม่เป็นที่ยอมรับ

เหตุผล
แสงสว่างโพลนในภาพพอร์ตเทรตแบบไฮคีย์มักจะไม่เด่นชัดนัก เว้นแต่กินพื้นที่ขนาดใหญ่หรืออยู่ในบริเวณที่ดึงดูดความสนใจมากๆ ด้วยเหตุนี้ การรักษาพื้นผิวในส่วนเงาบนผมของนางแบบจึงเป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากกว่าการลดแสงสว่างโพลนเล็กน้อยในเสื้อสีขาว


ขั้นตอนที่ 2: ใช้โหมดแมนนวลเพื่อให้ได้ระดับแสงที่ต้องการ

ผมต้องการใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด (f/2) เพื่อทำให้โบเก้ในแบ็คกราวด์ดูนุ่มนวลมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งจุดนี้สำคัญมากสำหรับการสร้างบรรยากาศที่ละมุนละไมและโปร่งโล่ง

ดังนั้น ผมจึงใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง เพื่อควบคุมความเร็วชัตเตอร์ให้เปิดรับแสงมากขึ้นอย่างที่ผมต้องการ

 

สำหรับ (B): ฟื้นฟูรายละเอียดของเงาในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ

เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ความเปรียบต่างจะต้องอยู่ในระดับสมดุลอย่างสมบูรณ์ คือไม่สูงเกินไปจนส่วนที่มืดเด่นออกมาแบบทื่อๆ แต่ก็ไม่ต่ำเกินไปจนทั้งภาพดูซีดจาง

ผมปรับความเปรียบต่างโดยรวมอย่างละเอียดในกระบวนการปรับแต่งภาพเพื่อให้เข้ากับแสงสวยๆ ที่กระจายในฉากจริง โดย:
- ลดความเปรียบต่าง
- ปรับให้ส่วนที่เป็นเงาดูสว่างขึ้น

การปรับเเหล่านี้จะทำให้ภาพดูสว่างขึ้นด้วย ซึ่งผมได้ความสว่างที่เหมาะสมเมื่อตัวเองสามารถเห็นเส้นผมแต่ละเส้นได้

ภาพโคลสอัพของศีรษะและเส้นผม (มืดเกินไป)

ภาพโคลสอัพของศีรษะและเส้นผม (สว่างยิ่งขึ้น)

ในโปรแกรมการปรับแต่งภาพ ผมได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่มี:
- ความเปรียบต่าง: -50
- เงา: +76

 

สำหรับ (C): คอยสังเกตแสงสว่างโพลนในผิวอยู่เสมอ

ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต สิ่งสำคัญคือ การทำให้โทนสีผิวของตัวแบบดูดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แนวคิดนี้ใช้กับช่วงระหว่างถ่ายภาพและในกระบวนการปรับแต่งภาพ แสงสว่างโพลนในผิวอาจทำให้ตัวแบบดูขาดความชัดเจนหรือที่แย่กว่านั้นคือ ดูกลืนไปกับแบ็คกราวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพไฮคีย์ที่เต็มไปด้วยส่วนที่สว่าง


ระหว่างการถ่ายภาพ

ถ้าฉากไม่มีสีมากนักดังเช่นในฉากนี้ ให้ตรวจดูว่าส่วนต่อไปนี้ไม่มีแสงสว่างโพลน
- ส่วนที่ควรเป็นโทนอบอุ่น: ข้อศอก แก้ม ฯลฯ
- ส่วนที่มีแสงจ้าส่องกระทบ

มิฉะนั้น คุณจะเสียข้อมูลสีสำคัญที่ส่วนดังกล่าวมี

อ่านได้ที่:
ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น


ระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ

เมื่อคุณปรับให้ส่วนที่เป็นเงาดูสว่างขึ้น ให้คอยสังเกตสีผิว ตรวจดูให้แน่ใจว่าสีผิวยังคงดูเป็นธรรมชาติและตัวแบบของคุณไม่กลืนไปกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ


สีผิวสว่างเกินไป

ภาพพอร์ตเทรตที่สว่างเกินไป

นางแบบดูซีดเผือดเพราะแสงสว่างโพลนในข้อศอก

 

หากคุณต้องการพัฒนาทักษะการถ่ายภาพพอร์ตเทรต มาลองเรียนรู้เคล็ดลับและบทเรียนต่อไปนี้
5 เทคนิคการถ่ายภาพพอร์ตเทรตสำหรับทั้งตอนกลางวันและกลางคืน
เทคนิคการโพสท่าและจัดท่าทางให้ตัวแบบในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต
3 เคล็ดลับเพื่อยกระดับการถ่ายทอดเรื่องราวในงานแต่งงาน (และเหตุผลที่ EOS R ช่วยคุณได้)
ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตผมสะบัด
เพราะดวงตาคือทุกสิ่ง: วิธีง่ายๆ ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้ตราตรึงใจ


หรือเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพพอร์ตเทรตด้วยเทคนิคสนุกๆ ต่อไปนี้
2 เทคนิคทันใจที่ช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพพอร์ตเทรตกลางแจ้งของคุณ
[เทคนิคการใช้แฟลช] ถ่ายภาพพอร์ตเทรตยามค่ำคืนในสไตล์ป๊อปอาร์ต
วิธีถ่ายภาพหยดฝนเพื่อสร้างสรรค์พอร์ตเทรตที่เหนือจริง
วิธีการถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้มีสีสันสวยงามชวนฝันพร้อมโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์
วิธีในการถ่ายภาพอย่างสร้างสรรค์ในเวลากลางคืนด้วยกล้อง EOS R

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yuya Sugimoto

Yuya Sugimoto เป็นช่างภาพผู้มีใจรักในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต โฆษณา และงานอีเวนต์ และมีความชำนาญเป็นพิเศษในด้านการจัดวางตัวแบบในพื้นที่ต่างๆ โปรเจ็กต์ส่วนตัวของเขาคือ “yome-graphy” (การถ่ายภาพภรรยา) ซึ่งมีภรรยาของเขาเป็นนางแบบในภาพ เขาบอกเล่าเรื่องราวความสนุกและความสำคัญของการถ่ายภาพคนที่เรารักอยู่เป็นประจำในรายการโทรทัศน์ วิทยุ และบทความของเขาในนิตยสารถ่ายภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา