ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 2] ช่องมองภาพที่ชัดใสและความสามารถของระบบโฟกัสอัตโนมัติในที่แสงน้อยได้ถึง -3EV! สมรรถนะการถ่ายภาพที่ดีเยี่ยมไม่มีกั๊กของกล้อง EOS 6D

2013-12-12
2
4.64 k
ในบทความนี้:

มาพร้อมด้วยเซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรม แต่ขนาดบอดี้เล็กกระชับมือ บทสัมภาษณ์ทีมนักพัฒนากล้องฉบับนี้จะมาเปิดเผยถึงเสน่ห์ของกล้อง EOS 6D [ตอนที่ 1] ได้บอกเล่าแนวคิดและการออกแบบกล้อง รวมถึงความพยายามในการลดขนาดบอดี้กล้องให้เล็กลง ใน [ตอนที่ 2] นี้ ทีมนักพัฒนากล้องจะเล่าถึงระบบโฟกัสอัตโนมัติใหม่ ช่องมองภาพแบบออพติคอล เซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรมความละเอียด 20.2 ล้านพิกเซล และอื่นๆ อีกมากมาย! (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในเดือนตุลาคม 2012) ผู้สัมภาษณ์: Ryosuke Takahashi/ ถ่ายภาพโดย: Takehiro Kato)

หน้า: 1 2

 

(แถวหลัง จากซ้ายมือ)
Haruki Oota, ศูนย์การออกแบบ/ Toshifumi Urakami, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Satoshi Suzuki, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Yuka Minegishi, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Hajime Watanabe, ศูนย์พัฒนากล้อง

(แถวหน้า จากซ้ายมือ)
Takashi Ichimiya, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Kei Tohyama, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Shingo Nakano, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Ken Hashimoto, กลุ่มผลิตภัณฑ์ภาพถ่าย

ให้ความไวในสภาพแสงน้อยได้ถึง -3EV เป็นจริงได้

― ต่อไป ผมอยากจะขยับจากการออกแบบมาคุยเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ กันบ้าง หน้าจอ LCD ด้านหลังของกล้อง EOS 6D เป็นรุ่นใหม่หรือเปล่าครับ? แล้วแตกต่างจากหน้าจอ LCD ของกล้อง EOS รุ่นอื่นๆ อย่างไร?

Urakami สำหรับแผงจอ LCD เราใช้ TFT เช่นเดียวกับกล้อง EOS 60D แต่สารเคลือบชั้นป้องกันนั้นไดรั้บการพัฒนาขึ้นใหม่

 

 

สีแดง: แสงอาทิตย์

สีส้ม: แสงสะท้อน

  1. เคลือบฟลูออไรต์ป้องกันการเปื้อน
  2. เคลือบผิวป้องกันการสะท้อน
  3. เคลือบแข็งพิเศษป้องกันรอยขีดข่วน
  4. แผ่นเรซิ่น
  5. เคลือบผิวป้องกันการสะท้อน
  6. เคลือบผิวป้องกันการสะท้อน
  7. จอ LCD

โครงสร้างเลเยอร์ของจอ LCD ในกล้อง EOS 6D ในภาพนี้ คุณจะเห็นว่ามีเลเยอร์ 5 ชั้นซ้อนกันอยู่บนแผงจอ LCD

 
 

― ช่วยเล่าให้ฟังถึงระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบใหม่ และความเป็นมาว่าทำไมจึงใช้จุด AF แบบ 11 จุดหน่อยครับ?

Ichinomiya นับแต่ยุคของกล้อง EOS 5D Mark II เป็นต้นมา เราได้รับฟีดแบ็คว่าจุด AF แค่เก้าจุดนั้นไม่เพียงพอ เราจึงเพิ่มจุด AF ไปยังด้านข้างของจุด AF ศูนย์กลาง ข้างละหนึ่งจุด จึงเกิดเป็นเลย์เอาต์แบบ 11 จุด คุณลักษณะเด่นที่สุดของระบบโฟกัสอัตโนมัติ คือการใช้โครงสร้างพิกเซลสำหรับเซนเซอร์ AF ที่เหมือนกับของกล้อง EOS-1D X ยิ่งไปกว่านั้น เราได้ปรับปรุงความไวแสงเพื่อให้ได้ขีดจำกัดถึง -3EV สำหรับช่วงความไวแสงในภาวะแสงน้อย โครงสร้างของเซนเซอร์ AF ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา และ Canon ได้นำโครงสร้างใหม่ๆ มาใช้อย่างต่อเนื่องนับแต่รุ่น EOS-1D X เป็นต้นมา เมื่อผนวกกับความพยายามที่จะลดจุดรบกวน เราประสบความสำเร็จในการขยายขีดจำกัดความไวแสงในภาวะแสงน้อยมาที่ -3EV หากพูดถึงความสามารถของการวัดแสงระบบโฟกัสอัตโนมัติในสภาวะแสงน้อย ถือว่ากล้อง EOS 6D มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

การโฟกัสไวตามเส้นแนวตั้งที่ f/2.8
การโฟกัสแบบบวกที่ f/5.6
การโฟกัสไวตามเส้นแนวตั้งที่ f/5.6
การโฟกัสไวตามเส้นแนวนอนที่ f/5.6

กล้อง EOS 6D ใช้เซนเซอร์ AF 11 จุด ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใหม่ จุด AF ตรงกลางผสมผสานระหว่างเซนเซอร์แบบบวกขนาด f/5.6 กับเซนเซอร์แบบเดี่ยวขนาด f/2.8 เพื่อเพิ่มพลังในการจับภาพตัวแบบ และทำให้จับโฟกัสอัตโนมัติได้แม่นยำอย่างมาก

 

Nakano เราไม่เพียงเพิ่มจุด AF เข้าไปอีกสองจุด ซึ่งทำให้จุด AF รวมกลายเป็น 11 จุด แต่จุด AF ยังถูกวางตำแหน่งให้เยื้องห่างออกมาเล็กน้อยด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่แล้ว ธีมหลักของภาพจะอยู่ใกล้กับศูนย์กลาง เราจึงใช้เลย์เอาต์จุด AF ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้ถ่ายภาพตัวแบบได้ง่ายกว่าเดิม

― เลย์เอาต์เซนเซอร์ AF ดูคล้ายกับของกล้อง EOS 5D Mark II แต่ผมเดาว่าประสิทธิภาพการทำงานน่าจะต่างกันอย่างมากเลยใช่ไหมครับ?

Nakano ใช่ครับ การเพิ่มสเปคสำหรับภาวะแสงน้อยหมายความว่า สัญญาณจากเซนเซอร์ AF นั้นเข้มขึ้น ทำให้สามารถจับโฟกัสได้เร็วขึ้น

― ลำดับต่อไป ผมอยากให้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของระบบช่องมองภาพ อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดครับในการออกแบบช่องมองภาพของกล้อง EOS 6D?

Urakami เราเน้นที่การมองเห็น ถ้าคุณมองเข้าไปในช่องมองภาพ คุณจะเห็นว่าจอภาพนั้นใสกระจ่างมาก บอกตามตรงว่า ผมยังไม่เคยเห็นช่องมองภาพที่ชัดเจนเท่ากับอันนี้มาก่อนเลย ความชัดเจนในช่องมองภาพนี้เกิดขึ้นได้ด้วยดีไซน์แบบใหม่สำหรับหน้าจอโฟกัส ด้วยการนำกระบวนการย่อขนาดในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์มาใช้กับหน้าจอโฟกัส เพื่อให้ควบคุมเม็ดเกรนได้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มความสามารถในการกระจายแสง ทำให้เราสามารถผลิตหน้าจอโฟกัสที่มีคุณภาพดีที่สุดได้ ในขณะนี้สามารถหาโฟกัสพีคได้ง่ายขึ้น จึงเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการใช้งานโฟกัสแบบแมนนวล

หน้าจอโฟกัส Eg-All ที่เพิ่งนำมาใช้ใหม่ ด้วยการปรับความหยาบบนผิวหน้าจอ ตอนนี้คุณสามารถมองเห็นจุดโฟกัสพีคได้ง่ายขึ้น

 

Nakano เราเชื่อว่าดีไซน์ของบอดี้กล้องที่บางลงยังช่วยเสริมการมองเห็นของช่องมองภาพให้ดีขึ้นด้วย

Urakami หากคุณลองดูโครงสร้างของชิ้นส่วนองค์ประกอบภายใน คุณจะพบว่าส่วนหนึ่งของแผงวงจรนั้นเป็นช่องว่างอยู่ การทำให้ผู้ใช้มองเข้าไปในช่องมองภาพได้โดยตรง ทำให้สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ตอนนี้แผงจอ LCD ด้านหลังอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากเลนส์ใกล้ตา ทำให้โอกาสที่จมูกของผู้ใช้จะสัมผัสกับหน้าจอ LCD น้อยลงในขณะที่มองช่องมองภาพ ระยะห่างระหว่างดวงตากับเลนส์ใกล้ตาก็มีระยะพอดีเมื่อมองผ่านช่องมองภาพ ความเปลี่ยนแปลงที่เราทำในการออกแบบเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูภาพจากเลนส์ใกล้ตาได้ง่ายกว่าเดิม

แผงจอ LCD ด้านหลังวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากเลนส์ใกล้ตาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ชนกับจมูก

 

― ช่องมองภาพของกล้อง EOS 6D มีมุมมองที่ครอบคลุมประมาณ 97% มีเหตุผลอะไรไหมครับที่ไม่ได้ทำให้ช่องมองภาพครอบคลุมมุมมองถึง 100%?

Urakami แม้จะอยากให้ช่องมองภาพครอบคลุมมุมมองถึง 100% แต่สิ่งที่มาก่อนสำหรับเรา คือ การออกแบบบอดี้กล้องที่เบาและขนาดเล็กสำหรับ EOS 6D ครับหากจะให้ช่องมองภาพครอบคลุมมุมมองถึง 100% แล้วก็จำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มากเพื่อปรับตำแหน่งระบบออพติคอลของช่องมองภาพและเซนเซอร์ภาพ และเพนตาปริซึมที่ใหญ่ขึ้นก็จะส่งผลต่อน้ำหนักของบอดี้กล้องเมื่อพิจารณาความสมดุลในภาพรวมแล้ว เราจึงตัดสินใจกำหนดความครอบคลุมของช่องมองภาพไว้ที่ 97% ครับ

ความสามารถในการสร้างภาพที่ค่าความไวแสง ISO สูงที่ดีกว่าเดิม

― สำหรับเซนเซอร์ภาพ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับว่าได้ข้อสรุปจำนวนพิกเซลที่ 20.2 ล้านพิกเซลได้อย่างไร รวมถึงคุณสมบัติของเซนเซอร์ภาพตัวใหม่ด้วย?

กล้อง EOS 6D ใช้เซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรมที่มีความละเอียด 20.2 ล้านพิกเซล

 

Suzuki เราได้ข้อสรุปจำนวนพิกเซลที่ราว 20.2 ล้านพิกเซล หลังพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพการทำงานที่ระดับความไวแสง ISO สูงกับความละเอียดของภาพ ผมเชื่อว่าผู้ที่ซื้อกล้อง EOS 6D ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้งานกล้องแบบฟูลเฟรมเป็นครั้งแรก และเราต้องการตอบสนองความคาดหวังของพวกเขาด้วยการนำเสนอคุณภาพของภาพถ่ายตามแบบฉบับของกล้อง DSLR ฟูลเฟรม ความสามารถในการแสดงผลภาพที่ระดับความไวแสง ISO สูงๆ ได้รับการปรับปรุงด้วยระยะระหว่างพิกเซลที่กว้างขึ้นเป็น 6.55μm

EOS 6D ฟูลเฟรม ประมาณ 6.55μm x 6.55μm
EOS 5D Mark III ฟูลเฟรม ประมาณ 6.25μm x 6.25μm
EOS 5D Mark II ฟูลเฟรม ประมาณ 6.4μm x 6.4μm
EOS 7D APS-C ประมาณ 4.3μm x 4.3μm
EOS 60D APS-C ประมาณ 4.3μm x 4.3μm
 

ในบรรดากล้อง EOS รุ่นกลางที่มีอยู่ กล้อง EOS 6D มีระยะระหว่างพิกเซลกว้างที่สุด ระยะห่างที่กว้างขึ้นทำให้แสงเข้าสู่โฟโตไดโอดได้มากขึ้น จึงทำให้มีลักษณะความไวแสงสูงที่ดียิ่งขึ้น

 

― จริงหรือไม่ครับที่การขยายระยะระหว่างพิกเซลให้กว้างขึ้นจะช่วยเพิ่มคุณภาพของภาพถ่าย?

Suzuki ใช่ครับ อัตราส่วน S/N มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการกำหนดลักษณะความไวแสงสูง อันเป็นคุณสมบัติของเซนเซอร์ภาพ การจะเพิ่มความเข้มของสัญญาณ (S) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำแสงเข้ามาสู่โฟโตไดโอดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในแง่นี้ การมีระยะระหว่างพิกเซลที่กว้างขึ้น นั่นคือ รูเปิดขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าของโฟโตไดโอด จึงเป็นข้อดีอย่างมาก เพราะจะส่งผลต่ออัตราส่วน S/N อย่างมากด้วย นอกจากนี้ เซนเซอร์ฟูลเฟรมยังมีพื้นที่กว้าง และขอบของเซนเซอร์ภาพก็อยู่ห่างจากศูนย์กลางของแกนแสงดังนั้น จึงมีหลายกรณีที่แสงตกกระทบเข้ามาในมุมเอียงเมื่อใช้เลนส์ที่มีความสว่างหรือเลนส์มุมกว้าง ระยะระหว่างพิกเซลที่กว้างขึ้น จึงทำให้แสงเข้ามาสู่โฟโตไดโอดได้มากขึ้น และเป็นประโยชน์ในหลายๆ แง่

― Canon ได้พัฒนาเซนเซอร์ภาพขึ้นมาหลายรุ่นแล้วคุณวางตำแหน่งของ EOS 6D ไว้อย่างไรในแง่ลักษณะเฉพาะของภาพครับ?

Minegishi ประเด็นแรก กล้อง EOS 6D นั้นติดตั้งเซนเซอร์ภาพตัวใหม่ ซึ่งเมื่อประกอบกับลักษณะของระบบประมวลผลภาพแล้ว ให้ระดับความไวแสง ISO มาตรฐานที่สูงกว่าของกล้อง EOS 5D Mark II สองสต็อป ดังนั้นคุณอาจพูดได้ว่ากล้อง EOS 6D ทำงานได้ดีกว่ากล้อง EOS 5D Mark II ที่ความไวแสง ISO สูงๆ เมื่อเทียบกับกล้อง EOS 5D Mark III กล้อง EOS 6D มีคุณสมบัติที่เหนือกว่าจากระยะระหว่างพิกเซลที่กว้างกว่า แต่คุณภาพของภาพในขั้นสุดท้ายของกล้องทั้งสองก็ทัดเทียมกัน

― ประสิทธิภาพและเลย์เอาต์ของเลนส์ขนาดเล็กยังคงเหมือนเดิมไหมครับ?

Suzuki รูปร่างของเลนส์ขนาดเล็กและระยะนั้นเหมือนกับของรุ่น EOS 5D Mark III ในแง่ความพยายามในการออกแบบเซนเซอร์ภาพเพื่อให้ได้คุณภาพภาพถ่ายสูง เราใช้ชั้นโลหะที่บางลงเพื่อให้มี “ขนาดเล็ก” แสงจากด้านข้างจะได้เข้าสู่เซนเซอร์ภาพได้ง่ายขึ้น เราพยายามมาตลอดที่จะลดขนาดความสูงทุกครั้งที่เราพัฒนากล้องรุ่นใหม่ ในการพัฒนากล้อง EOS 6D ก็เช่นกัน

 

สีแดง: โฟโตไดโอด

เลนส์ขนาดเล็กแบบไร้ช่องว่างเรียงตัวกันอยู่บนเซนเซอร์ภาพ โดยทั่วไปเลย์เอาต์ก็เหมือนกับของกล้อง EOS 5D Mark III ต่างกันที่รุ่นนี้ได้รับการปรับให้เหมาะกับระยะระหว่างพิกเซลของกล้อง EOS 6D

 

― มีฟังก์ชั่นการถ่ายภาพอะไรบ้างครับที่สามารถทำได้โดยใช้เซนเซอร์ภาพ DIGIC 5+? แล้วผมจะพูดได้ไหมว่าการทำงานเหล่านี้คือสิ่งที่ DIGIC 5 ทำไม่ได้ (หรือทำได้ไม่ดี)?

Minegishi DIGIC 5+ ในกล้อง EOS 6D ประมวลผลสัญญาณได้เร็วกว่า DIGIC 5 มากเลยค่ะ ข้อนี้ทำให้ผู้ใช้กล้องมีประสบการณ์การถ่ายภาพที่ลื่นไหล เพราะจำนวนภาพที่สามารถถ่ายต่อเนื่องได้ไม่ลดลง แม้เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชั่นลดจุดรบกวน และฟังก์ชั่นแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์และสี

และด้วยระบบประมวลผลภาพ DIGIC 5+ ที่ใหม่และทรงพลัง จำนวนภาพที่ถ่ายได้ในการถ่ายภาพต่อเนื่องจึงเท่าเดิม แม้เวลาที่ใช้งานการลดจุดรบกวนและการแก้ไขความคลาดสี

 

― โหมด SCN (ฉากพิเศษ) นั้น มีโหมดถ่ายกลางคืนแบบมือถือ และโหมดควบคุมแสงพื้นหลัง HDR ด้วย กลไกและการทำงานเหมือนกับของกล้องรุ่น EOS 650D ไหมครับ?

Minegishi เหมือนค่ะ ฟังก์ชั่นการทำงานนั้นเหมือนกับของรุ่น EOS 650D แต่ในส่วนของโหมดถ่ายกลางคืนแบบมือถือ คุณภาพภาพถ่ายที่ความไวแสง ISO สูงจะดีกว่า ทำให้ภาพที่ได้มีคุณภาพสูงกว่าค่ะ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา