ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 12: บทสัมภาษณ์ James Tan ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพพิมพ์

2018-01-25
1
1.42 k
ในบทความนี้:

เรามีความยินดีที่ได้สัมภาษณ์ Mr. James Tan ศิลปินภาพพิมพ์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลายสถาบัน รวมถึง FMPA (สหราชอาณาจักร) ผู้เชี่ยวชาญของ ILFORD และผู้เชี่ยวชาญด้านภาพพิมพ์ของ Canon

James Tan

ภาพโดย EIZO จาก http://www.eizoglobal.com/solutions/casestudies/james-tan

 

คุณช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับเส้นทางการถ่ายภาพของคุณสักเล็กน้อย

ผมเริ่มต้นฝึกงานที่สตูดิโอถ่ายภาพเชิงพาณิชย์แห่งหนึ่งในช่วงต้นปี 2000 จากนั้นไม่นานก็ได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นช่างภาพเชิงพาณิชย์อย่างเต็มตัว ในปี 2007 ผมเข้าร่วมสมาคม Master Photographers Association (MPA) ต่อมาในปี 2009 ผมเป็นนักพิมพ์ภาพคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัล Fellowship Rank ในฐานะผู้พิมพ์ภาพที่ผ่านการรับรองของสถาบัน MPA ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่แสดงถึงการยอมรับในผลงานพิมพ์ของผม นอกจากนี้ ผมยังผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร Qualifications and Competition Judging ที่สำนักงานใหญ่ MPA ในเมืองดาร์ลิงตัน ประเทศอังกฤษ ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมการตัดสินในการแข่งขัน International Photography Competition อันทรงเกียรติของ MPA รวมทั้งการแข่งขัน WPPI Annual Print Competition ในลาสเวกัส ปัจจุบันผมดำรงตำแหน่ง Deputy Ambassador และ Chair of Qualifications ของ MPA ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บทบาทหน้าที่ของผมคือ ส่งเสริมมาตรฐานระดับมืออาชีพของสมาชิกที่เป็นช่างภาพและผู้ชี้แนะของ MPA เกี่ยวกับการผลิตภาพถ่ายและหลักปฏิบัติทางธุรกิจ นอกจากนี้ ผมยังเป็นนักสอนตัวยงที่สอนการพิมพ์ภาพ การจัดการสี และการถ่ายภาพทั่วโลก

 

ช่วยอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานในกระบวนการสร้างสรรค์ของคุณ

กระบวนการถ่ายภาพประกอบด้วยแบ่งเป็นสี่ส่วน ได้แก่ 1) การวางกรอบแนวคิด 2) ความชำนาญเชิงเทคนิคในการใช้อุปกรณ์ 3) ความชำนาญเชิงเทคนิคในการตกแต่งภาพ และ 4) ความชำนาญในการพิมพ์ โดยงานพิมพ์คือบทสรุปของความสามารถอันยอดเยี่ยมของช่างภาพในทุกส่วนดังกล่าว หากไม่มีการวางกรอบแนวคิด ภาพจะขาดพลังแม้ว่าจะถ่ายออกมาได้ดีก็ตาม หากขาดความชำนาญเชิงเทคนิค ไอเดียที่ต้องการสื่อจะหายไปเนื่องจากไม่สามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างเหมาะสม และหากขาดทักษะการตกแต่งภาพและความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานของระบบดิจิตอล ภาพที่ได้จะไม่สวยงามเนื่องจากใช้เทคนิคการตกแต่งภาพที่ไม่เหมาะสม ข้อบกพร่องที่มีอยู่แต่แรกจะปรากฏให้เห็นเมื่องานพิมพ์เสร็จเรียบร้อย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านภาพพิมพ์ ผมมีจุดมุ่งหมายสองประการคือ เข้าใจจุดมุ่งหมายเบื้องหลังภาพถ่ายของลูกค้า และใช้ทักษะของผมเพื่อดึงเอาศักยภาพทั้งหมดของภาพลงในงานพิมพ์

James Tan ขณะทำงาน

ภาพโดย EIZO จาก http://www.eizoglobal.com/solutions/casestudies/james-tan

 

คุณใช้ซอฟต์แวร์อะไรบ้างในการตกแต่งภาพ

ผมใช้ Adobe Lightroom, Adobe Photoshop, Capture One และซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกมากมาย ซอฟต์แวร์แต่ละอย่างมีจุดแข็งและจุดอ่อนไม่เหมือนกัน ซึ่งผู้พิมพ์ต้องเข้าใจความสามารถและข้อเสียต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ภาพด้อยคุณภาพลง ยกตัวอย่างเช่น การตกแต่งภาพในโหมด 8 บิตของ Photoshop จะเป็นการลบโทนสีส่วนใหญ่ของภาพ ส่งผลให้ส่วนที่สว่างและส่วนที่มืดมีการไล่สีที่ไม่สม่ำเสมอ ดังนั้น จึงควรเลือกใช้กระบวนการตกแต่งภาพแบบ 16 บิตใน Photoshop นอกจากนี้ ในการผลิตงานพิมพ์ ผมจะสลับใช้งานระหว่าง Adobe Lightroom กับ Photoshop ผ่านทางโปรแกรมควบคุมเครื่องพิมพ์ ผมชอบทำงานในปริภูมิสี Adobe RGB และใช้การปรับค่าสีแบบวัดสีเทียบเคียงทุกครั้งที่ขอบเขตสีของต้นฉบับเอื้ออำนวย เช่น เมื่อไม่มีการใช้สีที่อยู่นอกขอบเขตสีในภาพ

 

คุณได้ใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์การจัดการสีในการทำโปรไฟล์สีสำหรับหน้าจอและเครื่องพิมพ์บ้างหรือไม่

การใช้ฮาร์ดแวร์ปรับเทียบในการจัดการการทำงานของสีเป็นสิ่งสำคัญมาก หากไม่มีเครื่องมือปรับเทียบ จะไม่มีทางมั่นใจได้ว่าจอภาพของคุณถูกต้องแม่นยำ และเมื่อไม่มีจอภาพที่แม่นยำ การตกแต่งภาพก็ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด มันเหมือนกับการที่คุณพยายามร้องเพลงโดยที่ไม่ได้ยินเสียงของตัวเอง พูดได้ว่าช่างภาพทุกคนที่สร้างงานพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์จำเป็นต้องมีเครื่องมือปรับเทียบสักชิ้นเพื่อใช้ควบคุมกระบวนการปรับแต่งสี

ฮาร์ดแวร์ปรับเทียบ, เครื่องมือปรับเทียบ

 

เมื่อผลิตงานพิมพ์ คุณใช้เครื่องพิมพ์รุ่นไหนและเพราะเหตุใด

จริงแล้วๆ ขึ้นอยู่กับงานในมือ แต่ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพิมพ์ ผมใช้เครื่องพิมพ์หลากหลายแบบตั้งแต่เครื่องพิมพ์ที่ใช้ระบบดิจิตอลออฟเซ็ตไปจนถึงเทคโนโลยีอิงค์เจ็ท ในสตูดิโอพิมพ์ภาพของผมเอง ผมใช้ Canon PIXMA PRO-10 และ Canon ImagePROGRAF PRO-500 สำหรับงานพิมพ์ขนาดไม่เกิน A2 ในด้านคุณภาพของผลงานนั้น ถือว่าเครื่องพิมพ์รุ่นเหล่านี้อยู่ในระดับดีที่สุด สำหรับผมแล้ว เครื่องพิมพ์ PIXMA เหมาะกับการทำงานของผมอย่างลงตัว ด้วยคุณสมบัติการเชื่อมต่อ Wi-Fi ความง่ายในการใช้งาน ตัวเลือกการป้อนกระดาษที่ยืดหยุ่น และขนาดพิมพ์ที่หลากหลาย และเมื่อใช้ควบคู่กับหมึก Pigment 8 สีขึ้นไป ทำให้เครื่องพิมพ์ผลิตงานพิมพ์ระดับคุณภาพได้อย่างง่ายดาย

 

Canon ImagePROGRAF PRO-500

 

คุณชอบกระดาษชนิดใดมากที่สุด และเพราะเหตุใด

ผมไม่ได้ชอบกระดาษชนิดใดเป็นพิเศษ เนื่องจากงานแต่ละอย่างมีข้อกำหนดเฉพาะตัว แต่กระดาษที่แตกต่างกันจะมีช่วงขอบเขตสี การจัดการกับรูปแบบเฉพาะ คุณสมบัติด้านปรากฏการณ์ Metamerism (หรือการแสดงสี) ฯลฯ ที่แตกต่างกัน ผมจึงแนะนำให้ลองใช้กระดาษหลายๆ แบบและทำความเข้าใจถึงจุดแข็งจุดอ่อน รวมทั้งความเหมาะสมสำหรับรูปแบบการพิมพ์ของคุณ ตัวอย่างเช่น กระดาษที่เหมาะกับการพิมพ์สีอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการพิมพ์ขาวดำ

 

ตั้งแต่ผลิตงานพิมพ์เป็นต้นมา คุณชื่นชอบผลงานชิ้นไหนมากที่สุด และเพราะเหตุใด

มีงานพิมพ์สองชิ้นที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ ได้แก่ Blondie และ Slipknot ซึ่งทั้งสองภาพนี้เป็นฝีมือการถ่ายภาพของปรมาจารย์ EOS Eddie Sung ในฐานะช่างภาพคอนเสิร์ตเพลงร็อคที่มีชื่อเสียง Eddie เก็บภาพช่วงเวลาสำคัญของทั้งสองวงนี้ไว้มากมาย การสร้างงานพิมพ์ทั้งสองชิ้นนี้ต้องใช้องค์ความรู้ด้านการพิมพ์ทั้งหมดที่ผมมีและอื่นๆ อีกมาก ผมพิมพ์ภาพลงบนผืนผ้าใบ งานพิมพ์ต้องเคลือบด้วยของเหลวอีกชั้นด้วยมือ ซึ่งใช้เวลาและความพยายามอย่างมหาศาลเพื่อทำให้ภาพออกมาสวยงาม

ภาพวงดนตรีร็อคที่ถ่ายโดย Eddie Sung

ภาพโดย Eddie Sung จาก http://eosworld.canon.com.sg/eos-master-eddie-sung

 

ท้ายสุดนี้ ทำไมคุณจึงพิมพ์ภาพถ่าย

เมื่อมองย้อนกลับไปดูเหมือนว่าผมยึดอาชีพการพิมพ์ภาพมาโดยตลอด ผมเริ่มชอบการพิมพ์ภาพมาตั้งแต่ปี 1992-3 เมื่อพ่อกับแม่ซื้อเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทความละเอียดสูง สแกนเนอร์ และ Photoshop LE มาให้ผม ซึ่งปีนั้นยังเป็นปีที่ก่อตั้ง International Colour Consortium (ICC) อีกด้วย ผมเริ่มต้นตกแต่งและพิมพ์อาร์ตเวิร์กการ์ตูนญี่ปุ่นโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ หรือแม้แต่ตกแต่งกราฟิกเกมก่อนที่จะหันไปถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก สุดท้ายแล้ว งานอดิเรกทำให้ผมผันตัวเป็นช่างภาพมืออาชีพและนักรีทัชภาพที่ได้รับการยอมรับ ส่งผลให้ผมก้าวเข้าสู่วงการพิมพ์ภาพมายาวนานถึง 10 ปี หลังจากได้รับการรับรองจาก MPA โดยสรุปคือ ผมพิมพ์ภาพถ่ายเพราะต้องการสร้างงานศิลปะ ภาพภาพหนึ่งไม่อาจสะท้อนมุมมองการสร้างสรรค์ของช่างภาพได้อย่างเต็มที่หากไม่ได้รับการพิมพ์ ปกป้อง และใส่กรอบอย่างมืออาชีพ เพื่อแปลงโฉมจากภาพถ่ายไปสู่ผลงานศิลปะ ปัจจุบันผมพยายามให้ความรู้กับเพื่อนช่างภาพในยุคดิจิตอลให้เข้าใจถึงความสำคัญของการพิมพ์ภาพ เพื่อไม่ให้รากเหง้าของงานฝีมือประเภทนี้เลือนหายไป

 

คุณมีเคล็ดลับสำหรับตากล้องมือใหม่ที่ต้องการสร้างงานพิมพ์แบบวิจิตรศิลป์หรือไม่

เริ่มพิมพ์ภาพถ่ายของคุณ งานพิมพ์จะบอกคุณเองว่าอยู่ใกล้ (หรือไกล) จากเป้าหมายแค่ไหน

 

บทความก่อนหน้านี้:
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 2: ปริภูมิสี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 3: โปรไฟล์สีและการปรับค่าสี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 4: แสงส่งผลต่อสีสันอย่างไร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 5: การปรับเทียบจอภาพของคุณ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 6: การปรับเทียบเครื่องพิมพ์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 7: การเลือกกระดาษสำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 8: การทดสอบกระดาษ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 9: การกำหนดสไตล์การใช้สีและโทนสี
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 10: บทสัมภาษณ์ Edgar Su มืออาชีพด้านกล้อง EOS
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 11: เปลี่ยนงานพิมพ์ให้เป็นงานศิลป์

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา