ทิวทัศน์อันสมบุกสมบันแต่สวยงาม: รีวิวกล้อง EOS M50 จากการใช้งานจริงในปาตาโกเนีย
EOS M50 กล้องมิเรอร์เลสรุ่นใหม่ของ Canon มีประสิทธิภาพอย่างไรในด้านคุณภาพของภาพถ่าย ความเร็ว และการแก้ปัญหาจุดรบกวน ช่างภาพทิวทัศน์และแอมบาสเดอร์ของ Canon Philippines คุณ Edwin Martinez พกกล้องรุ่นนี้ติดตัวขณะเดินทางไปยังดินแดนปาตาโกเนีย (ประเทศชิลีและอาร์เจนตินา) และจะมาบอกเล่าความประทับใจในรีวิวการใช้งานจริงนี้ (ภาพและเรื่องโดย Edwin Martinez)
ความงามตามธรรมชาติของปาตาโกเนีย: สถานที่ดีๆ สำหรับทดสอบการใช้งานกล้อง
ดินแดนปาตาโกเนียเป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่บางตา ตั้งอยู่ปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศอาร์เจนตินาและชิลี ที่นี่ไม่เพียงแวดล้อมด้วยภูเขา (บริเวณทางใต้ของเทือกเขาแอนดิส) แต่ยังมีทะเลทราย ที่ราบต่ำปามปัส และทุ่งหญ้า สภาพสมบุกสมบันแบบนี้ทำให้ดินแดนนี้เหมาะมากสำหรับทดสอบความสามารถของกล้องในการถ่ายภาพท่องเที่ยวและทิวทัศน์
ในการเดินทางไปที่นั่นครั้งล่าสุด ผมมีโอกาสนำกล้องมิเรอร์เลส EOS M50 ใหม่ล่าสุดของ Canon ติดตัวไปด้วย ซึ่งต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจาก Canon Marketing Philippines EOS M50 มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดอยู่ไม่น้อยที่พบในกล้อง DSLR ของ Canon อาทิ ระบบประมวลผลภาพ DIGIC 8 ใหม่ (รวมถึงรูปแบบไฟล์ RAW ใหม่อย่าง CR3 RAW) ระบบ Dual Pixel CMOS AF ปรับปรุงใหม่พร้อมด้วยจุด AF 143 จุด และวิดีโอ 4K (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของ EOS M50 ที่นี่) ผมนำกล้องมาทดสอบถ่ายภาพและผลลัพธ์ที่ได้อยู่ในรีวิวนี้ ซึ่งจะเน้นด้านคุณภาพของภาพถ่าย ความเร็ว และการแก้ปัญหาจุดรบกวน
ภาพถ่ายส่วนใหญ่ที่คุณจะได้เห็นในบทความนี้ถ่ายโดยใช้เลนส์ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM และ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM และผ่านการตกแต่งภาพเล็กน้อยเพื่อปรับแก้สี แก้ไขการรับแสง และปรับขนาดสำหรับเว็บไซต์
1. น้ำหนักและความสะดวกในการพกพา
เหตุผลหลักประการหนึ่งในการเลือกใช้กล้องมิเรอร์เลสคือ ปัจจัยด้านน้ำหนัก ในข้อนี้ EOS M50 เหมาะอย่างยิ่งสำหรับใช้เป็นกล้องสำรอง เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัดและพกพาสะดวก จึงง่ายต่อการพกติดตัวไปด้วยเวลาเดินทางไกลเวลาขณะที่ผมท่องเที่ยวไปทั่วประเทศชิลีและอาร์เจนตินา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจับคู่กับเลนส์ที่ยอดเยี่ยมสำหรับนักเดินทางอย่าง EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM การใช้อุปกรณ์ทั้งสองนี้ร่วมกันทำให้ผมได้ชุดกล้องแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้กับเลนส์ซูเปอร์ซูมจาก Canon ที่มีน้ำหนักเบาที่สุดชุดหนึ่ง
2. ความชัดเจนและคมชัดของภาพ
EOS M50 คือกล้อง Canon ตัวแรกที่มีระบบประมวลผลภาพ DIGIC 8 และรูปแบบข้อมูล CR3 RAW หรือ C-RAW ซึ่งทำให้ขนาดไฟล์เล็กลงโดยรักษาความละเอียดของภาพไว้ทั้งหมด ผมสังเกตเห็นทันทีว่าภาพที่ออกมาคมชัดกว่าใน EOS M6 แม้ถ่ายที่ระยะ 150 มม. ซึ่งเป็นทางยาวโฟกัสของเลนส์ EF-M18-150mm ที่ทำให้ภาพนุ่มนวลที่สุด
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 24 มม. (เทียบเท่า 38 มม.)/ Manual exposure (f/8.0, 4 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สีสันดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้นเมื่อใช้โปรไฟล์มาตรฐานเริ่มต้นของ Adobe นอกจากนี้ จุดรบกวนยังลดน้อยลงเมื่อถ่ายที่ความไวแสง ISO 800 ผมพบว่าผมสามารถฟื้นฟูรายละเอียดบริเวณเงามืดได้โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์เกือบ 2.5 สต็อปโดยไม่สูญเสียรายละเอียดในส่วนอื่นๆ โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้สึกว่าการแก้ไขในลักษณะนี้กับการแก้ไขไฟล์ RAW จาก EOS 5D Mark III ไม่มีความแตกต่างกัน
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/11, 6 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
3. การแก้ปัญหาจุดรบกวน
ความไวแสง ISO ต่ำ
ภาพนี้ถ่ายในช่วงแสงสนธยาซึ่งเป็นเวลารุ่งเช้าที่ดวงอาทิตย์อยู่ใต้เส้นขอบฟ้า EOS M50 ให้ความสว่างที่ค่าความไวแสง ISO ตั้งแต่ 100-200 โดยมีจุดแสงรบกวนเล็กน้อยจนแทบไม่มี
ISO 100
EOS M50/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 12 มม. (เทียบเท่า 19 มม.)/ Manual exposure (f/8.0, 112 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ISO 200
EOS M50/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 17 มม. (เทียบเท่า 27 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8.0, 30 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ความไวแสง ISO สูง
ผมใช้ค่าความไวแสง ISO 800 ถึง 1600 เมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทางยาวโฟกัส 100 มม. ขึ้นไป ภาพด้านล่างนี้ถ่ายโดยถือกล้องด้วยมือและใช้ความไวแสง ISO 800 คุณจะเห็นได้ชัดเจนว่าภาพคมชัดและใสกระจ่างมาก
ISO 800
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 84 มม. (เทียบเท่า 134 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/2500 วินาที, EV-1.3)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 18 มม. (เทียบเท่า 29 มม./ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/1600 วินาที, EV-1)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
ภาพต่อไปนี้เป็นภาพพาโนรามาแนวตั้ง 6 เส้นของธารน้ำแข็งเปริโต โมเรโนในอาร์เจนตินา ซึ่งถ่ายที่ความไวแสง ISO 1600 เมื่อมองที่หน้าจอเราอาจเห็นจุดรบกวนได้ไม่ชัดเจนนัก แต่เมื่อพิมพ์ภาพออกมา ค่าจุดรบกวนจะเกิดขึ้นที่ความไวแสง ISO 800 ถึง 1600 และเมื่อปรับแก้ไฟล์ RAW ที่ใช้ค่า ISO 1600 จุดแสงรบกวนยิ่งเห็นได้ชัดมากขึ้นเมื่อคุณพยายามเพิ่มการรับแสง แต่ก็สามารถแก้ไขได้ในกระบวนการปรับแต่งภาพ
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 18 มม. (เทียบเท่า 29 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/1600 วินาที, EV-0.7)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
4. ความเร็ว
ในส่วนของความเร็ว AF นั้น ระบบประมวลผลภาพ DIGIC 8 ใหม่ได้ปรับปรุงระบบ Dual Pixel CMOS AF ในกล้อง EOS M50 ให้ดีขึ้นมาก การปรับปรุงดังกล่าวประกอบด้วย
- พื้นที่ครอบคลุมมากขึ้นและจุด AF เพิ่มขึ้นสำหรับเลนส์บางรุ่น
- ถ่ายภาพต่อเนื่องด้วย AF ต่อเนื่องสูงสุด 7.4 fps (One Shot AF สูงสุด 10 fps)
- การติดตามตัวแบบที่ดียิ่งขึ้น
ผมพบว่าผมสนุกกับการใช้งาน EOS M50 นับตั้งแต่เริ่มเปิดกล้องจนกระทั่งจับโฟกัสและถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 10 fps ตั้งแต่การถ่ายภาพสัตว์ป่าไปจนถึงภาพสตรีทขณะเดินทาง ผมไม่เคยพบปัญหาเกี่ยวกับ AF แม้แต่ครั้งเดียว จุด AF 143 จุด และเทคโนโลยี Dual Pixel CMOS AF ทำงานสอดประสานกันได้เป็นอย่างดี
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8.0, 3.2 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ภาพชุดนี้ถ่ายในขณะที่พระอาทิตย์ตกดินโดยใช้โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง ผมตัดสินใจเลือกภาพแรก (ด้านล่าง) และทำการปรับแก้โดยรวมอีกครั้ง
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 45 มม. (เทียบเท่า 72 มม.)/ Manual exposure (f/8.0, 1/500 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
ซูม 100%
ผมจับโฟกัสได้อย่างแม่นยำ โดยนักปั่นอยู่ในระยะโฟกัสตลอดทั้งภาพ รายละเอียดในบริเวณที่มีสภาพแสงน้อยดูสวยงามน่าทึ่ง แม้จะซูมภาพที่ 100 เปอร์เซ็นต์ คุณยังสามารถเห็นรายละเอียดของจักรยานได้อย่างชัดเจน
5. ตัวเลือกเลนส์
ข้อดีสำคัญประการหนึ่งของระบบมิเรอร์เลสของ Canon คือมีเลนส์ให้เลือกหลากหลายชนิด กล้อง EOS M ของ Canon ใช้ร่วมกับเลนส์ Canon รุ่นปัจจุบันได้ทุกรุ่น รวมถึงเลนส์ EF และ EF-S (ใช้เมาท์อะแดปเตอร์) นอกเหนือจากเลนส์ EF-M ปกติ
ในการเดินทางครั้งนี้ ผมเลือกใช้ทั้งเลนส์ EF-M18-150mm และ EF-M11-22mm ซึ่งช่วยให้ผมสามารถบันทึกภาพจากฉากเดียวกันในมุมมองที่ต่างกันได้
ที่ 100 มม.
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 100 มม. (เทียบเท่า 160 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/250 วินาที, EV-0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ที่ 129 มม.
EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 129 มม. (เทียบเท่า 206 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8.0, 1/640 วินาที, EV-1)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ที่ 11 มม.
EOS M50/ EF-M11-22mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/8.0, 3.2 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สรุป
โดยรวมแล้ว Canon EOS M50 เป็นกล้องสำรองที่ดีเยี่ยมสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวของผมในครั้งนี้ ความเบาของระบบ ความสามารถในการโฟกัสอันน่าทึ่ง และคุณภาพของภาพถ่าย ทำให้ผมใช้กล้องนี้มากขึ้นขณะเดินทางขึ้นเขาหรือบนท้องถนน ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาอาจทำให้ใครหลายคนประเมินกล้องรุ่นนี้ต่ำไป แต่เมื่อได้สัมผัสถึงความสามารถของกล้องอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ใช้น่าจะใช้กล้องรุ่นนี้เหมือนกล้อง DSLR ปกติได้เลย
อ่านรีวิวอื่นเกี่ยวกับ EOS M50 ได้ที่นี่:
ลองและทดสอบการใช้งาน: 8 คุณสมบัติเด่นของ EOS M50
ดูภาพถ่ายสวยๆ เพิ่มเติม และเรียนรู้เคล็ดลับและเทคนิคการถ่ายภาพของ Edwin ได้ที่:
ร่วมเก็บภาพความยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์ไปพร้อม ๆ กับ Edwin Martinez
การถ่ายภาพน้ำตก: เคล็ดลับพื้นฐาน
การออกแบบและจัดองค์ประกอบภาพถ่ายน้ำตก: การกำหนดภาพ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!